Home / บทความ / มี 3 วัน !! ก็ขี่จักรยานเที่ยวได้ทั้งสงขลา สตูล และมาเลเซีย

มี 3 วัน !! ก็ขี่จักรยานเที่ยวได้ทั้งสงขลา สตูล และมาเลเซีย

มีสามวันก็ขี่จักรยานเที่ยวได้ทั้งสงขลาและสตูล แถมมาเลเซียด้วย

“อ๊ะ จะเป็นไปได้อย่างไร สามวันเนี่ยนะ ขี่จักรยานเที่ยวจังหวัดสงขลากับจังหวัดสตูล และยังจะเข้าไปขี่ในมาเลเซียอีกต่างหาก”

                ทำได้ครับ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยทำมาแล้ว โดยได้จัดกิจกรรมพาสมาชิก 50 ชีวิตขี่จักรยานเที่ยวในจังหวัดสงขลา พาเข้าไปในประเทศ

มาเลเซีย และออกมาจบทริปที่จังหวัดสตูล รวมใช้เวลาสามวันในช่วงวันที่ 2 ถึง 6 พฤษภาคม 2556 เป็น “ทริปสะอาด” คือรายการขี่จักรยานท่องเที่ยวสร้างสุขภาวะแล

ะเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น ที่จัดอย่างต่อเนื่องปีละ 4 ครั้งมาตั้งแต่ปี 2554 โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 ได้จัดร่วมกับการ

ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

                เนื่องจากสงขลาอยู่ไกลจากกรุงเทพฯไปมาก กว่ารถบัสขนคนกับรถบรรทุกขนจักรยาน(ที่ออกจากกรุงเทพฯ ในช่วงกลางคืน)จะไปถึงหาดใหญ่ก็หมดกว่าครึ่ง

วันไปแล้ว  การใช้เวลาที่เหลือในวันแรกจึงต้องเป็นการขี่ในระยะใกล้ๆ และไม่มีอะไรจะเหมาะไปกว่าการไปสักการะขอพรให้ผู้ร่วมทริปนี้ปลอดภัยจากสิ่งที่ชาวหาดใหญ่

เคารพบูชา เราจึงไปเยือนสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ของเมืองหาดใหญ่กันด้วยการนำของเครือข่ายจักรยานหาดใหญ่

                จุดแรกที่ขบวนจักรยานไปหยุดชมคือวัดถาวรวรารามหาดใหญ่ วัดถาวรวรารามเป็นวัดในอนัมนิกายซึ่งเป็นสายหนึ่งของพุทธศาสนานิกายหินยาน ตั้งขึ้นมา

เพื่อให้มีสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวจีนในไทย โดยขยายมาจากวัดถาวรวรารามในจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2498 และได้รับวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวในปี 2500 จนถึงปัจจุบันมีเจ้าอาวาสมาแล้ว  9 องค์  มีการตั้งโรงเรียนถาวรวิทยาลัยขึ้นมาสอนพระภิกษุและสามเณร ทั้งทางโลก(ระดับมัธยม)และทาง

ธรรมในปี 2537 ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นมหาปัญญาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติ ขณะนี้มีพระสงฆ์จากต่างประเทศมาศึกษาถึง 7 ประเทศ  ในปี 2542 บริเวณ

วัดทั้งหมดได้รับการปรับปรุงให้เป็นอุทยานทางพุทธศาสนาแบบมหายาน มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ของพระพุทธเจ้าสามพระองค์ และเทพประจำสี่ทิศซึ่งทางมหายาน

เชื่อว่าเป็นเทพที่ทำหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา  สิ่งที่โดดเด่นมากในวัดนี้คือเจดีย์สันติภาพ ซึ่งเป็นเจดีย์ 9 ชั้นสร้างในปี 2547 มีรูปแกะสลักไม้ของพระอวโลกิเตศวร

หรือเจ้าแม่กวนอิม 1000 มือ 1000 ตา อยู่ที่ชั้นล่างสุด และระฆังยักษ์หนัก 5 ตันที่ชั้น 8  แม้สภาพจะบ่งบอกว่าไม่ค่อยได้รับการดูแลดีเท่าใดนัก มีน้ำฝนขังตามขั้นบันได

และทางเดิน แต่ก็คุ้มที่จะเดินขึ้นไปถึงชั้นบนสุดของเจดีย์นี้ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองหาดใหญ่ได้โดยรอบ  

   

มหาปัญญาวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นานาชาติ

                 จากวัดถาวรวรารามหาดใหญ่ ขบวนจักรยานมุ่งขึ้นเขาคอหงส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่อันร่มรื่น มีทางขึ้นลงเป็นถนน

ราดยางอย่างดีสองทาง เราเลือกทางที่ยาวกว่าคือ 2.5 กิโลเมตร แต่ชันน้อยกว่า ไปทางนี้จุดแรกที่ไปถึงคือศาลท้าวมหาพรหม  บริเวณศาลมีร่องรอยการจุดประทัด

จำนวนมาก นอกจากรูปปั้นท้าวมหาพรหมในศาลาเปิดแล้ว ยังมีรูปปั้นพระวิษณุกับพระพิฆเนศ และรูปปั้นช้างเอราวัณสามเศียรสีขาวตัวใหญ่มากสูงขนาดอาคารสอง

ชั้น ถัดออกมาเป็นสถานีรถกระเช้าลอยฟ้าเขาคอหงส์ สร้างเสร็จในปี 2554 เป็นรถกระเช้าลอยฟ้าแห่งแรกและยังเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย มีแผนสร้างเป็นสี่ช่วง

ที่เสร็จขณะนี้มีช่วงเดียวจากบริเวณองค์พระพุทธมงคลมหาราชขึ้นมาศาลท้าวมหาพรหม ระยะทาง 535 เมตร

   

ศาลท้าวมหาพรหม                                              สถานีรถกระเช้าลอยฟ้าเขาคอหงส์                                      รูปปั้นช้างเอราวัณสามเศียร

                   ศาลท้าวมหาพรหมเป็นจุดสูงสุดบนเขาคอหงส์ที่เราขี่จักรยานขึ้นมา จากนี้ก็เริ่มขี่ลงเขาลาดๆ ผ่านศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์ นคร

หาดใหญ่ (ซึ่งปิด เราไม่ได้แวะเข้าไปดู) มาที่พระพุทธมงคลมหาราช พระพุทธรูปประจำเมืองหาดใหญ่ พระพุทธมงคลมหาราชเป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพรสี

ทองตั้งโดดเด่นอยู่กลางแจ้ง สร้างเสร็จในปี 2543มีสถานีรถกระเช้าไฟฟ้าอยู่ใกล้ๆ  จากลานตรงหน้าองค์พระ เราสามารถชมทิวทัศน์ของหาดใหญ่ มองเห็นตัวเมือง

ทะเลสาบสงขลา ไปจนถึงเทือกเขาไกลๆ ยิ่งในยามเย็นยิ่งงามเป็นพิเศษ  ด้านในสุดของลานที่รถยนต์เข้ามาได้ มีที่จอดจักรยานที่ให้นำจักรยานมาล็อคได้ห้าคันมาติด

ตั้งไว้ด้วย

                        ถ่ายรูปหมู่บนเขาคอหงส์                                                           ผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายรูปเพื่อเป็นสิริมงคลกับพระพุทธมงคลมหาราช

                  จากพระพุทธมงคลมหาราช ก็เป็นเส้นทางลงเขาอีก จากนี้ไปถนนลาดชันมากหลายช่วง ต้องขี่ด้วยความระมัดระวังยิ่ง  ลงมาช่วงหนึ่งก็ถึงบริเวณศาลเจ้า

แม่กวนอิม มีรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมเด่นเป็นสง่า แกะสลักจากหยกขาว สูง 9.9 เมตร ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กะดูว่าน่าจะสูงน้อยกว่าพระพุทธมงคลมหาราชไม่เท่าใด

สีขาวของหยกทำให้ชาวหาดใหญ่เรียกท่านว่า “เจ้าแม่กวนอิมขาว” รอบๆยังมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมอีกเป็นหมื่นองค์ รูปปั้นเง็กเซียนฮ่องเต้ เทพเจ้ากวนอู และพระ

สังกัจจายน์ด้วย  แต่เราหยุดได้ไม่นานก็ต้องไปต่อก่อนจะค่ำ

ศาลเจ้าแม่กวนอิม

                   เราลงจากองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมลงมาถึงเชิงเขาด้วยความปลอดภัยกันทุกคน จากนั้นก็ไปชมประติมากรรมน้ำแข็งแกะสลักในหาดใหญ่ไอซ์โดม

(Hatyai Ice Dome)ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะนี้เช่นกันเป็นรายการปิดวัน พื้นที่ 1,700 ตารางเมตรด้านในของหาดใหญ่ไอซ์โดมมีอุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส

จัดแสดงรูปแกะสลักน้ำแข็งฝีมือช่างจากเมืองฮาร์บินในประเทศจีนที่มีการติดไฟสีไว้ด้านใน น้ำแข็งของรูปแกะสลักบางรูปก็เป็นสีด้วย รูปแกะสลักนี้จัดทำไว้เป็นกลุ่มหรือ

โซนต่างๆ เริ่มต้นด้วยอาคารที่โดดเด่นจากประเทศต่างๆ ของอาเซี่ยน เช่น นครวัด เจดีย์ชเวดากอง และตึกแฝดเปโตรนาส  จากนั้นก็เป็นโซนโลกใต้ทะเล โลกสัตว์

ล้านปี แทรกด้วยบริเวณที่ให้เล่นสนุกสนาน เช่น สไลเดอร์น้ำแข็ง  ท่านที่จะไปชมควรเตรียมตัวไปก่อน ใส่กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้าที่ปกปิดเท้าดี เพราะเขามี

เพียงเสื้อกันหนาวที่มีฮู๊ดคลุมหัวกับถุงมือไว้บริการ มิฉะนั้นจะดูไม่สนุกไม่จุใจ ต้องทนทุกข์กับความหนาวเย็น  สำหรับการเข้าชมครั้งนี้ ทาง ททท.ได้อนุเคราะห์สนับสนุน

ค่าผ่านประตูให้พวกเราทุกคน

    

ประติมากรรมภายในหาดใหญ่ไอซ์โดม

                     รายการทริปในวันเสาร์ที่ 4 พ.ค. ทั้งวันเป็นการไปร่วมกิจกรรม “สองน่อง ท่องหาดใหญ่ ใจสีเขียว” ที่จัดโดย ททท.ภาคใต้ มีนักจักรยานเข้าร่วมกว่า

500 คน ความจริงรายการวันนี้เป็นการไปขี่เที่ยวในเขตอำเภอเมืองสงขลาเป็นส่วนใหญ่ แต่ใช้ชื่อว่า “ท่องหาดใหญ่” ก็เพื่อให้ได้คำที่สอดคล้องกัน  ขบวนจักรยานตั้ง

ต้นที่สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มุ่งหน้าตามถนนหาดใหญ่-สงขลาสายใหม่ที่มีไหล่ทางกว้างขวางไปหยุดเป็นจุดแรกที่สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณ

สูลานนท์  สวนนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 150 ไร่ ติดคลองวงและทะเลสาบสงขลา เชิงสะพานติณสูลานนท์ เป็นสถานที่ที่ชาวสงขลาและผู้ศรัทธาในคุณงามความดีของพลเอก

เปรมสร้างขึ้นเป็นสวนสาธารณะ สวนพฤกศาสตร์ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะระบบนิเวศป่าชายเลน และมีหอประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ด้วย  แม้สวนนี้จะเพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2553 นี่เอง แต่ก็เริ่มมีการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2538 และเปิดตัวไปในปี 2541 แล้ว  อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดาย

ว่าในการไปแวะเยือนครั้งนี้ไม่มีการบรรยายให้ความรู้หรือนำไปชมหอประวัติกับศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน รวมทั้งเตาเผากระเบื้องโบราณที่สื่อให้เห็นถึงการ

ประกอบอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านแถบเกาะยอและบริเวณใกล้เคียงแต่อย่างใด ทั้งที่หยุดเป็นเวลานาน แต่ก็เพื่อพักและกินอาหารว่างเท่านั้น

 

                จากสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขบวนจักรยานข้ามสะพานติณสูลานนท์ไปเกาะยอในทะเลสาบสงขลา แวะจุดแรกใกล้เชิงสะพานที่วัด

แหลมพ้อ สักการะพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ซึ่งเป็นพระนอนใหญ่กลางแจ้ง และไหว้พระขอพร 5 สมเด็จเจ้า จากนั้นก็ไปที่ทำการของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

โครงการสานใยรักแห่งครอบครัว ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ชมการทอผ้าเกาะยออันเลื่องชื่อของกลุ่มทอผ้า  ผ้าเกาะยอเป็นผ้าพื้นเมืองที่ทอยกดอกเป็นลวดลาย

อ่อนนุ่มอย่างประณีตบรรจง เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ แต่เนื่องจากวันนั้นเป็นวันหยุดจึงมีแม่บ้านมาทอหูกร่วมกันที่นี่อยู่แค่สองหลังและไม่มี

