Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / กระทรวงมหาดไทยเห็นด้วยกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

กระทรวงมหาดไทยเห็นด้วยกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

รุปการเข้าพบตัวแทนกระทรวงมหาดไทย (นายจรินทร์  จักกะพาก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย)

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00-12:00 น.  ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ประเด็นหารือและแลกเปลี่ยน

1. กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานภายใต้ความรับผิดชอบ (ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สป.มท. , ส่วนมาตรฐานการบริหารท้องถิ่น สถ., ฝ่ายส่งเสริมการจัดการด้านสาธารณสุข, สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง) เห็นด้วยในหลักการการส่งเสริมเดินและใช้จักรยาน

2. เห็นควรเน้นให้มีการส่งเสริมให้ใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มคนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ (ดังรูปปีรามิดจักรยาน)

3. กรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุข้อจำกัดของการกำหนดขนาดทางเท้าและทางจักรยานริมถนน ในประกาศกระทรวงการจัดทำผังเมือง ที่ไม่สามารถดำเนินการได้จริง  เนื่องจากท้องถิ่นติดภาระเรื่องงบประมาณและสภาพื้นที่จริง ซึ่งมีขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอ ยผ. จึงได้ยกเลิกข้อกำหนดท้ายกระทรวงดังกล่าว  ที่ประชุมจึงได้เสนอให้กำหนดเป็นข้อเสนอแนะในเอกสารประกอบการวางและจัดทำผังเมือง

4. สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร ยผ. ระบุไม่สามารถแก้ไขกฎกระทรวง[1]เพื่อกำหนดให้มีที่จอดจักรยานในอาคาร  เนื่องจากพรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  มิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้ สามารถจัดทำเป็นเสนอข้อแนะนำต่อเจ้าของอาคารในการพิจารณาจัดทำที่จอดจักรยาน เพื่อเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของกรมฯ ในการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันตามนโยบายของรัฐบาลและกระแสความสนใจของประชาชน

5. การแก้ไขปรับปรุงกฎ พรบ.ควบคุมอาคารต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ในทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนประเด็นเดินและจักรยานในชีวิตประจำวัน เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างอิงตามมติ ครม. (วันที่ 19 พ.ย. 2557)

สรุปประเด็น

1.  กระทรวงมหาดไทยเห็นด้วยกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 โดยมอบให้

1.1  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดำเนินการ

(1) ค้นหาและคัดเลือกเมืองต้นแบบของท้องถิ่น ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

(2) บรรจุประเด็นการเดินและจักรยานในหลักสูตรอบรมผู้บริหารของสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น(สพบ.)

                1.2  กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) ดำเนินการ

               (1) ออกแบบแนะนำที่จอดจักรยานเพื่อให้ท้องถิ่นนำไปใช้ในการจัดการในพื้นที่

               (2) ออกข้อแนะนำสำหรับอาคารในการจัดให้มีที่จอดจักรยาน เพื่อเอื้อและสนับสนุนให้มีการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น

               (3) สนับสนุนและให้คำปรึกษากับท้องถิ่นในการกำหนดเขตทางให้เพียงพอต่อทางเดินเท้าและทางจักรยาน


[1]ยผ.ได้รายงานว่าแก้กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมอาคารไม่ได้ด้วยติดที่ พรบ.ไม่ให้อำนาจ จึงต้องแก้พรบ.ก่อน ซึ่งกระทำได้ยาก ที่ประชุมจึงได้เสนอให้ทำเป็นเกณฑ์แนะนำ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุมชมรมฯ ได้ทำงานตรวจสอบข้อความในกฎหมายพบว่ามีข้อความ “รถ หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” ซึ่งนั่นหมายความว่า สามารถใช้กฎกระทรวงนี้เพื่อกำหนดพื้นที่จัดการในอาคารได้ตามเจตนารมณ์เดิม ซึ่งง่ายกว่าการแก้พรบ. )

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น