Home / ชุมชน เดิน-ปั่น / ชุมชนจักรยาน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ได้จัดงานเปิดตัวชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะเทศบาลตำบลแวงน้อยขึ้นอย่างคึกคักที่บริเวณสวนสาธารณะหนองห้วยหาดในเขตเทศบาล

– พิธีเปิดงาน –

งานนี้ได้รับเกียรติจากนายกรณ์ มาตย์นอก นายอำเภอแวงน้อย เป็นประธานเปิดงาน และนายไพฑูรย์ กิตติปัญจมาศ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแวงน้อย ประธานจัดงาน และมีผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอแวงน้อยและใกล้เคียงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง ตั้งแต่ ดร.เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีต สส. และปัจจุบันเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านไผ่, นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย อดีต สส., นายบุญไท นารินทร์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลก้านเหลือง, นายสุรพล เวียงวงษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแวงใหญ่, พตท.สมคิด นาหนอง รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแวงน้อย, นายสุรพล กิตติปัญจมาศ กำนันตำบลแวงน้อย, นายทองปัก มาพงษ์ นายก อบต.ละหานนา และตัวแทนส่วนราชการต่างๆ ในอำเภอแวงน้อย พร้อมทั้งสมาชิกเครือข่ายชมรมจักรยานขอนแก่น จากอำเภอเมือง บ้านไผ่ ชนบท แวงใหญ่ หนองสองห้อง และคอนสวรรค์ กับชมรมจักรยานจังหวัดชัยภูมิ รวมราว 30 คน ขี่จักรยานจากอำเภอแวงใหญ่มาร่วมงาน กับนายสุรพงษ์ ใจเมือง ประธานเครือข่ายฯ   ส่วนตัวแทนจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยที่เข้าร่วมงานนี้คือนายกวิน ชุติมา กรรมการ กับนายอิทธิพล บารมีเกรียงไกร ฝ่ายประชาสัมพันธ์  เมื่อรวมกับประชาชนในตำบลแวงน้อยทั้งหมดแล้ว มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 600 คน

ผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านที่เข้าร่วมงานเปิดตัวชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ
เทศบาลตำบลแวงน้อย

สมาชิกเครือข่ายชมรมจักรยานขอนแก่นที่ขี่จักรยานไปร่วมงาน

ในงานเปิดตัวชุมชนจักรยานครั้งนี้มีการจัดช่างมาซ่อมจักรยานให้ชาวแวงน้อย ซึ่งมีผู้นำรถจักรยานมาให้ซ่อมมากมายจนช่างแทบไม่ได้หยุดพักเลยจนกระทั่งขบวนจักรยานเริ่มออกเดินทาง การแสดงมีทั้งการรำของเยาวชนในท้องถิ่นและการแสดงจักรยานล้อเดียวสร้างสีสรรของอี๊ด ไมเคิลอีสาน  มีการแจกรางวัลเยาวชนที่ชนะประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับการใช้จักรยาน เป็นจักรยานคันงามที่ได้รับการบริจาคจากผู้บริหารในท้องถิ่น รวมกว่าสิบคัน  จากนั้นก็เป็นการปั่นจักรยานรณรงค์ด้วยขบวนกว่าหนึ่งร้อยคันจากสถานที่จัดงานไปยังวัดจุมพล ตำบลก้านเหลือง ซึ่งกำนันบุญเพ็ง พลดงนอก กำนันตำบลก้านเหลือง นำชาวบ้านมาต้อนรับพร้อมอาหารกลางวันอันเอร็ดอร่อย  หลังจากนมัสการสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่วรพรตวิธานที่วัดนี้แล้ว ขบวนของชาวบ้านก็เดินทางกลับตำบลแวงน้อย รวมระยะทางไป-กลับเกือบ 30 กิโลเมตร ซึ่งชาวบ้านทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่ใช้จักรยานแม่บ้านธรรมดาๆ ก็สามารถขี่กันได้ตลอดทาง

บริการซ่อมจักรยานเป็นกิจกรรมที่คึกคักมาก

ขบวนจักรยานจากสวนหนองห้วยหาด ตำบลแวงน้อย
ไปวัดจุมพล ตำบลก้านเหลือง

 

โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะเทศบาลตำบลแวงน้อยเป็นหนึ่งใน 80 โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้โครงการติดตาม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพภาคี และประเมินผล (ชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ) เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ให้ประชาชนมีสุขภาพดี ประหยัดรายจ่าย ประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมที่ดี   เครือข่ายชมรมจักรยานจังหวัดขอนแก่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายจักรยานระดับจังหวัดที่เป็นพันธมิตรในการส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวันและได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

 

ตัวอย่างภาพวาดของเยาวชนที่ได้รับรางวัล

รายงานโดย  กวิน ชุติมา

กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

—————————————————————————————————————————————————————————

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) เป็นสมาชิกองค์กรแรกและประเทศแรกในเอเชียของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF) และเป็นองค์กรผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรจักรยานโลก (World Cycling Alliance – WCA)

2017

2016

2015

2014

2013

2012

ชมรมฯ ร่วมประชุมเครือข่ายชมรมจักรยานพิษณุโลก

         พิษณุโลกเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเริ่มดำเนินไปอย่างคึกคักรวมทั้งมติ ๕.๑ การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน  โดยสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพิษณุโลก ในฐานะผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพประจำจังหวัดพิษณุโลก ได้เชิญตัวแทนกลุ่ม-ชมรมจักรยานต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเทศบาลนครพิษณุโลก มาหารือกันถึงการตั้งเครือข่ายทำงานร่วมกัน เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา  ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รับเชิญไปร่วมการหารือด้วย โดยมีนายกวิน ชุติมา กรรมการและอนุกรรมการด้านเครือข่าย, นส.จินตนา เจือตี๋ รองผู้จัดการและผู้ประสานงานด้านเครือข่าย และนายอิทธิพล บารมีเกรียงไกร ประชาสัมพันธ์ ไปร่วมประชุม

                      บรรยากาศการประชุมที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพิษณุโลก

         การหารือครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเกือบ ๓๐ คน มีตัวแทนกลุ่ม-ชมรมจักรยานเข้าร่วมเกือบครบทุกอำเภอ หลายคนเคยเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายผู้รักการเดินและผู้ใช้จักรยานในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายนที่ผ่านมาด้วย และทำให้ได้ทราบว่า ความจริงแล้ว กลุ่ม-ชมรมจักรยานต่างๆ ได้มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ เพื่อทำกิจกรรมที่มีความสนใจร่วมกันอยู่แล้วในชื่อชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพพิษณุโลก โดยมีนายอัคนี ศุงโรจน์ เป็นประธาน และสามารถติดต่อกระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมด้วยการใช้สื่อสังคม โดยมีเทศบาลนครพิษณุโลกสนับสนุน รวมทั้งการจัดทำทะเบียนรายชื่อสมาชิก  ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลกจึงได้ปวารณาตัวจะช่วยในการประสานงานและสนับสนุนด้านอื่นๆ เนื่องจากสำนักงานมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายด้วยการใช้จักรยานเป็นการเฉพาะ

         ส่วนตัวแทนชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยก็ได้เล่าถึงการทำงานของชมรมฯ โดยเฉพาะโครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย ซึ่งมีการสร้างเครือข่ายผู้รักการเดินและผู้ใช้จักรยานเป็นหนึ่งในสี่ยุทธศาสตร์หลัก ชมรมฯจึงมีภารกิจในการช่วยสร้างและสนับสนุนเครือข่ายผู้ใช้จักรยานในจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านข้อมูลความรู้ เทคนิค การประสานงานกับหน่วยงานระดับประเทศ การประชาสัมพันธ์ และทุนเบื้องต้นในการดำเนินโครงการของเครือข่าย  ตัวแทนชมรมฯ ยังได้ร่วมออกความเห็น ตอบคำถาม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จักรยาน โดยเฉพาะประเด็นทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

