Home / บทความ / 7 สิ่งพลาด ‘แชร์เยอะเกิน’ในโลกโซเชียล

7 สิ่งพลาด ‘แชร์เยอะเกิน’ในโลกโซเชียล

           ในยุคที่อะไรๆก็ถูกแชร์ได้ในปลายคลิก! โลกโซเชียลเป็นแพลตฟอร์มที่สนุกในการแสดงออกความเป็นตัวตนและแชร์ประสบการณ์ชีวิตประจำวันในมิติใหม่ๆ คงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนต่างรู้สึกว่าต้องโพสต์บ้าง เพื่อบอกให้โลกรู้ถึงตัวตน(Broadcast Your True Self) ให้ความรู้สึกเป็นคนที่น่าสนใจ “ได้ Like”ถูก Follow”

จนบางทีอาจจะไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ทำ กำลังกลายเป็นหนึ่งในพฤติกรรม แชร์เยอะเกิน หรือที่ภาษาโซเชียลมักเรียกกันว่า Overshare

หลายๆ การวิจัยค้นพบการแชร์เรื่องราวของชีวิตส่วนตัว ที่ปกติคงไม่บอกเล่ากับคนอื่นในชีวิตจริง แต่ไม่ทันคิดหรือแคร์ว่า สิ่งที่ตนเองโพสต์นั้นคนอื่นอยากจะรู้เห็นด้วยหรือไม่ เพราะไม่ใช่ทุกคนอยากจะรู้เรื่องราวทุกอณูชีวิตของเราเพื่อให้ไม่ให้เป็นคนแชร์ จนคนอื่นเอือม มาดูประเด็น พลาด ที่พึงระวังก่อนโพสต์

          1.แชร์ทุกขณะจิต(Sharing is my Life) กรณีนี้คงเห็นบ่อยทีสุด คือ โพสต์ลักษณะที่เป็นสถานการณ์ แต่ไม่มีความเป็นประสบการณ์ เสมือนขอให้ได้โพสต์

          2.ไม่เข้าใจความต่างของแต่ละโลกโซเชียล(Platform & Purpose) ทุกโซเชียลมีเดีย มีจุดประสงค์ของตนเองที่แตกต่างกัน เช่น Facebook สำหรับความทรงจำเพื่อนฝูง Twitter สำหรับอัพเดทข่าว Instagram สำหรับประสบการณ์น่าจดจำ Pinterest สำหรับแรงบันดาลใจมีคนบอกว่าถ้า Facebook เป็นคุกกี้ช็อคโกแลตชิป Instagram ก็จะเป็นช็อคโกแลตชิปที่อยู่บนคุกกี้นั่นเอง

         3.ท่วมท้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง(Baby Overload) ความหลากหลาย ถือเป็นหัวใจหนึ่งของสังคมดิจิทัล มิติของชีวิตมีหลายแง่มุมบางทีรูปๆ เดียว ก็อาจจะมีความหมายมากกว่าการโพสต์ทุกวินาทีก็ได้ ด้วยเหตุนี้ในหลายๆการวิจัยค้นพบการโพสต์รูปลูกแบบทุกขณะจิตเช่นเดียวกับการโพสต์รูปตัวเองตลอดเวลา ไม่ใช่สิ่งผิดพียงแต่ไม่ใช่ทุกคนจะปลาบปลื้มไปด้วย

        4.ไม่เรียลไทม์ ไม่เรียลโลเคชั่น(Later-post, Later-gram) ในแพลตฟอร์มที่ถูกดีไซน์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารแบบเวลาจริงพิกัดสถานที่จริง เพื่ออิงกลิ่นอายของความดั้งเดิม หลายๆ คนเน้นรูปต้องถ่ายจากสมาร์ทโฟน และโพสต์ตามเวลาจริง ไม่นิยมการโพสต์ย้อนหลัง

       5.แฮชแท็กหลุดประเด็น(#toomuch) หลายๆท่านอาจจะเคยเห็นการแท็ก แบบยาวเป็นพารากราฟ และอดสงสัยไม่ได้ว่ามันเกี่ยวกับรูปที่โพสต์อย่างไร บางทีการอยากได้จำนวนไลค์ก็เป็นประเด็นหนึ่งในนั้น ด้วยการแท็กนั้นเป็นการแยกแยะข้อมูล ส่วนใหญ่มักจะอิงถึงความเกี่ยวข้องและตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ส่วนการแท็ก แบบขำๆหรือประชดประชันนั้นยังคงเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจได้

       6.ลุ่มหลงไลค์(Keep up with The Kardashians) ในความเป็นโซเชียล หลายๆคนรู้สึกถูกกดดันต้องดูดีออกสื่อตลอดเวลา ต้องโปรโมทตัวเองในมุมมองแบบเซเลบ บางคนถึงขั้นคิดว่าจะโพสต์รูปอะไรก่อนสถานการณ์จริงจะมาถึง บางคนเสพติดไลค์ มองว่าจำนวนไลค์ตอบโจทย์คุณค่าของตัวเอง (Self-Validation) มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่โพสต์และอะไรที่จริง

       7.ส่วนตัวที่สาธารณะเกิน(Goodbye Privacy) ถึงแม้หลายคนจะเข้าใจว่าเราจะโพสต์อะไรเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องจริงอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญหลังการโพสต์นั้นคือ การยอมรับได้ถึงภาพลักษณ์ที่คนอื่นจะมีต่อตัวเรา หรือคอมเม้นต์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

หลายๆ ผู้นำทางความคิดเชื่อว่าการ Overshare เป็นสิ่งที่ทำลายสเน่ห์ของโลกโซเชียล “การโพสต์ได้ไม่ได้แปลว่าต้องโพสต์” ส่วนตัวเอง เชื่อว่าไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวในโลกออนไลน์ แต่การคิดถึงความรู้สึกคนอื่นก่อนโพสต์ก็เป็นเรื่องที่น่าหันมาใส่ใจ

                                                 

          ถ้ารู้สึกอึดอัดอดโพสต์ เอาเวลาจาก “บอก”มา “ฟัง” บ้างก็คงเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นไม่มากก็น้อย

ภาพประกอบจาก

http://images.search.conduit.com/ImagePreview/?q=social&ctid=CT3297964&searchsource=3&CUI=UN19991007112506524&UM=1&start=0&pos=29

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 14 ตุลาคม 2556 09:19
โดย: วฤตดา วรอาคม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม (ซีไอโอ) แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย

Comments

comments

Check Also

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น