Home / แนะนำโครงการ

แนะนำโครงการ

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

ชื่อ:            ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

Name:      Thailand Cycling Club (TCC)

ที่อยู่:         15 อาคารรัจนาการ ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 17 ถนนประดิพัทธ์

                แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์:   02 618 4434  และ 02  618 5990

โทรสาร:     02 618 4430

เว็บไซต์:     www.thaicyclingclub.org

เฟสบุค:     facebook.com/thaicycling

ความเป็นมา

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย(Thailand Cycling Club)ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2534 โดยในวันนั้นได้มีกลุ่มคนประมาณ 40 คนที่มีความรักในจักรยาน และมีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องการใช้จักรยานเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา จราจร มลพิษ และพลังงาน มาร่วมกันรณรงค์บนท้องถนนเป็นครั้งแรก เพื่อให้สังคมไทยหันกลับมาสนใจพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชนิดนี้กัน ใหม่อีกครั้ง  ชมรมได้ดำเนินการเรื่องนี้ต่อเนื่องมาโดยตลอด มีประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งอายุ อาชีพ ตำแหน่งงาน ภูมิหลัง ฯลฯ จนประสบความสำเร็จ มีชมรมจักรยานเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศในภายหลัง

วิสัยทัศน์

สังคมไทยนิยมการเดินและใช้จักรยาน

พันธกิจ

ผลัก ดันรัฐให้กำหนดนโยบาย กฎหมาย กลไก และโครงสร้างที่ส่งเสริม สนับสนุน และเอื้ออำนวยต่อการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมของคนไทยทั่วไปให้เดินและใช้จักรยาน อย่างสม่ำเสมอ  การผลักดันดังกล่าวจะอาศัยกระบวนการทั้งความรู้ทางวิชาการและการขับเคลื่อน ทางสังคมเพื่อให้เกิดแรงกดดันไปจนถึงความร่วมมือกับฝ่ายการเมืองและ/หรือผู้ บริหารเมือง โดยไม่เน้นจำนวนสมาชิกเป็นพิเศษ

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน

2. สร้างเสริมสุขภาพองค์รวมด้วยการเดินและการใช้จักรยานในวิถีชีวิต

3. ส่งเสริมการแก้ปัญหามลพิษ การบรรเทาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั่วไป ด้วยการเดินและการใช้จักรยาน

4. ส่งเสริมการแก้ปัญหาจราจรด้วยการเดินและการใช้จักรยานในสังคมไทย

5. ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์

กิจกรรม

ช่วงบุกเบิก(พ.ศ. 2534-2553)

ใน ช่วงแรก กิจกรรมหลักของชมรมฯ คือการจัดขี่จักรยานรวมทั้งการรณรงค์ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อการออกกำลังกายและนันทนาการ เพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานโดยทั่วไป  การรณรงค์ดังกล่าวประสบความสำเร็จในการสร้างความสนใจต่อการขี่จักรยานและมี ส่วนในการทำให้มีชมรมจักรยานเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศ  

นอก จากการจัดขี่จักรยานเพื่อสุขภาพและนันทนาการแล้ว กิจกรรมจำนวนมากที่ชมรมฯ จัดในช่วงเวลานั้นเป็นนวัตกรรม หรือจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  รวมทั้ง

· การจัดขี่จักรยานเพื่อสร้างความตื่นตัวหรือสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านสิ่ง แวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม เช่น โครงการขยะแลกจักรยาน และการรณรงค์ประหยัดพลังงานและลดมลพิษ, และระดมทุนเพื่อกิจการทางสังคม ศาสนา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดขี่จักรยานทางไกลระดมทุนช่วยรักษาป่า, การทอดผ้าป่าและทอดกฐินด้วยขบวนจักรยาน(ครั้งแรกของโลก)

· โครงการรีไซเคิลจักรยาน ซึ่งรับบริจาคจักรยานเก่านำมาซ่อมไปให้เด็กนักเรียนในชนบท

· การริเริ่มจัดงาน “วันปลอดรถ” (Car Free Day) เป็นครั้งแรกในไทยในปี 2543 ซึ่งมีผู้จัดต่อเนื่องมาจนปัจจุบันและขยายไปทั่วประเทศ

· การรณรงค์เรียกร้องสิทธิของผู้ใช้จักรยานด้วยการขี่จักรยานตามถนน ทำสื่อเผยแพร่ จัดงาน และทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการ

ช่วงผลักดันนโยบาย(พ.ศ. 2554-2558)

อย่าง ไรก็ตาม ชมรมฯ ตระหนักว่า แม้การใช้จักรยานเพื่อสุขภาพและนันทนาการจะแพร่หลายและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น มากมาย จนมีตัวเลขไม่เป็นทางการว่ามีนักจักรยานเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวใน ปัจจุบันราว 300,000 คน แต่มีเพียงคนส่วนน้อยที่สามารถออกกำลังกายอย่างเข้มข้น (Physical Exercise) ด้วยจักรยานได้ ในขณะที่การใช้จักรยานสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถทำได้เป็นประจำวัน ควบคู่ไปกับการเดิน ในฐานะวิธีที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางในระยะสั้นที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและ เศรษฐกิจของประเทศ และเป็นปัจจัยสำคัญของการมีเมืองน่าอยู่และการพัฒนาที่ยั่งยืน  ดังนั้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสานต่อเจตนารมณ์ดั้งเดิมต่อไปอย่าง ต่อเนื่องเป็นระบบเพื่อให้คนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ชมรมฯ จึงเริ่มทำงานเชิงนโยบายอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการผลักดันการเดินและการใช้นโยบายไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย

ใน เดือนธันวาคม 2555ชมรมฯประสบความสำเร็จในการผลักดันผ่านกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ (public consultation) ทั้งระดับจังหวัด ภาค และส่วนกลาง ให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(ครั้งที่ 5) ผ่านมติ การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันซึ่ง ให้หน่วยงานราชการต่างๆ ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน   มตินี้ต่อมาได้ผ่านการรับรองของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ 16สิงหาคม 2556 และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19พฤศจิกายน 2556มอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ  อันนับว่าการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้เป็นนโยบาย สาธารณะของประเทศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อได้นโยบายสาธารณะมาแล้ว ชมรมฯ ได้หันมาเน้นหนักการขับเคลื่อนให้มีการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ ด้วยการเริ่มดำเนินการโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการเดินและการจักรยานในชีวิตประจำวันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ตัวอย่างกิจกรรมที่ชมรมฯ ดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2554-2558

· การสนับสนุนองค์การปกครองท้องถิ่นและกลุ่มประชาชนสร้างชุมชนจักรยานโดยชมรมฯ ให้การสนับสนุนชุมชนและพื้นที่ต่างๆ ไปแล้วมากกว่า 110 แห่งทั่วประเทศผ่านโครงการต่างๆ 38 โครงการ

· การสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมการเดินและการขี่จักรยานไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน  โดยชมรมฯให้การสนับสนุนไปแล้วไม่น้อยกว่า 10 โรงเรียน

· การสนับสนุนเครือข่ายผู้รักการเดินและการใช้จักรยานทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ โดยชมรมฯ ให้การสนับสนุนไปแล้ว 20 จังหวัด

· การศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเดินและการจักรยานในชีวิตประจำวันใน แง่ของกฎหมายและนโยบาย, ทัศนคติและพฤติกรรม, ระบบและการเชื่อมโยง, โครงสร้างพื้นฐาน, สุขภาพและสังคม, และการสร้างฐานข้อมูล  ที่ผ่านมาชมรมฯ สนับสนุนการศึกษาวิจัยไปแล้ว 88 โครงการ

· การประชุมทางวิชาการประจำปี การเดินและการจักรยานในชีวิตประจำวันซึ่ง เริ่มในปี 2556 เป็นเวทีให้นักวิจัยและผู้ปฏิบัติการมาเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการศึกษา วิจัยและบทเรียนประสบการณ์การทำงานส่งเสริมการเดินและการจักรยานในชีวิต ประจำวัน  ในช่วงสามปีแรก มีนักวิจัยและผู้ปฏิบัติการจาก 33 องค์กร/สถาบันมานำเสนอแล้ว 44 โครงการ

· การผลักดันนโยบายให้ นำการส่งเสริมการเดินและการจักรยานเข้าไปในนโยบายและแผนปฏิบัติการของหน่วย งานในระดับชาติไปจนถึงระดับท้องถิ่น รวมทั้งในแผนแม่บทระดับชาติต่างๆ ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการเดินทางที่ยั่งยืน และแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ

· การประกวดเช่น การประกวดการออกแบบ “ระบบจักรยาน”, การประกวดภาพถ่าย “ทางเท้าเล่าเรื่อง” และการประกวดแฟชั่นเสื้อผ้าจักรยานที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

· การสัมมนาและการสนทนาโต๊ะกลมในประเด็นอันเป็นที่สนใจของประชาคมผู้ใช้จักรยานเช่น มาตรฐานอุปกรณ์การเดินทางของคนพิการ, ประเด็นกฎหมายของอุปกรณ์ขนจักรยานติดรถยนต์, การส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยที่เกี่ยวกับการเดินและจักรยาน, มาตรฐานที่จอดจักรยาน, การประเมินความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนจากมุมมองของผู้ใช้จักรยาน และการจัดระบบการสัญจรในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์

· การจัดงานส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน เช่น งานเดิน-วิ่ง-ปั่นต้านโกง, กิจกรรมจักรยานสร้างสรรค์ในวันแม่แห่งชาติและวันพ่อแห่งชาติ

· การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน เช่น การขอบริจาคจักรยานให้ลูกหลานทหารที่ไปปฏิบัติราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้, การจัดขี่จักรยาน “ทริปสะอาด” ที่ปลอดจากบุหรี่ แอลกอฮอล์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การจัดขี่จักรยานทางไกลระดมทุนทอดกฐิน-ผ้าป่า  และโครงการ “อาสาสอน อาสาซ่อม” ระดมอาสาสมัครไปช่วยซ่อมจักรยานให้ชุมชน

· การสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ โดย ชมรมฯ ส่งตัวแทนไปร่วมการประชุมจักรยานนานาชาติ Velo-city และ Velo-city Global, เชิญเลขาธิการของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF) มาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการในไทยในเดือนตุลาคม 2555, การเข้าเป็นสมาชิกวิสามัญของ ECF ในเดือนมิถุนายน 2556 นับเป็นสมาชิกองค์กรแรกของ ECF ในทวีปเอเชีย, การร่วมก่อตั้งพันธมิตรการจักรยานโลก (World Cycling Alliance – WCA) ในปี 2557 และการเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 21 ของสหภาพนานาชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและการศึกษาด้านสุขภาพ (International Union for Health Promotion and Education) เมื่อเดือนสิงหาคม 2556

· การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการเดินและการจักรยาน

· การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับสาธารณะชน  ชมรมฯ มีเว็บไซต์ เฟสบุ๊ก กลุ่มไลน์ วิดิทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ (วารสารคลอโรฟิลล์ แผ่นพับ โปสเตอร์) และสื่ออื่นๆ (เสื้อยืด ชุดนิทรรศการ ฯลฯ), การออกร้านในงานจักรยานต่างๆ ของภาคเอกชนและงานของหน่วยงานรัฐ, และการรับเชิญไปบรรยายหรือไปร่วมให้ความรู้ความเห็นในการประชุมสัมมนาต่างๆ  รวมแล้วไม่น้อยว่า 200 รายการ  

คณะกรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (2558)

ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก                                                                         ที่ปรึกษา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย  พรรณสวัสดิ์                                        ประธาน

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ                                                                      รองประธานกรรมการ

นายกิติศักดิ์  อินทรวิศิษฎ์                                                                    รักษาการเลขาธิการ

ดร.สุขแสง คูกนก                                                                               กรรมการอิสระ

นายวิจารย์ สิมาฉายา                                                                          กรรมการ

นายกวิน  ชุติมา                                                                                 กรรมการ

ผศ. ดร. พนิต ภู่จินดา                                                                         กรรมการ

ดร. ประพัทธ์พงศ์ อุปลา                                                                      กรรมการ

นส. ชุติมา  พิบูลย์บุญ                                                                         กรรมการ

นางอัมพร  ลีอำนวยโชค                                                                      กรรมการ

สถานที่ตั้ง

15ซอยประดิพัทธ์ 17ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์:02618 4434, 02 618 5990; โทรสาร:026184430;อีเมล: tcc@thaicyclingclub.org

เว็บ ไซต์ www.thaicyclingclub.orgและเฟสบุ๊ก www.facebook.com/thaicyclingเป็นสื่อกลางในการให้สาระความรู้และเผยแพร่ ข่าวสารต่างๆ แก่ผู้สนใจทั่วไป

Comments

comments

Check Also

ระดมผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมพลังเมืองที่อยากเป็นมิตรกับการเดินและจักรยาน