การขนจักรยานขึ้นรถยนต์(หรือรถกระบะสองตอน)นั้นทำได้ไม่ผิดกฎหมายไทยหากมองเฉพาะในประเด็นที่จักรยานมีส่วนยื่นออกด้านท้ายหรือด้านสูงบนหลังคาของรถยนต์ แต่จะผิดกฎหมายหากตัวจักรยานยื่นออกด้านข้างนอกสุดของตัวถังรถยนต์อันรวมถึงกระจกมองข้างด้วย ซึ่งในขั้นแรกนี้เราสามารถป้องกันการถูกจับได้โดยถอดล้อจักรยานออก ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวอาจต้องขอแก้กฎหมาย |
---|
เมื่อกระแสจักรยานกำลังมาแรงและคนใช้จักรยานกันมากขึ้นทั้งเพื่อนันทนาการและการกีฬา การขนจักรยานโดยแขวนไว้ท้ายรถยนต์หรือเอาขึ้นบนหลังคารถยนต์วิ่งไปบนถนน โดยเฉพาะออกวิ่งไปสู่นอกเมืองหรือบนทางด่วน จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้น และบางคนอาจเริ่มมีปัญหาถูกตำรวจจราจรหรือตำรวจทางหลวงปรับหรือจับ อันเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางทางสื่อสาธารณะว่าการกระทำแบบนี้ผิดกฎหมายไทยหรือไม่ อย่างไร
เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและแนวทางออกของสังคมด้วยกัน ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดประชุมปรึกษาหารือ เพื่อให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในการหาคำตอบเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2557 ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ใช้จักรยาน นักวิชาการด้านกฎหมาย บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็น“ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ขนจักรยานติดรถยนต์ (Bicycle Rack)”นี้จำนวนกว่า 25 หน่วยงาน รวม 46 คน รายชื่อหน่วยงานดังกล่าวดูได้ในตารางแนบท้าย
บทสรุปขั้นต้น
จากการประชุม ได้ข้อสรุปขั้นต้นดังต่อไปนี้
มีหน่วยงานและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ 7 องค์กรด้วยกัน เรียงตามลำดับของกระบวนการการทำงานดังนี้
1.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ของกระทรวงอุตสหากรรม (กอ.) เป็นต้นเรื่องของการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม(มอก.) ของจักรยานและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น รางขนหรือแขวน (rack) จักรยาน
2.กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) เป็นองค์กรผู้กำหนดและออกกฎเกณฑ์ กติกาตามพรบ.รถยนต์ในการใช้งานร่วม
กันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น แขวนจักรยานบนรถยนต์ได้หรือไม่ อย่างไร
3.กองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งควรต้องแม่นเรื่องกฎหมาย(ซึ่งอาจไม่จริง)
และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้จักรยานมากที่สุด และอาจเป็นปัญหาต่อกันมากที่สุด
4.นักธุรกิจและผู้ประกอบการด้านจักรยาน ซึ่งรวมทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้า กลุ่มนี้มีรายได้จากการค้าขาย จึงนับว่าเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
ทางการเงินมากที่สุด ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ
5.นักธุรกิจและผู้ประกอบการด้านรถยนต์ ซึ่งเกี่ยวโยงกับการขน ยึด แขวน รั้งจักรยานบนอุปกรณ์ rack โดยตรง จึงมีส่วนเสริมให้การ
บรรทุกจักรยานบนรถยนต์เป็นไปได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น
6.ผู้ใช้จักรยาน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ทั้งในด้านบวกและลบในการบรรทุกจักรยานบนรถยนต์ หากมีอุบัติเหตุใดๆคนกลุ่มนี้
ย่อมต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย
7.กลุ่ม ชมรม สมาคมจักรยาน ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด เป็นหน่วยงานหรืองค์กรที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่มวล
สมาชิกได้
ทั้งนี้ ในการดำเนินงาน ทั้งหมดของทุกภาคส่วนควรต้องเน้นที่“ความปลอดภัย”ของทุกคนเป็นหลักใหญ่
เงื่อนไข การบรรทุกจักรยานที่ท้ายรถยนต์หรือบนหลังคารถยนต์ สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่มีเงื่อนไข ดังนี้ 1. ตัวจักรยานต้องกว้างไม่เกินความกว้างของตัวรถยนต์(1)ซึ่งน่าจะรวมความไปถึงกระจกมองข้างด้วย ความยาวของส่วนยื่นเกินท้าย อย่างไรก็ตามสำหรับรถยนต์ SUV และรถตู้ที่ปกติความกว้างของตัวรถไม่เกิน 2.30 เมตร ก็อาจมีปัญหาที่เมื่อบรรทุกจักรยานบนหลังคา 2. ต้องมีการจับยึดอย่างแข็งแรง มีการป้องกันไม่ให้สิ่งของรวมทั้งจักรยานหลุดออกจากรถยนต์ 3. ไม่บดบังทัศนะวิสัยในการขับขี่ 4. ในเวลากลางวันให้มีธงแดงติดไว้ตอนปลายสุดของส่วนที่ยื่น และในเวลากลางคืนต้องมีแสงสว่างสีแดง ซึ่งต้องมองเห็นได้ชัดแจ้งใน
[1]รถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อนุมาตรา (3 ทวิ) คือ “ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลได้” ซึ่งสามารถ บรรทุกได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 ออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 (1) ความกว้างไม่เกินความกว้างของตัวรถ (2) (ก) ในกรณีที่เป็นรถยนต์ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อหรือกันชน ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถได้ไม่เกิน 2.50 เมตร (3) (ก) ในกรณีที่เป็นรถบรรทุก รถม้าสี่ล้อบรรทุกของหรือเกวียน ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 3.00 เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน 2.3 เมตรให้บรรทุกสูงไม่เกิน 3.80 เมตรจากพื้นทาง [2]มีประเด็นเพิ่มเติมในที่ประชุมในเรื่องข้อกำหนดของความสูงว่าเป็น 4.00 เมตร ซึ่งทางชมรมฯได้ตรวจสอบแล้วได้ข้อเท็จจริงจากกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 20 (พ.ศ.2550) ปรับปรุงเมื่อ 21 มิถุนายน 2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ที่มา: http://law.longdo.com/law/288/sub16420#_ftn1) [3]พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 หมวด 2 การใช้ไฟหรือสัญญาณของรถ มาตรา 15 |
---|
อนึ่ง ณ ตรงนี้ มีข้อสังเกตว่า
1.ณ ปัจจุบันการบรรทุกจักรยานบนที่แขวนฯหรือขารองรับจักรยาน แล้วส่วนหนึ่งของจักรยานยื่นออกนอกด้านข้างของตัวรถยนต์เป็นการ
ผิดกฎหมายไทย ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียอนุญาตให้ยื่นออกด้านข้างรถยนต์ได้ข้างละ 0.15 เมตร หรือ 15 เซนติเมตร
2.หากแขวนจักรยานไว้ไม่แน่นหนาหรืออย่างแน่นหนาแล้วก็ตาม แต่ขณะใช้งานวิ่งไปบนถนนแล้วเกิดการหลุดหลวม ทำให้จักรยานหรือชิ้น
ส่วนใดๆหลุดออกมาเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ผู้ขับรถยนต์ที่บรรทุกจักรยานนั้นต้องรับผิดชอบความเสียหายในเชิงกฎหมายแพ่งและพานิชย์
3.สำหรับการขนจักรยานไว้ท้ายรถยนต์โดยยึดกับกระโปรงท้ายนั้น รถยนต์บางรุ่นไม่ได้ออกแบบให้รับแรงกระชากดึงจากสายรัดที่กระโปรง
ท้ายนั้น จึงอาจมีปัญหาหลุดออกจากกระโปรงได้ ในขณะที่ต่างประเทศจะบ่งว่ารถรุ่นใดสามารถติดขายึดแขวนจักรยานที่กระโปรงท้าย
ได้ รุ่นใดไม่ได้ ซึ่งควรมีการปรึกษาหารือกับสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อที่จะออกแบบรถยนต์และแจ้งข้อมูลแก่ลูกค้าว่ารถที่