กิจกรรมอื่น  จากกลุ่มทอผ้า เราไปพักกินอาหารกลางวันแบบพื้นบ้านที่วัดท้ายยอ วัดท้ายยอเป็นวัดแรกบนเกาะยอ สร้างในปี 2311 ปัจจุบันจึงมีอายุ 245 ปีแล้ว มีหลัก

ฐานเป็นกุฏิไม้เรือนไทยปั้นหยาอายุกว่า 200 ปีที่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเกาะยอและกระเบื้องลอนแบบโบราณ และเสาไม่ฝังดิน แต่ตั้งอยู่บนตีนเสา  กุฏินี้ยังมี

ลักษณะเด่นคือสร้างตามหลัก “มาตราสูตร” นั่นคือคำนวณขนาดตามรูปร่างของเจ้าของเรือนและมงคลสูตรเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่เจ้าเรือน จึงเป็นตัวอย่างของเรือนไทย

ภาคใต้ที่คนที่ได้มาเยือนเกาะยอหรือสงขลาไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง  ในบริเวณวัดมีโรงเรือพระ เป็นที่เก็บเรือที่วัดใช้ส่งเข้าประกวดงานประเพณีชักพระในเดือน

สิบ(ตุลาคม)ของทุกปี  ในปีนี้มีเรือที่พระมาณพ อดีตเจ้าอาวาส และช่างท้องถิ่นสร้างจอดอยู่  นอกจากนี้ก็มีบ่อน้ำโบราณอายุกว่า 50 ปีที่ขุดตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบู

ลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังใช้การได้ดี  มีสถูปหอระฆังก่ออิฐถือปูนสถาปัตยกรรมแบบเก่า  ด้านหน้าวัดมีศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทำจากหยกขาว ศิลปะดู

จะเป็นมอญหรือพม่า ส่วนด้านหลังวัดมีเนินเขาเรียกว่าเขาเพหาร บนยอดเดิมเคยเป็นที่ตั้งพระอุโบสถก่อนจะย้ายลงมาข้างล่างในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา และสร้างเจดีย์ทร

งระฆังก่ออิฐถือปูนครอบหลวงพ่อดำ พระประธานของพระอุโบสถไว้ เจดีย์นี้มีลวดลายปูนปั้นประดับฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

ในปี 2540  คณะจักรยานเลือกพักและชมวัดตามอัธยาศัยโดยไม่มีการนำชมและบรรยาย 

กุฏิไม้ไทยเรือนปั้นหยา

                   อย่างไรก็ตาม ที่นี่เราได้ร่วมปล่อยลูกปลากะพงขาว 10,000 ตัวสู่ทะเลสาบสงขลาที่ศาลาท่าน้ำของวัดด้วย  ทะเลสาบสงขลาติดเกาะยอบริเวณวัดนี้เป็น

เขตฟาร์มสัตว์น้ำชุมชนเกาะยอ เป็นเขตห้ามทำประมง ด้วยการดูแลของบ้านหมู่ที่ 8 และ 9 ที่อยู่ใกล้เคียง  จากการสอบถามเจ้าหน้าประมงที่นำลูกปลามาก็ได้ทราบ

ว่ามีการปล่อยลูกปลากะพงปีละหลายล้านตัว เพื่อรักษาปริมาณปลาในทะเลสาบ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนที่นี่   ความจริงเกาะยอเป็นเกาะที่เหมาะกับการท่อง

เที่ยวด้วยจักรยานอย่างยิ่ง มีพื้นที่เพียง 9,275 ไร่และมีสถานที่น่าสนใจไปเยี่ยมชมและเรียนรู้มากมาย สามารถใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ ได้ที่เกาะนี้ ถนนก็ราดยางอย่างดี

เชื่อมทุกส่วนของเกาะและมีเพียงเนินเตี้ยๆ ให้ออกกำลังขาบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม จากวัดท้ายยอ ขบวนจักรยานก็เริ่มเดินทางกลับหาดใหญ่ โดยเคลื่อนไปตามถนน

เลียบชายฝั่งที่วนไปรอบเกาะในทิศตามเข็มนาฬิกามาออกเชิงสะพานติณสูลานนท์ 2 ส่วนที่เชื่อมเกาะยอกับอำเภอสิงหนคร จ.สงขลา แล้วย้อนกลับข้ามสะพานติณสูลา

