Home / บทความ / จุดยืนของ ECF ว่าด้วยหมวกกันน็อก (ค.ศ.2010)

จุดยืนของ ECF ว่าด้วยหมวกกันน็อก (ค.ศ.2010)

นักจักรยาน(และคนใช้จักรยาน…ผู้แปล)ปกติจะมีอายุยืนยาวและมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีกว่า; การบาดเจ็บที่หัวอย่างรุนแรงก็พบได้น้อย  และพยานหลักฐานที่ชี้ให้เห็นประโยชน์ต่อการสวมหมวกกันน็อกและการมีกฎหมายว่าด้วยหมวกกันน็อกก็ไม่หนักแน่น;  ผลกระทบหลักๆของการบังคับใช้กฎหมายหมวกกันน็อกนอกจากจะไม่เพิ่มความปลอดภัยต่อนักจักรยานแล้ว  ยังบั่นทอนการใช้จักรยานรวมทั้งลดความสำคัญของประโยชน์ด้านสุขภาพและอื่นๆอีกด้วยซ้ำ

ดั้งนั้น เราจึงเรียกร้องต่อภาครัฐ ให้:

  • เน้นไปที่มาตรการที่ตกผลึกดีแล้ว  เพื่อที่จะส่งเสริมการใช้จักรยานและสุขภาวะของผู้ใช้จักรยาน;
  • ตระหนักว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการขี่จักรยานมีมากกว่าความเสี่ยงจากการขี่จักรยานมากนัก;
  • ระงับการส่งเสริมหรือบังคับการสวมหมวกกันน็อก  โดยปราศจากข้อมูลที่หนักแน่นว่า  สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์และคุ้มทุนเมื่อเทียบกับนวัฒนกรรมด้านความปลอดภัยในรูปแบบอื่น
  • แผ่นพับนี้เป็นผลงานของคณะทำงานด้านหมวกกันน็อกของอีซีเอฟ. ตัวแทนขององค์กรสมาชิกทั้งหมดของอีซีเอฟได้รับเชิญให้ร่วมในคณะทำงานชุดนี้  หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมวกกันน็อกได้ที่ www.ecf.com/3500_1(Policy/Safety)และองค์กรของท่านจะเป็นสมาชิกของECFได้อย่างไรที่ www.ecf.com หรืออีเมล์ไปที่ Dr.Randy Rzewnicki ที่ randy@ecf.com

                                        รูปเข็มกลัดรณรงค์ของ ECF

สงสัย?

อ่านแผ่นพับนี้และให้ตั้งคำถามต่อการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องหมวกกันน็อกว่าดีจริงหรือไม่

อยากได้วิธีการง่ายๆที่จะช่วย?

ติดเข็มกลัดนี้ และนำความจริงสู่การอภิปรายถกเถียงเรื่องหมวกกันน็อก

อยากช่วยให้มากขึ้นไปอีก?

เข้าร่วมในคณะทำงานเรื่องหมวกกันน็อกของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานแห่งยุโรป(European Cyclists’ Federation, ECF)

   

 

    กฎหมายหมวกกันน็อกและการส่งเสริมหมวกฯแบบทำให้น่ากลัวจนช็อก

    จะบั่นทอนการใช้จักรยาน

การกล่าวอ้าง:    “หมวกกันน็อกจักรยานป้องกันการบาดเจ็บที่หัวได้85%และการบาดเจ็บที่สมองได้ 88%”(ทอมสัน 1989)

การตอบโต้:       งานศึกษานี้ อ้างอิงกันมาตั้งแต่ 1989และไม่เคยได้รับการพิสูจน์ในโลกแห่งความเป็นจริง การใช้หมวกกันน็อกที่เพิ่มขึ้นกลับสัมพันธ์กับการใช้
จักรยานที่น้อยลงอย่างมาก  แต่ไม่เคยสัมพันธ์กับการปรับปรุงด้านความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยาน อย่างตรวจวัดได้จริง

การกล่าวอ้าง:    “เด็กและผู้ใหญ่ควรสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขี่จักรยาน”(NHTSA 2007)

การตอบโต้:       “ผู้ใช้จักรยานมีการบาดเจ็บที่หัวน้อยกว่าคนขับรถยนต์และคนเดินเท้า”(ONISR 2005) ดังนั้น ถ้าเราทำตามคำกล่าวอ้างนี้  คนขับรถยนต์และคน
เดินเท้าก็ควรสวมหมวกกันน็อกตลอดเวลาเช่นกันสิ

การกล่าวอ้าง:    “การขี่จักรยานโดยไม่สวมหมวกกันน็อกเป็นการฆ่าตัวตาย”

การตอบโต้ที่ 1:   หมวกกันน็อกไม่ได้ป้องกันการล้มฟาดพื้น, ดังนั้นการสร้างถนนให้ปลอดภัยมากขึ้นและการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างดีแก่คนขับรถยนต์และผู้
ใช้จักรยานเท่านั้นที่จะป้องกันการหกล้มฟาดพื้นได้

