สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกันขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 ที่ว่าด้วย“การจัดระบบและโครงสร้าง เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พ.ศ.2557” ให้เกิดผลปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง
การระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมโดยการจัดให้มีเวทีเพื่อแสดงความคิดต่อประเด็นที่เกี่ยวของกับมติเดิน จักรยานฯ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข กฎ ระเบียบ หรือข้อบัญญัติของสังคมร่วมกัน
ปัจจุบันมีข้อถกเถียงและอภิปรายกันอย่างกว้างขวางต่อกรณีคนเมาสุราปั่นจักรยาน และโดนตำรวจจับ ซึ่งศาลได้ตัดสินออกมาแล้วไม่ผิด เพราะมีการตีความว่าจักรยานไม่ใช่รถ ทั้งที่ความจริงอีกด้านตามกฎหมายเรียกจักรยานเต็มๆว่า “รถจักรยาน” เรื่องนี้จึงเกิดขึ้นเพราะการตีความคนละด้าน
ชมรมฯ ในฐานะหน่วยงานประสานและขับเคลื่อนฯ จึงจัดให้มีการระดมความคิดเห็น ต่อประเด็น “เมาแล้วปั่น:- ควรแก้กฎหมายหรือไม่ อย่างไร”จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของสังคม เพื่อหาแนวทางออกร่วมกัน ในวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2558เวลา 08:45-12:30 น.ณ โรงแรมมิโด้ ซอยประดิพัทธ์ 12 ถนนประดิพัทธ์ กทม.
กำหนดการ
การประชุมโต๊ะกลมระดมสมอง “เมาแล้วปั่น:- ควรแก้กฎหมายหรือไม่ อย่างไร”
0845 น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร
0900 น. กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมประเด็น “เมาแล้วปั่น:- ควรแก้กฎหมายหรือไม่ อย่าไร”
โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
0905 น. สถานการณ์บาดเจ็บ จักรยาน + เมาขี่
โดย นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
0910 น. ที่มาของการประชุมและประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…เมา จักรยาน
โดย ดร.สุขแสง คูกนก กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
0940 น. เมาแล้วปั่น…..กฎหมายต่างประเทศว่าอย่างไร
โดย นส.ปิยธิดา พิชชโยธิน นักวิชาการกฎหมาย ในเครือข่ายของชมรมฯ
1000 น. เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ระดมสมอง “เมาแล้วปั่น:- ควรแก้กฎหมายหรือไม่ อย่างไร
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร. พนิต ภู่จินดา กรรมการชมรมฯ
1200 น. สรุปประเด็น/แนวทางการดำเนินงานต่อ/บทบาทหน้าที่แต่ละหน่วยงาน/ติดตามผล
1230 น. รับประทานอาหารกลาวงวัน /เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีส่วนได้เสีย ได้แก่ นักวิชาการกฎหมาย อัยการ/ผู้พิพากษา ตำรวจจราจร สตช. สภาทนายความ กลุ่มผู้ใช้จักรยาน กรมการขนส่งทางบก สนข. นักข่าว/สื่อมวลชน รวมจำนวน 25 คน
หมายเหตุ : ผลการประชุมจะนำเสนอต่อสาธารณะในลำดับต่อไป