นนท์ 1 ผ่านสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทางที่มาตอนเช้าก่อนจะเหออกจากทางหลักมาหยุดพักที่วัดท่านางหอม

                  วัดท่านางหอมตั้งอยู่ที่บ้านท่านางหอม ต.น้ำน้อย ในเขตอำเภอหาดใหญ่ โดยมีตำนานบอกที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆ เชื่อมโยงเข้าด้วยกันคล้ายกับตำนาน

อีกหลายเรื่องในภาคใต้ (เช่นเรื่องตาม่องล่าย) ตำนานเรื่องนี้เล่าว่า เคยมีหญิงผมหอมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำบริเวณรอยต่อสี่ตำบลของหาดใหญ่ นางจะออกมาตักบาตร

พระทุกเช้า วันหนึ่งบังเอิญไปแตะมือพระโดยมิได้ตั้งใจ แต่นางเกิดความละอาย จึงปิดถ้ำ และเดินทางมาขึ้นเรือที่ท่าริมทะเลสาบสงขลาแห่งหนึ่งทางใต้ของบริเวณที่ตั้ง

วัดและชุมชนในปัจจุบัน บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ท่านางหอม”  นางผมหอมนั่งเรือไปในทะเลสาบถึงเขตรอยต่ออำเภอระโนด จ.สงขลา กับอำเภอปากพะยูน จ.พัทลุง เห็น

ว่าใกล้ค่ำจึงแวะที่เกาะแห่งหนึ่ง จึงเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะนางค่ำ” และลดเหลือ “เกาะนางคำ” ในปัจจุบัน จากนั้นนางข้ามไปนอนที่อีกเกาะหนึ่งที่ต่อมามีชื่อว่า “เกาะ

บรรทม” และจากนั้นนางเดินทางไปไหนต่อก็ไม่มีใครทราบอีก

เจ้าอาวาสกำลังให้ความรู้ที่วัดนางหอม

                  วัดท่านางหอมเป็นวัดที่เก่าแก่กว่าวัดท้ายยอถึง 100 ปีคือมีประวัติชัดเจนว่าสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2210 แต่ไม่เหลือสถาปัตยกรรมโบราณไว้แต่

อย่างใด  คนส่วนหนึ่งมาที่วัดนี้เพื่อสักการะพระครูอุดมสาธุกิจ หรือหลวงพ่ออินทร์ อุตตโม เจ้าอาวาสองค์ก่อนที่มรณภาพไปเมื่อปี 2537 ขณะที่อายุได้ 96 ปี แต่ศพของ

ท่านไม่เน่าเปื่อย ถูกบรรจุไว้ในโลงแก้ว จนเพิ่งจะมาทำการชาปนกิจไปเมื่อไม่นานนี้เอง  เราเข้าไปดูจึงเห็นแต่รูปจำลองไม้ขนาดเท่าคนจริงแล้ว  ที่วัดนี้แม้จะไม่มีเจ้า

หน้าที่ ททท.มาบรรยาย แต่เราก็ได้รับความกรุณาจากพระครูปภัศร์ปัญญารัตน์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มาต้อนรับและให้ความรู้ต่างๆ จากวัดท่านางหอม ขบวนเคลื่อนไป

ตามถนนสายเก่าใกล้ทะเลสาบ มาแวะพักที่ อบต.หนองทราย ได้ดื่มน้ำผลไม้และกินขนมพื้นบ้านแสนอร่อยที่ทางชาวบ้านมุสลิมมัสยิดหนองทรายกรุณาจัดมาต้อนรับ

พร้อมกับชมการทำกรงนก หัตถกรรมพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งของสงขลา พอหายเหนื่อยก็เดินทางต่ออีกไม่ไกลไปตลาดน้ำคลองแห พูดได้ว่า ตลาดน้ำคลองแห เป็น

ตลาดน้ำแห่งแรกของภาคใต้ เกิดจากความพยายามรื้อฟื้นวิถีการใช้เส้นทางน้ำนำพืชผลมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันที่บริเวณท่าน้ำวัดคลองแหในอดีต และค่อยหายไปเมื่อ

มีการตัดถนนและสร้างทางรถไฟเข้ามาที่สงขลา โดยเทศบาลเมืองคลองแหได้กำหนดให้มีตลาดน้ำขึ้นมาใหม่ที่นี่ในเดือนมกราคม 2551 หลังจากไปศึกษาดูงานตลาด