               สถานีจักรยานสาธารณะปันปั่นเชิงสะพานเอกาทศรถ-สวนชมน่าน

ป้ายเชิญชวนให้ใช้จักรยานปันปั่นของนายกเทศมนตรีเทศบาลนครพิษณุโลก

         ในขณะที่ตัวแทนเทศบาลนครพิษณุโลกได้เปิดเผยให้ทราบว่า สภาเทศบาลได้เห็นชอบกับแนวทางของฝ่ายบริหารที่ให้มีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้จักรยาน ๓ ด้านใหญ่ๆ คือ (๑) การทำที่จอดจักรยาน ๑๕ แห่งตามสถานที่ราชการและที่สาธารณะ และประสานกับชมรมจักรยานพิษณุโลกให้ไปหารือกับธุรกิจเอกชนให้สนับสนุนการทำที่จอดจักรยานบริเวณสถานที่ประกอบการของตน ซึ่งทางสถาปนิกของเทศบาลได้ออกแบบไว้แล้ว จากการศึกษาที่จอดอื่นๆ จอดได้แห่งละ ๑๕ คันในราคาประมาณแห่งละ ๑๕,๐๐๐ บาท โดยจะได้ขอความช่วยเหลือแบบที่จอดจักรยานต่างๆ จากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยมาพิจารณาเพิ่มด้วย, (๒) การสร้าง “ทางจักรยาน” ซึ่งเมื่อได้รับทราบข้อมูลจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยแล้ว ก็คิดว่าจะต้องประสานงานกับตำรวจอย่างใกล้ชิด และ (๓) จักรยานสาธารณะปันปั่น ซึ่งเอกชนดำเนินการแลกเปลี่ยนกับการได้พื้นที่โฆษณา ปัจจุบันมี ๑๕ สถานีๆ ละ ๘ คัน สองสถานีใกล้สวนเฉลิมพระเกียรติซึ่งชาวเมืองพิษณุโลกนิยมมาออกกำลังกาย มีคนใช้มากที่สุด จักรยานไม่พอทั้งที่เอามาเพิ่มเติม จนมีคนมาเปิดบริการให้เช่าจักรยานก็ยังมีคนเช่าไปหมดเวลาเช้า-เย็น

         อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ได้เล่าให้ฟังว่า มหาวิทยาลัยฯ ก็พยายามส่งเสริมการใช้จักรยานในวิทยาเขต โดยมีจักรยานให้นักศึกษายืมใช้มาแล้ว ๓ ปี มีคนใช้มากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีร้านจักรยานมือสองเปิดร้านแรกในปี ๒๕๕๖ ปีนี้มีร้านที่สองมาเปิดเพิ่ม และก็ยังขายดี มีการรวมกลุ่มจัดทริปสั้นๆ ด้วย

         สำหรับปัญหาที่ผู้ใช้จักรยานเผชิญในการใช้ถนนร่วมกับยานยนต์ดังที่ยกขึ้นมาในที่ประชุมมีสองเรื่องใหญ่ๆ คือ กฎจราจรที่ไม่เอื้ออำนวยและการไม่บังคับใช้กฎของตำรวจ กับพฤติกรรมของคนขับรถ มีการบีบแตรไล่ไปจนถึงกลั่นแกล้ง หรือรถบรรทุกทำดินหล่นเรี่ยราด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดอุบัติเหตุแทบทุกวัน

ตัวแทนชมรมจักรยาน เทศบาล และสำนักงานสาธารณสุข รูปหมู่หลังเสร็จการประชุม

รายงานโดย  กวิน ชุติมา 

กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

—————————————————————————————————————————————————————————

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (Thailand Cycling Club – TCC) เป็นสมาชิกองค์กรแรกและประเทศแรกในเอเชียของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF) และเป็นองค์กรผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรจักรยานโลก (World Cycling Alliance – WCA

2017

2016

2015

2014

2013

2012

เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ประธานและแกนนำชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ๑๑ ชุมชนที่อยู่ในกระบวนการสร้างชุมชนจักรยานนำร่องใน “โครงการสนับสนุนการเดินและการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่” ได้มาประชุมหารือกันที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบึงบัว เขตลาดกระบัง