ผลิตในไทยรุ่นใดใช้งานสำหรับการนี้ได้ หรือไม่ได้ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะซื้อรถยนต์ได้
4.ไม่ควรกำหนดให้อุปกรณ์ขนหรือแขวนจักรยาน (bike rack) เป็นอุปกรณ์ส่วนควบของรถยนต์ เพราะจะเป็นภาระในการจดทะเบียนและ
ต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีของเจ้าของรถยนต์และจักรยานเกินความจำเป็น
ทางแก้ไข กรณีบรรทุกจักรยานบนรถยนต์แล้วอาจมีส่วนของจักรยานยื่นล้ำเลยด้านข้างของตัวรถยนต์(ซึ่งผิดกฎหมาย) มีแนวทางแก้ไข ณ ขณะนี้ คือ 1.แนวทางที่ปฏิบัติได้ในทันที คือ ถอดล้อหน้าโดยเฉพาะล้อขนาด 28 และ 29 นิ้วในกรณีแขวนจักรยานไว้ท้าย 2.เสนอเรื่องถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอผ่อนผัน ไม่ให้จับกุมผู้บรรทุกจักรยานที่มีส่วนของจักรยานยื่นล้ำ |
---|
หมายเหตุ:
(1) ต้องศึกษาเกณฑ์การออกแบบที่จอดรถในประเทศไทยด้วย ว่าสามารถทำให้ใช้งานได้จริงได้อย่างไร เพราะที่จอดรถในอาคารไทยมีระยะ
สูงเพียง 2.10 เมตรตามกฎหมายไทย ซึ่งต่ำกว่า 3 หรือ 4 เมตร ที่กฎหมายกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้ติดตั้งจักรยานไว้บนหลังคา
ได้ แต่กรณีนี้รถบรรทุกจักรยานอาจเข้าอาคารไม่ได้ เพราะอาจติดหลังคาที่จอดรถ
(2) ต้องศึกษาความกว้างของที่จอดรถของไทยด้วย เพราะอาจแคบกว่าของต่างประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงการนำรถยนต์เข้าจอดในที่จอดอาจมี
ปัญหาเฉี่ยวชนกับรถด้านข้างหรือเสาอาคารได้
ข้อคิดจากภาคี
ผู้แทนกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์ในประเทศและบริษัทนำเข้าจากต่างประเทศ ได้ชี้แจงว่าสามารถนำเข้าอุปกรณ์หรือผลิตให้ได้มาตรฐานสากลได้ เพราะมีการออกแบบและผลิตตามหลักวิศวกรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้อุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศก็ผ่านการทดสอบบนรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 190 กม./ชม.และได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับหรือรู้จักจากฝ่ายดูแลกฎหมายของบ้านเรา ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ต้องมีการหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้มีข้อสังเกตจากที่ประชุมว่า การรับรองคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศกับในประเทศเป็นคนละบริบทกันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมและการใช้งานในต่างประเทศและในประเทศไม่เหมือนกัน ดังนั้นควรต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) สำหรับอุปกรณ์แขวนจักรยานนี้เพื่อสะดวกแก่การอ้างอิง และเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีจุดอ้างอิงและสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ซึ่งในอนาคตอาจส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้มีผู้เสนอให้ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจรับรอง(certify) อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย
ส่วนในมุมมองจากนักวิชาการด้านกฎหมายเห็นว่าไม่ควรให้มีโอกาสการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย จึงต้องกำหนดกติกาใช้ร่วมกันอย่างชัดเจนที่สุด และการใช้ดุลยพินิจของผู้รักษากฎหมาย(หากมี)ก็ต้องเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้ เช่น การใช้ดุลยพินิจเรื่องอุปกรณ์จับยึดที่มีความแข็งแรงปลอดภัยนั้น จะพิจารณาได้อย่างไรว่าแข็งแรงปลอดภัยจริง ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงและแลกเปลี่ยนกันต่อไป รวมทั้งเสนอทางออกว่าต้องทำให้เป็นเกณฑ์หรือมาตรฐานเดียวกันหรือไม่