น้ำที่อัมพวา ดำเนินสะดวก และดอนหวาย และทำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันในช่วงบ่ายถึงค่ำของวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์  ในแง่การค้าขาย ตลาดน้ำที่นี่ก็ไม่ต่างจากตลาด

น้ำอื่นมากนัก นอกจากอาหารส่วนหนึ่งจะเป็นอาหารท้องถิ่นของสงขลาและภาคใต้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือความเป็นมาของชื่อ “คลองแห”

ตลาดน้ำคลองแห

                 ชื่อ “คลองแห” นี้มีเรื่อง(ตำนวนอีกแล้ว)เล่ากันว่า มีชาวบ้านจากกลันตันแห่แหนขนทรัพย์สินจะนำไปร่วมสร้างเจดีย์พระธาตุที่เมืองตามพรลิงค์ ซึ่งก็คือ

เจดีย์พระธาตุนครศรีธรรมราชนั่นเอง แต่พอเดินทางมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดคลองแหขณะนี้ก็ได้ทราบข่าวว่า เจดีย์สร้างเสร็จแล้ว จึงนำทรัพย์สินฝังลงบริเวณที่พักที่เรียกว่า

“โคกนกคุ่ม” แล้วเอาเครื่องประโคมแห่มาจมลงในคลองใหญ่ที่เกิดจากคลองสองคลอง(คลองลานกับคลองเตย)มาบรรจบกันตรงโคกนกคุ่ม คลองใหญ่นี้จึงได้ชื่อว่า

“คลองฆ้องแห่” ซึ่งก็เหมือนกับชื่อจำนวนมากในภาคใต้ที่ค่อยๆ “กร่อน” ไป คลองฆ้องแห่จึงกลายเป็น “คลองแห่” และ “คลองแห” ในที่สุด  และตลาดน้ำคลองแหเป็นจุด

สุดท้ายที่ขบวนนักจักรยานไปแวะเยือนก่อนจะกลับไปสิ้นสุดการเดินทางที่จุดเริ่มต้น  ระยะทางรวมทั้งหมดวันนี้ประมาณ 80กม.

                 วันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค. เราขึ้นรถบัสไปด่านปาดังเบซาร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอสะเดา จากด่านตรวจคนเข้าเมือง ทีมชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพหาดใหญ่ในนำทาง

เราขี่เข้าไปในรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ซึ่งถนนมีระบบจราจรขับขี่ทางด้านซ้ายและไหล่ทางกว้างเหมือนไทย ขี่สบายๆ ชมทิวทัศน์ไปตามทางหลวงหมายเลข 7 จนมี

ทางแยกขวาเข้าถนน R13 มีป้ายบอกไป Kaki Bukit ในที่สุดก็ไปถึงสวนนันทนาการกัวเคลัม (Gua Kelam Recreational Park)เรากินอาหารกลางวันที่นี่และเข้า

ชม “กัวเคลัม” หรือถ้ำมืด (Cave of Darkness) “ถ้ำมืด” นี้ตั้งอยู่ที่กากิบูกิต (Kaki Bukit)  ตัวถ้ำยาว 370 เมตร (372.5 เมตรตามตัวเลขบอกระยะที่เขาติดไว้บนพื้น)

เกิดจากลำธารไหลเจาะทะลุภูเขาหินปูน ถ้ำนี้ชาวบ้านใช้เป็นทางลัดในการเดินทางระหว่างกากิบูกิตกับหมู่บ้านวังเกเลียน (Wang Kelian) มาก่อน (แทนที่จะต้องข้าม

เขาอย่างที่เราต้องขี่จักรยานข้ามในวันนั้น) และต่อมามีการค้นพบว่าที่นี่เป็นแหล่งดีบุกคุณภาพสูง จึงมีการทำเหมืองและชาวอังกฤษก็ได้ขยายถ้ำออกไปให้กว้างขึ้นเพื่อ

สกัดแร่  ในปี 2513 ผู้นำท้องถิ่นได้สร้างสะพานไม้อย่างดีแขวนลอยเหนือลำธารให้เดินได้สะดวก ไม่ต้องลุยน้ำ ซึ่งยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมารัฐบาลรัฐปะลิศได้ยกถ้ำ

ให้กระทรวงเกษตรดูแลในปี 2531 และมีการติดไฟฟ้าส่องสว่างให้เดินชมถ้ำได้สบายด้วย

        

Cave of Darkness (ถ้ำมืด)