ชุมชนดังกล่าวได้แก่ ชุมชนหลังวัดบุญรอดและชุมชนหมู่บ้านไทยวันดีในเขตพระโขนง, ชุมชนโกสุมสามัคคีในเขตดอนเมือง, ชุมชนบึงบัวในเขตลาดกระบัง, ชุมชนบ้านม้าเกาะล่างในเขตสะพานสูง, ชุมชนวัดประชาระบือธรรมในเขตดุสิต, ชุมชนหัวรถจักรหลังตึกแดงในเขตบางซื่อ, ชุมชนหมู่ ๓ บางมดในเขตทุ่งครุ, ชุมชนเคหะธนบุรีในเขตบางขุนเทียน, ชุมชนหมู่บ้านสกุลทิพย์ในเขตทวีวัฒนา และชุมชนวัดโพธิ์เรียงในเขตบางกอกน้อย  ความจริงมีชุมชนเข้าร่วมโครงการนี้ ๑๒ ชุมชน แต่แกนนำชุมชนเคหะทุ่งสองห้องในเขตหลักสี่ติดภารกิจอื่นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ได้  ชุมชนทั้งสิบสองนี้คัดเลือกมาให้เป็นตัวแทนชุมชนทั้งห้าแบบและเขตเมืองทั้งสามชั้นของกรุงเทพฯ โดยเป็นชุมชนที่ชาวบ้านทั่วไปและคณะกรรมการของชุมชนเห็นด้วยและจะร่วมมือกันสร้างให้เป็นชุมชนที่ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน มีคนใช้จักรยานอยู่แล้วอย่างน้อยราวร้อยละ ๕-๑๐ และสามารถพัฒนาให้ต่อเนื่องและยั่งยืนได้

                                                                      ผู้แทนจากแต่ละชุมชนฯ

ในการประชุมครั้งนี้ คุณประเทือง ช่วยเกลี้ยง ผู้จัดการโครงการ ได้สรุปบทเรียนจากการทำงานที่ผ่านมากับ “ชุมชนต้นแบบ” ของมูลนิธิฯ เป็นองค์ความรู้ให้แกนนำชุมชนว่า ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างชุมชนจักรยานคือ (๑) ผู้นำชุมชนมุ่งมั่นที่จะทำ เอาการเอางาน (๒) ชุมชนมีภาพร่วมกันว่าชุมชนจักรยานจะเป็นอย่างไร (๓) การทำงานอย่างบูรณาการกับองค์กรปกครองท้องถิ่น (๔) การแสวงหาทรัพยากรที่เหมาะสมสอดคล้อง และ (๕) การส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาชุมชนและการทำงานในมิติอื่นๆ เช่น สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม  การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและยั่งยืน มิใช่ทำเป็นครั้งๆไปตัวโครงการสนับสนุนการเดินและการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ นั้นเป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งของ “โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย” ที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาดำเนินการ โดยในส่วนโครงการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่นั้นมีมูลนิธิโอกาสเป็นผู้ดำเนินการ มูลนิธิฯ ได้เริ่มทำโครงการสร้างชุมชนจักรยานมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ ใน “โครงการชุมชนจักรยานชุมชนสุขภาวะ” ซึ่งในกรุงเทพฯ ดำเนินการที่ชุมชนหน้าวัดโคนอน เขตภาษีเจริญ  โครงการปัจจุบันเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖

โครงการนี้นอกจากจะส่งเสริมให้ชุมชนในกรุงเทพมหานครให้ความสนใจและสามารถใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น และยกระดับชุมชนจักรยานเป็นเครือข่ายชุมชนจักรยานแล้ว ยังมุ่งหมายทำงานเชิงนโยบาย ติดตามการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในเรื่องการส่งเสริมการใช้จักรยาน ทั้งที่ชุมชนได้เสนอให้ กทม.ทำและที่ผู้ว่าฯ กทม.สัญญาไว้ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ ต้นปี ๒๕๕๖ รวมทั้งทำข้อเสนอใหม่ขึ้นไปจากที่ได้พบเมื่อลงมือทำงาน

การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าได้ทำกิจกรรมอะไรไปแล้ว และจะมีข้อเสนอใดต่อไป ทำให้ได้ทราบว่าหลายชุมชนที่ได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นแล้ว ได้เริ่มทำกิจกรรม เช่น ซื้ออุปกรณ์ในการดูแลซ่อมบำรุงจักรยาน, จัดให้มีการซ่อมและสอนการซ่อมจักรยาน (ดูข่าวเกี่ยวกับโครงการ “อาสาซ่อม อาสาสอน”), หาสถานที่ เตรียมการและตั้ง “คลินิก” หรือศูนย์บริการจักรยานของชุมชน, จัดให้เยาวชนใช้จักรยานทำกิจกรรมต่างๆ อสม.ใช้จักรยานเยี่ยมบ้านผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ, อบรมวินัยจราจร และทำที่จอดจักรยาน เป็นต้น   ทั้งนี้มูลนิธิฯ กับชมรมฯ ยังได้ประสานรับจักรยานบริจาคจากกลุ่มธุรกิจย่านสีลม-สาธรนำไปให้ชุมชนส่วนหนึ่งได้ชุมชนละ ๗ คันอีกด้วย (ดูข่าว “ชมรมฯ ช่วยประสานงานกลุ่มนักธุรกิจมอบจักรยานให้ชุมชนและโรงเรียน”) ซึ่งชุมชนได้นำไปเป็นจักรยานส่วนกลางให้คนในชุมชนใช้ เช่น ประธานชุมชนใช้ติดต่องาน, อสม.ใช้เยี่ยมบ้าน ฯลฯ

