Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / ชมรมฯ จัดสนทนาโต๊ะกลมมาตรฐานที่จอดจักรยานเมืองไทย

ชมรมฯ จัดสนทนาโต๊ะกลมมาตรฐานที่จอดจักรยานเมืองไทย

ชมรมฯ จัดสนทนาโต๊ะกลมมาตรฐานที่จอดจักรยานเมืองไทย

                คนที่ใช้จักรยานเป็นประจำจะรู้ว่า ที่จอดจักรยาน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้จักรยานอาจจะยิ่งกว่า “ทางจักรยานเสียอีก เนื่องจากไม่มีทางจักรยานก็ยังขี่จักรยานไปไหนมาไหนได้ แต่ไม่มีที่จอดจักรยานที่สามารถจอดจักรยานทิ้งไว้อย่างปลอดภัยได้โดยไม่ต้องเฝ้าก็จะมีโอกาสสูงที่จักรยานจะถูกขโมย คนจำนวนมากจึงไม่ใช้จักรยานด้วยเหตุนี้  ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยพยายามเรียกร้องและผลักดันให้มีมาตลอดคือ “ที่จอดจักรยานที่ใช้สะดวก ปลอดภัย และเพียงพอ” จนในที่สุดก็บรรลุในการได้ออกมาเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๕ มติ ๕.๑ การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

                 ชมรมฯ จึงได้จัด “การสนทนาโต๊ะกลมประเด็นมาตรฐานที่จอดจักรยาน… บ้านเมืองเรา” ขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่โรงแรมมิโด ถนนประดิพัทธ์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วม ๕๓ คนจากหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการเอกชน กลุ่มจักรยาน ชุมชนจักรยาน และนักวิชาการอิสระ

 

                                   นายนิสิทธิ์ บุญสิทธิ์                                                                               นายวิโชติ กันภัย 

   ผู้อำนวยการสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง                                    วิศวกรปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร

                                                                                                                  สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร ยผ.

                รายการเริ่มต้นด้วยนายนิสิทธิ์ บุญสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) กล่าวชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และกล่าวเปิดการสนทนาแทนอธิบดี ยผ. ว่า ขณะนี้ในไทยยังไม่มีมาตรฐานที่จอดจักรยาน โดยเฉพาะในอาคาร ทั้งที่มีคนใช้จักรยานมากขึ้นและเมื่อไปถึงที่หมายปลายทางก็ไม่มีที่จอดจักรยานที่สะดวก ปลอดภัยและเพียงพอ  ยผ.จึงเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะที่ดูแล พรบ.ควบคุมอาคารและได้รับมอบภารกิจมาจากกระทรวงมหาดไทย จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เลือกผู้ทำงานจากคนที่ใช้จักรยานมาศึกษามาตรฐานในต่างประเทศ แล้วพิจารณากำหนดให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำเป็นร่างเบื้องต้นมารับฟังความเห็นเพื่อเอาไปปรับปรุงต่อไป จากนั้น ศาสตราจารย์ ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมฯ ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “เมืองจักรยานกับเมืองที่ใช้จักรยาน” ให้เห็นภาพรวมว่า เรื่องมาตรฐานที่จอดจักรยานนี้อยู่ในบริบทการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันที่ชมรมฯ ดำเนินการอยู่อย่างไร 

  

            ดร.ประพัทธ์พงศ์ อุปลา                                                                          อ.ธงชัยนำการสนทนา             

                   กรรมการชมรมฯ และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

                          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

  การสนทนาเริ่มต้นโดยนายวิโชติ กันภัย วิศวกรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร ยผ.  ได้นำเสนอร่างมาตรฐานกำหนดจำนวนและคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่อาคารที่จัดให้เป็นพื้นที่จอดจักรยานซึ่งคณะทำงานได้ศึกษามาตรฐานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดามาเสนอเป็นมาตรฐานของไทย จากนั้นดร.ประพัทธ์พงศ์ อุปลา อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และกรรมการชมรมฯ ได้บรรยายต่อในหัวข้อ มาตรฐานที่จอดจักรยาน…บ้านเราที่ควรเป็นแจกแจงให้เห็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับที่จอดจักรยานในไทย และ ศ.ธงชัย ได้อภิปรายนำว่า จากเนื้อหาที่ ยผ.เสนอมา ๓ ด้านคือ มาตรฐานขั้นต่ำ อุปกรณ์พื้นฐาน และการมีที่จอดจักรยานเพียงพอสำหรับอาคาร วันนี้ควรเน้นด้านจำนวนที่จอดจักรยานสำหรับอาคารก่อน โดยมีรายละเอียดจำนวนมากที่ควรพิจารณา เห็นชัดว่าจำนวนที่จอดจักรยานตามมาตรฐานที่คณะทำงานของ ยผ. เสนอต่างกันมากกับคนไทยกลุ่มต่างๆ เห็นว่าควรจะมีจากการศึกษาของชมรมฯ

  

  

ผู้ร่วมการสนทนาร่วมออกความเห็น

                จากนั้นผู้เข้าร่วมสนทนาได้ออกความเห็นอย่างกว้างขวางหลากหลายทั้งไปทางเดียวกันและขัดแย้งกัน มีสาระสำคัญพอสรุปได้บางประการให้ ยผ. นำไปปรับปรุงร่างแรกต่อไป เช่น ควรเริ่มด้วยการเป็นคำแนะนำ(guidelines)ก่อนออกเป็นกฎ(code)และมาตรฐาน(standards)ทำเป็นขั้นตอนและมีความยืดหยุ่นปรับได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และบริบทของพื้นที่ โดยคำนึงว่าที่จอดจักรยานต้องปลอดภัยและใช้ได้สะดวก คนจึงจะใช้,  มาตรฐานที่เสนอมายังครอบคลุมลักษณะของอาคารและพื้นที่ไม่ครบ เช่น ตลาด ร้านสะดวกซื้อ สถานีขนส่งมวลชนทุกชนิด สถานที่ราชการ และสวนสาธารณะ และควรศึกษาเพิ่มจากแหล่งอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น

รายงานโดย  กวิน ชุติมา

กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น