                 ในวันที่เราไป ไม่มีเจ้าหน้าที่เก็บค่าเข้าชมและก็ไม่ได้เปิดไฟด้วย แต่ก็ไม่เป็นปัญหากับนักจักรยานเราที่มีไฟฉายจักรยานติดไปด้วยอยู่แล้ว ในถ้ำมีหินงอกหิน

ย้อยไม่มากนักและมีน้ำตกที่ขณะนั้นแห้งอยู่ ไม่แน่เหมือนกันว่าในฤดูฝนที่น้ำมากอาจมีน้ำก็ได้  ที่ปากถ้ำฝั่งวังเกเลียนมีสวนคล้ายด้านกากิบูกิต แต่ดูสวยงามกว่ามีชื่อว่า

“สวนลับ” (Secret Garden) น่าเสียดายที่เราไม่มีเวลาเดินดู เพราะต้องเดินทางต่อออกจากถ้ำ เลี้ยวซ้ายไปตามถนน R15 เส้นทางนี้ขึ้นเขายาวกว่าสามกิโลเมตร คนที่

ขี่แข็งๆสามารถขี่ขึ้นได้เพราะแม้จะขึ้นตลอดแต่ก็ไม่ชันมากนัก จากจุดชมทิวทัศน์บนยอดมองเห็นไปทางใต้ มีทะเลสาบทิมาทาโสะ  (Empangan Timah Tasoh)

เด่นอยู่ไม่ไกล  ลงเขามาอีกด้านด้วยระยะทางพอๆกัน ถนน R15 พาเราตรงไปด่านชายแดนวังเกเลียน ข้ามพรมแดนกลับเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งที่ด่านวังประจัน  มี

ร้านค้ามากมายให้แวะซื้อของบริเวณด่านทั้งสองฝั่ง แต่ฝั่งไทยมีมากกว่า  จากด่านวังประจัน ขี่มาอีกเพียงกิโลเมตรกว่าๆก็มาถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ซึ่งเราใช้เป็นที่พัก จากด่านปาดังเบซาร์ ขี่ผ่านรัฐปะลิสของมาเลเซีย มาถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีระยะทางเพียง 33 กิโลเมตรเท่านั้น ในขณะที่ถ้าขี่มาตาม

ถนนในเขตไทย ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ 148 กิโลเมตร

                     อุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ติดชายแดนไทย-มาเลเซีย เนื่องจากความห่างไกล จึงอาจมีนักจักรยาน

จากกรุงเทพฯ หรือส่วนอื่นๆของประเทศไปขี่จักรยานกันน้อย ทั้งที่ตัวอุทยานเองมีความน่าสนใจและสถานที่ให้ขี่จักรยานไปเที่ยวได้หลายแห่ง และยังสามารถผูกโยงกับ

การขี่จักรยานเที่ยวในจังหวัดสงขลาได้ในวันเดียว โดยการใช้เส้นทางลัดขี่ตัดผ่านรัฐปะลิสของมาเลเซียดังที่เราทำในครั้งนี้ ในบริเวณที่ทำการอุทยานเองมี “ทะเลบัน

ซึ่งเป็นบึงน้ำใหญ่ขนาด 125 ไร่ มีจุดเด่นอยู่ที่ต้นบากง พืชน้ำที่หาดูได้ยาก ขึ้นอยู่ในน้ำที่ขอบบึงอย่างหนาแน่น กับหมาน้ำหรือเขียดว้ากที่เสียงร้องว้าก ว้าก ดังระงม

อยู่ตลอดเวลา  รอบบึงยังเป็นป่าดงดิบหนาแน่น  อุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้กันดีในหมู่คนรักนก เนื่องจากมีนกบางชนิดที่แทบจะหาดูได้

ที่นี่เท่านั้นหรือหาดูได้ง่ายเมื่อเทียบป่าแห่งอื่น น่าเสียดายที่เนื่องจากยังมีการรบกวนมาก นกจึงเข้าไปอยู่ในป่าผืนเดียวกันในอุทยานรัฐปะลิสฝั่งมาเลเซียมากกว่า (แต่

เราก็สามารถข้ามพรมแดนไปดูได้ง่ายๆเหมือนที่ขี่จักรยานผ่านมา)  อุทยานมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติอยู่แล้วสองเส้น และได้ยินว่าจะอาจมีการทำเส้นทางใหม่ไปยัง

ต้นไม้ยักษ์ขนาด 14 คนโอบที่เพิ่งค้นพบด้วย

   