คุณกวิน ชุติมา ผู้แทนจากชมรมฯ

ในเชิงนโยบาย มูลนิธิโอกาสได้เข้าพบปะทำความเข้าใจกับ ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรักษาการผู้ว่าฯ เชิญให้ลงไปเยี่ยมเยือนชุมชนเพื่อเรียนรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชนโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาได้ลงไปแล้ว ๔ ชุมชนคือ ชุมชนหลังวัดบุญรอด, ชุมชนหมู่บ้านสกุลทิพย์, ชุมชนโกสุมสามัคคี และชุมชนบ้านม้าเกาะล่าง (ดูข่าว “รองผู้ว่าฯ กทม. เยี่ยมชุมชนส่งเสริมการใช้จักรยาน”) ซึ่งก็ได้ผลเกิดความคืบหน้าในปฏิบัติการส่งเสริมการใช้จักรยานทันที เช่น การสั่งการเขตและฝ่ายโยธาของกทม.ให้ดำเนินการ และการช่วยประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นซึ่งที่ผ่านมาชุมชนทำเองแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง  ขั้นต่อไปจะมีการนัดหมายผู้แทนชุมชนทั้งหมดไปพบผู้ว่าบริหาร กทม. และทำบันทึกความร่วมมือกับ กทม. รวมทั้งเจรจาขอให้ กทม. จัดงบประมาณมาสนับสนุนชุมชนโดยตรง และช่วยประสานหน่วยงานอื่นมาสนับสนุน

ชุมชนยังได้เรียนรู้ได้บทเรียนในการทำงานให้มีประสิทธิผล เช่น การจะผลักดันขับเคลื่อนเรื่องใดต้องเข้าไปติดต่อกับบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงให้รับเรื่อง, เมื่อเสนอเรื่องใดไปแล้วคอยฟังผลอย่างเดียวไม่พอ ต้องคอยติดตาม

ในส่วนข้อเสนอของชุมชนที่ระดมกันออกมาได้ในการประชุมครั้งนี้นั้นมีเรื่องหลักๆ ที่ค่อนข้างตรงกันสองเรื่องคือ อยากให้ กทม. ทำเส้นทางให้ชาวชุมชนขี่จักรยานไปตลาด ติดต่อราชการ โรงเรียน ฯลฯ ได้สะดวกและปลอดภัย และทำที่จอดจักรยานที่ตลาด ป้ายรถประจำทาง โรงเรียน ฯลฯ ที่ชาวชุมชนสามารถเอาจักรยานไปจอดล็อดได้ปลอดภัยมากขึ้น

ท้ายสุด คุณประเทือง และคุณกวิน ชุติมา กรรมการชมรมฯ และอนุกรรมการด้านชุมชนจักรยานของชมรมฯ ได้ช่วยเสริมว่าข้อเสนอของชุมชนควรให้เป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด ใช้แผนที่และภาพถ่ายประกอบจะช่วยได้มาก  นอกจากนั้นคุณกวินยังได้ชวนให้ชุมชนใช้บริการของโครงการ “อาสาซ่อม อาสาสอน” ซึ่งเป็นบริการแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายรวมทั้งอะไหล่จักรยาน เพราะต้องการให้ชุมชนเอาจักรยานออกมาใช้ให้มากที่สุด

รายงานโดย  กวิน ชุติมา

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) เป็นสมาชิกองค์กรแรกและประเทศแรกในเอเชียของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF)

และผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรจักรยานโลก (World Cycling Alliance – WCA)