ตอบได้ไม่หมด
การประชุมครั้งนี้ แม้ว่าจะยังไม่ได้คำตอบครบทุกข้อ เช่น การเสนอให้แก้กฎกระทรวงควรมีส่วนใดบ้าง การที่แขวนจักรยานไว้ท้ายรถยนต์แล้วบังป้ายทะเบียน ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟเบรก จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมเพื่อความปลอดภัยแบบต่างประเทศหรือไม่ ฯลฯ ดูลิงค์http://www.thaicyclingclub.org/multimedia/album/detail/2137 แต่อย่างน้อยการที่คนที่มีใจรักจักรยานและต้องการให้สังคมผู้ใช้จักรยานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ชมรมฯก็ถือว่าเป็นผลสำเร็จขั้นต้นที่จะนำไปสู่แรงขับเคลื่อนในการผลักดันให้บ้านเราเป็นเมืองจักรยานต่อไป
ตารางแสดงหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็น
“ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับอุปกรณ์ขนจักรยานติดรถยนต์ (Bicycle Rack) (27/06/57)
ที่ |
กลุ่มที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น |
จำนวน |
|
---|---|---|---|
หน่วยงาน |
ผู้เข้าร่วม (คน) |
||
1 | หน่วยงานภาครัฐ |
12 |
21 |
1.1 | กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
1 |
1 |
1.2 | กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย |
1 |
1 |
1.3 | สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม |
1 |
2 |
1.4 | สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |
1 |
3 |
1.5 | สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม |
1 |
3 |
1.6 | กรุงเทพมหานคร |
1 |
4 |
1.7 | กองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
1 |
2 |
1.8 | โรงพยาบาลราชวิถี |
1 |
1 |
1.9 | สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) |
1 |
1 |
1.10 | ส่วนตรวจสภาพรถยนต์ กรมการขนส่งทางบก |
1 |
1 |
1.11 | สำนักกฎหมาย กรมทางหลวง |
1 |
1 |
1.12 | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) |
1 |
1 |
2 | ผู้ประกอบการ |
6 |
9 |
2.1 | บริษัท กรุงเทพธนาคมจำกัด |
1 |
1 |
2.2 | บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด |
1 |
2 |
2.3 | บริษัท ช.ฐิติชัย จำกัด |
1 |
1 |
2.4 | บริษัท อัพบีท จำกัด (Upbeat) |
1 |
1 |
2.5 | บริษัทเทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด
(ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรทุกสัมภาระ Thule) |
1 |
3 |
2.6 | ร้านอันดามันไซเคิลส์ กระบี่ |
1 |
1 |
3 | บุคคลทั่วไปและตัวแทนผู้ใช้จักรยาน |
4 |
5 |
3.1 | กลุ่ม Alley cyclist |
1 |
1 |
3.2 | กลุ่มsmile riders |
1 |
2 |
3.3 | บุคลทั่วไป |
2 |
2 |
4 | องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) |
5 |
5 |
4.1 | สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ |
1 |
1 |
4.2 | สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย |
1 |
1 |
4.3 | สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย(สทท.) |
1 |
1 |
4.4 | สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ |
1 |
1 |
4.5 | สมาคมประกันชีวิตไทย |
1 |
1 |
5 | นักวิชาการด้านกฎหมาย(อิสระ) |
1 |
2 |
6 | สื่อมวลชน |
2 |
4 |
6.1 | สปีดนิวส์ |
1 |
3 |
6.2 | Bike Style |
1 |
1 |
รวมทั้งหมด |
29 |
46 |