            อีกมุมหนึ่งอุทยานแห่งชาติทะเลบัน                                        เก็บภาพเป็นที่ระลึกสักหน่อย                                     เจ้าตัวนี้หละ ที่เรียกว่า ‘เขียดว้าก’

                  ถ้าเอาที่ทำการอุทยานเป็นหลัก ขี่ออกมาเลี้ยวซ้ายไปทางใต้ก็มีด่านวังประจันดังที่กล่าวไปแล้ว ขี่ออกมาเลี้ยวขวาไปทางเหนือราว 1.5 กิโลเมตรทางฝั่ง

ซ้ายติดถนน มีถ้ำโตนดิน ซึ่งมีลักษณะคล้าย “ถ้ำมืด” ที่กากิบูกิตในมาเลเซีย คือมีลำธารไหลผ่าน (เป็นลำธารหรือคลองเดียวกับที่ไหลผ่านทุ่งหญ้าวังประ) และเคยมี

การทำเหมืองแร่  ความจริงหากมีการจัดการพัฒนาให้ดีจะน่าดูกว่า “ถ้ำมืด” มากนัก เพราะมีความยาวถึงราว 700 เมตรและยังมีเครื่องมือขุดแร่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เหลืออยู่ให้เห็น ทั้งถ้ำนี้ยังเคยเป็นที่พักของกองกำลังต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงเดียวกัน น้ำในลำธารก็ใส(ลำธารในถ้ำมืดน้ำขุ่น)เห็นปลาน้ำจืดหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในความ

มืด  จึงได้แต่หวังว่าวันหนึ่งทางอุทยานจะพิจารณาจัดการให้เข้าไปดูถ้ำนี้ได้  เลยถ้ำโตนดินไป ห่างจากที่ทำการอุทยานราว 7 และ 10 กิโลเมตรตามลำดับ ทางขวาของ

ถนนจะมีทางแยกเข้าไปน้ำตกยาโรยกับน้ำตกโตนปลิวซึ่งมีน้ำให้เล่นได้ทั้งปี (เราไปเล่นน้ำที่น้ำตกยาโรยกันในบ่ายวันที่มาถึง) ระหว่างทางแยกไปน้ำตกทั้งสอง ห่าง

ที่ทำการอุทยานฯมา 8กิโลเมตร มีทางแยกไปทุ่งหญ้าวังประทางซ้ายมือ จากปากทางเข้าไปสองกิโลเมตร ถนนราดยางก็หมดลงกลายเป็นถนนดินและถนนลูกรังที่เป็น

ทางราบสลับเนินเตี้ยๆ สภาพค่อนข้างดี ซึ่งหาให้จักรยานเสือภูเขาขี่ได้ยากขึ้นๆทุกที  สวนผลไม้เปลี่ยนเป็นสวนยางและในที่สุดก็เป็นป่าเบญจพรรณ เข้ามา 10

กิโลเมตรก็ไปถึงที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (ทุ่งหญ้าวังประ) จอดจักรยานที่นี่ แล้วเดินผ่านสวนยาง(โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานนำทาง)ไปอีกราว 400 เมตร

ก็จะถึงทุ่งหญ้ากว้างใหญ่กลางป่า เดิมเคยกว้างถึง 3,000 ไร่ แต่ถูกต้นไม้ป่ารุกเข้ามาจนเล็กลงๆ และเคยมีชาวบ้านเข้ามาทำนาที่นี่ด้วย โดยยังเหลือคันนาให้สังเกตเห็น

ได้ เนื่องจากทุ่งหญ้าเป็นระบบนิเวศน์ที่หาได้ยากมากในภาคใต้  แม้ปีนี้จะไม่มีไฟป่าทำให้หญ้าสูงและมีดอกไม้ดินอันเป็นจุดเด่นของทุ่งหญ้านี้อยู่น้อย แต่ก็ยังสวยงาม

และน่าสนใจ คุ้มค่าแก่การเข้ามาชมเป็นอย่างยิ่ง  เราขี่ไปที่ทุ่งหญ้านี้กันในเช้าวันที่ 6 พ.ค. ก่อนกลับ

               

  น้ำตกยาโรย                                                                                             ทุ่งหญ้าวังประ

                 ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยต้องขอขอบคุณเพื่อนนักจักรยานจากเครือข่ายจักรยานหาดใหญ่และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพหาดใหญ่ในไว้ ณ

ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ช่วยนำทางพาเราไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย 

รายงานโดย กวิน ชุติมา

กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

Comments

comments

Check Also

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น