ร้อยละ 87ของประชากรโลก รวมทั้งคนไทย อาศัยอยู่ในบริเวณที่อากาศเป็นพิษ
Public Domain Wikimedia
คนที่ติดตามข่าวต่างประเทศเป็นประจำคงผ่านหูผ่านตากับข่าวหนึ่งในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา คือการรัฐบาลจีนออกประกาศเตือนอันตรายจากหมอกควันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เนื่องจากปริมาณมลพิษในอากาศในนครหลวงปักกิ่งสูงกว่าค่าความปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้กว่าสามเท่า ปัญหามลพิษในอากาศของปักกิ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานจากต้นตอหลักสองประการคือ โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงและรถยนต์จำนวนมหาศาล หลายคนคงจำได้ว่าเมื่อครั้งที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง รัฐบาลจีนต้องออกมาตรการมามากมายเพื่อจำกัดจำนวนรถยนต์ที่ออกมาใช้ถนนในแต่ละวัน แต่เมื่อโอลิมปิกจบไป สถานการณ์ก็กลับมาเหมือนเดิมและรุนแรงขึ้นต่อมา
แต่ปักกิ่งหรือจีนไม่ใช่เมืองหรือประเทศเดียวที่การได้สูดหายใจอากาศบริสุทธิ์เป็นความฝันของคนที่นั่น การศึกษาล่าสุดที่มีรายงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (Environmental Science & Technology) ยืนยันความจริงอันแสนเศร้าอีกครั้งหนึ่งว่า การต้องหายใจอากาศที่มีมลพิษเป็นวิกฤตการณ์สุขภาพของโลก ในการศึกษานี้ นักวิจัยดูว่ามีบริเวณใดบ้างในโลกที่มีความเข้มข้นของฝุ่นที่อนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) มากกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้ว่าปลอดภัย (ฝุ่นที่อนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ได้แก่ฝุ่นจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และกระบวนการผลิตสารเคมี เป็นต้น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิ
ACS/Promo image
ในช่วงสิบสี่ปีระหว่างปี 2543 ถึง 2556 จำนวนประชากรโลกที่ต้องหายใจอากาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กในอากาศเกินมาตรฐาน PM 2.5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ มีประชากรโลกเพิ่มขึ้นราวหนึ่งในห้าคนที่ต้องมาเผชิญกับสภาพอากาศที่ทำลายสุขภาพนี้ และส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ในขณะที่การลดลงของจำนวนประชากรที่ต้องเผชิญปัญหานี้มีอยู่บ้างในประเทศที่ร่ำรวย อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่ทุกแห่งในประเทศ และในขณะเดียวกันนักวิจัยก็ดูการเพิ่มขึ้นจากมลพิษทางอากาศที่อยู่ในรูปโอโซนด้วย และพบว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9เป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเทศ ยกเว้นบางประเทศที่มีการลดลงปานกลางในทวีปอเมริกาเหนือ บางส่วนของยุโรป และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การมีความเข้มข้นของอนุภาค PM 2.5 สูงในอาฟริกาเหนือและตะวันออกกลางที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายนั้นมาจากฝุ่นแร่ที่ลมพัดพาขึ้นในอากาศ ในขณะที่ในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก มาจากการเผาไหม้ที่มีต้นตอหลายอย่าง เช่น การหุงหาอาหารด้วยฟืนและถ่าน การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน การเผาไหม้ป่าและไร่ โรงงานอุตสาหกรรม และการเดินทางขนส่งด้วยพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์(น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) ประชากรโลกร้อยละ 35 อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเข้มข้นโดยเฉลี่ยรายปี
จากการศึกษานี้ คนไทยในตอนกลางและตอนบนของประเทศต้องหายใจอากาศที่มีมลพิษในระดับที่มากจนทำลายสุขภาพ และต้นตอของมลพิษทางอากาศนี้ที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางด้วยรถยนต์ ดังนั้นหากประชาชนไทยเราหันมาเดินทางด้วยการเดินและการใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัว ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะการเดินทางในระยะสั้นๆ ภายในหนึ่งกิโลเมตรด้วยการเดิน หรือห้ากิโลเมตรด้วยการใช้จักรยาน เราก็จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาอากาศเป็นพิษในเมืองไทยด้วยตัวของเราเอง และหากเราสามารถชวนคนอื่นๆ สมาชิกครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงสาธารณชน และขอให้รัฐบาลและองค์กรปกครองทุกระดับของไทยเราหันมาสนใจส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างมีแผน มีเป้าหมาย และมีงบประมาณมาสนับสนุนอย่างจริงจัง เราก็จะมีอากาศที่มีคุณภาพดีขึ้นมาให้เราได้หายใจให้มีสุขภาพดีขึ้นแน่นอนครับ
——————————————————————————————————————————————————————————————-
กวิน ชุติมา เขียนจากข้อมูลใน 87% of Earth’s population lives where the air is toxic โดย Michael Graham Richard ในwww.treehugger.com