การตอบโต้ที่ 2:     กฎหมายหมวกกันน็อกและการโฆษณาชวนเชื่อได้สร้างปฏิกิริยา“โทษเหยื่อ(หมายถึงผู้ใช้จักรยาน…ผู้แปล)” ซึ่งรัฐบาลและพนักงานบริษัท
ประกันได้อาศัยใช้ในการที่จะหลีกเลี่ยงการดูแลหรือจ่ายค่าประกันให้แก่ผู้ใช้จักรยาน

           การขี่จักรยานเป็นกิจกรรมสุขภาวะ  ที่ประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง

การศึกษาในโคเป็นเฮเก็น(แอนเดอร์สัน 2000)พบว่าคนที่ขี่จักรยานเป็นประจำมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าคนที่ไม่ขี่จักรยาน  ผู้ใหญ่ที่ขี่จักรยานเป็นประจำมีระดับความฟิต  โดยปกติแล้วเทียบได้เท่ากับคนที่อายุน้อยกว่าถึง 10ปี(Tuxworth 1986) และมีอายุยืนนาวกว่าค่าเฉลี่ย 2ปี

ประโยชน์ด้านสุขภาพจากการขี่จักรยานมีมากกว่าความเสี่ยงเป็นสัดส่วนถึง 20ต่อ 1, ซึ่งก็ต้องขอบคุณอายุที่ยืนยาวขึ้นนั้นด้วย(ฮิลล์แมน 1993)

งานศึกษาของกรมการขนส่งในปี 2003ได้เทียบการเสียชีวิตของผู้ใช้จักรยานเท่ากับเพียง 114คน เมื่อเทียบกับผู้เสียชีวิตจากโรคอ้วนถึง 30,000คน และจากโรคหัวใจ 42,000 คน

           หมวกกันน็อกจักรยานช่วยเรื่องความปลอดภัยได้นิดเดียว

           ทางที่ดีที่สุดที่จะปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยานคือการส่งเสิรมการใช้จักรยาน

ความเสี่ยงจากการขี่จักรยานมีน้อย -คิดเป็นอัตราเสียชีวิตของผู้ใช้จักรยานเพียง 1 คน จากการเดินทางด้วยจักรยานไกลถึง 33ล้านกิโลเมตร(หมายเหตุผู้แปล:-ไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งๆใช้จักรยานเป็นระยะทางไกลถึง 33ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณ จากข้อมูลการเดินทางของประชาชนจำนวนมากในประเทศ  โดยเดินทางด้วยจักรยานอยู่ทุกวันเป็นเวลานาน)ดังนั้น  คนๆนั้นต้องขี่จักรยานนานถึง 21,000ปีจึงจะขี่ได้ระยะทางไกลขนาดนี้ (คาวิลล์และเดวิส 2007)

หมวกกันน็อกจักรยานต้องไม่เหมือนหมวกกันน็อกมอเตอร์ไซค์  หมวกกันน็อกจักรยานต้องเบา นิ่ม และจะแตกเมื่อถูกกระแทก (วอล์กเกอร์ 2005) หมวกนี้จึงไร้ประโยชน์แล้วหลังจากถูกกระแทกมาเพียงครั้งเดียว  และก็มักจะใช้งานไม่ได้จริงในกรณีล้มฟาดส่วนใหญ่ที่รุนแรงมากพอที่จะให้เกิดการบาดเจ็บที่หัว – มีการชี้ให้เห็นด้วยว่า หมวกกันน็อกจักรยานสามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่สมอง‘แบบหมุน’(rotational brain injury)ในการล้มฟาดในบางกรณี (เซนต์แคลร์และชินน์ 2007)

การเพิ่มการสวมหมวกกันน็อกจักรยาน (เช่น ในสถานที่แบบออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งห้ามการขี่จักรยานโดยไม่สวมหมวกกันน็อก)ไม่ได้เชื่อมโยงกับความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น, แต่กลับไปเชื่อมโยงกับการใช้จักรยานที่ลดลง

การขี่จักรยานจะปลอดภัยมากขึ้นถ้ามีคนมาใช้จักรยานมากขึ้น  กฎหมายหมวกกันน็อกจักรยานซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การใช้จักรยานลดลงจึงกลับกลายเป็นตัวที่ทำให้‘ตัวเลขความปลอดภัย’ลดลงเสียด้วยซ้ำ

     เราไม่ได้ต่อต้านหมวกกันน็อก

คนบางคนรู้สึกสะดวกใจกว่าหากจะขี่จักรยานแล้วสวมหมวกกันน็อกด้วย

     เราต่อต้านการกล่าวอ้างที่…..

  • วางภาพว่าการขี่จักรยานนั้นอันตรายเกินกว่าที่เป็นจริง
  •  วางภาพว่าหมวกกันน็อกจักรยานเป็นตัวป้องกันอันตรายเกินกว่าที่มัน
    ทำได้จริง

 

 

การขี่จักรยานนั้นเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัย, สนุก และดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าคุณจะสวมหรือไม่สวมหมวกกันน็อก

Comments

comments

Check Also

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น