2017

2016

2015

2014

2013

2012

จุดประกายคนไทยใช้จักรยาน ผ่านชุมชนเล็กๆหน้าวัดโคนอ

การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถือเป็นหนึ่งในมติที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-20
ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวาระที่เสนอโดยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และมีภาคีเครือข่ายกว่า 2,000 คนร่วมกันขับเคลื่อน “สานพลัง” ให้หน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญ นำไปสู่การออกแบบเชิงนโยบายสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างเป็น รูปธรรม แม้การประชุมสมัชชาจะผ่านไปกว่า 3 เดือนแล้ว แต่ล่าสุดทางสำนักงาน
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาร่วมกันขบคิดเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนมติดังกล่าว โดยพบว่าหลายแห่งมีแนวทางทำงานที่สอดคล้องกัน และต่างก็เห็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้ประชาชน หันมาออกกำลังกายด้วยการเดินและใช้จักรยานอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน
โดยเป้าหมายสำคัญของการเดินและการใช้จักรยานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติก็ คือ ต้องการลดปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ในภาวะ สุ่มเสี่ยง เผชิญกับหลาย
โรครุมเร้า อาทิ โรคหัวใจ , เบาหวาน , โรคอ้วน และโรคมะเร็งต่างๆอีกสารพัด จากสภาพเศรษฐกิจที่เร่งรีบทำให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในการ เดินทาง
แม้จะเป็นระยะทางใกล้ๆไม่กี่กิโลเมตร เมื่อไม่มีกิจกรรมทางร่างกายอย่างเพียงพอ จึงทำให้มีโอกาสเกิดโรคร้ายตามมา แถมสร้างมลภาวะทิ้งไว้ให้เพื่อนๆในสังคมและชุมชนอีกด้วย

   หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจนของความสำเร็จในการส่งเสริมให้สังคมไทย หันมาใช้จักรยานอย่างเป็นรูปธรรม คือชุมชนเล็กๆที่ชื่อว่า “ชุมชนหน้าวัดโคนอน” ใกล้กับถนนเทอดไท ย่านภาษีเจริญซึ่งทางชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้เข้าไปสนับสนุน แลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ และสร้างความร่วมือจากชาวชุมชนตั้งแต่เมื่อช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนในที่สุด ณ วันนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างมีจักรยานของตัวเองใช้เกือบทุกหลังคาเรือน ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อจักรยานชุมชน” โดยเก็บเงินสมาชิก
แค่วันละ 10 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของพานะสองล้อในราคา 300 บาทได้ นวัชรศิษฐ สุภาการ ประธานชุมชนหน้าวัดโคนอน กล่าวว่า ในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมกิจกรรมในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ที่ไบเทค บางนา กับชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่ากระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ได้ ประโยชน์มาก และสามารถนำความรู้กลับมาบอกเล่าให้ชาวชุมชนหน้าวัดโคนอนทราบถึงประโยชน์ของ การเดินและการใช้จักรยาน พร้อมกันนั้นก็มีแผนที่จะขยายความร่วมมือไปสู่ชุมชนรอบข้างอีกด้วย จุดเริ่มต้นของการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อจักรยานชุมชน มีมาตั้งแต่ปี 2555 ที่ทางชมรมฯได้มาส่งเสริมชาวบ้านให้มีโอกาสร่วมขี่จักรยานประมาณ
10-20 คันในช่วงแรก เนื่องจากขณะนั้นทางชมรมฯต้องการรณรงค์ให้ชุมชนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พวกเราในฐานะแกนนำชุมชนก็เห็นความเป็นไปได้ และอยากให้เป็นชุมชนต้นแบบที่เขตภาษีเจริญด้วย จึงเห็นควรว่าน่าจะสนับสนุน แต่ขณะนั้นก็พบว่ามีชาวบ้านถึงร้อยละ 20 ที่มีจักรยานของตัวเองแต่ใช้ไม่ได้ เสียบ้าง พังบ้าง พวกเราก็คิดกันว่าจะทำอย่างไรดี ทางชมรมฯจึงจัดหาทุนและจัดซ่อมจักรยานให้จำนวน 30 คัน นวัชรศิษฐ เล่าว่า ต่อมาจึงคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมให้ชาวบ้านมาร่วมกันขี่จักรยานทุกวัน เพราะแถวนี้ก็เป็นตลาดสด ชาวบ้านต้องตื่นแต่เช้าเอาของมาขาย บางคนออกมาซื้อกับข้าว หรือส่งลูกหลานไปโรงเรียน จึงติดประกาศชักชวนให้ทุกคนร่วมกันขี่จักรยานทั้งในชีวิตประจำวันและเพื่อ การเรียนรู้ เริ่มจากไป
ใกล้ๆก่อนจะขยายเส้นทางออกไป แต่ทุกครั้งเราก็จะติดต่ออปพร. และติดต่อรถพยาบาล เพื่อให้ชาวบ้านที่มาร่วมรู้สึกความปลอดภัย ปรากฎว่าได้รับความสนใจมาก รวมๆแล้วไปกันนับ  100 คัน จากนั้นก็ต่อยอดโครงการรณรงค์ให้เยาวชนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น เพราะปกติแม่บ้านในชุมชนก็จะมีอาชีพเย็บผ้า ส่วนเด็กๆถ้าว่างก็ไปเล่นเกมส์ ซึ่งเป็นห่วงเรื่องของปัญหาการติดยาเสพติดด้วย เราก็ปรับพฤติกรรมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน แต่จะให้บังคับเด็กทุกคนต้องซื้อจักรยานก็ดูจะเป็นเรื่องใหญ่เกินไป เพราะต้องใช้เงิน 1,000-2,000 บาท จึงคิดจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อซื้อจักรยานเก็บเงินวันละ 10 บาท เด็กๆส่วนใหญ่ที่มาร่วมจะอายุประมาณ 6-12 ปี ปกติจะได้เงินจากพ่อแม่วันละ 20 บาท ก็จะเอามาเก็บไว้กับเราครึ่งหนึ่งไม่นานเขาก็จะมีจักรยานเป็นของตัวเอง เมื่อปีที่ผ่านมามีสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ประมาณ 60 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เก็บเงิน 5 วัน ก็จะได้เงินรวม 300 บาท ซึ่งจะสามารถซื้อจักรยานได้ 1 คัน เวลารวมเงินได้ครบก็จะมีการจับสลากลุ้นรางวัลกัน จับได้ชื่อใครคนนั้นก็จะได้เงินที่สะสมไว้ไปซื้อจักรยานจนครบทุกคน วงเงิน 3,000 บาทนี้ก็ซื้อได้ประมาณจักรยานญี่ปุ่นมือสองหรือจะซื้อแบบไหน สไตล์ไหน ก็แล้วแต่ความชอบ พวกเราไม่ซีเรียส แต่เงินที่ได้รับนี้จะต้องซื้อจักรยานเท่านั้น เท่ากับว่าในทุกๆ 1 เดือน…

ที่มา :http://www.posttoday.com

23  ก.ค. 56

2017

2016

2015

2014

2013

2012

ชุมชนจักรยานสร้างได้ไม่ไกลเกินจริง

ขอเชิญ อบต. เทศบาล หน่วยงาน และผู้สนใจ ร่วมสร้างชุมชนจักรยาน

โดยส่งข้อเสนอตามหัวข้อต่างๆ เช่น

·  หลักการและเหตุผล

·  วัตถุประสงค์

·  พื้นที่ดำเนินงาน

·  การดำเนินงานโครงการ

·  ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

·  องค์กร/หน่วยงานและภาคีที่รับผิดชอบ

·  ตัวชี้วัดความสำเร็จ

·  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

·  งบประมาณ

เราเชื่อว่าชุมชนจักรยานสร้างได้ไม่ไกลเกินจริง “เมื่อผู้นำพร้อม ชุมชนขานรับ หน่วยงานรัฐเห็นดี ภาคีเอกชนใส่ใจ”

                                                                                 TCC พร้อมจะเข้าไปจุดประกาย-ขยายแนวคิด !!!!!! 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

15 อาคารรัจนาการ ชั้น 4 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน  เขตพญาไท กทม.  10400

โทรศัพท์ 02-618 4430 และ 02-618 4434  โทรสาร 02-618 4430

2017

2016

2015

2014

2013

2012

ชุมชนศาลเจ้าแม่ และเทศบาลตำบลเขาพนม ลงมือปั้นฝันสร้าง“ชุมชนจักรยาน ชุมชนสุขภาวะ” 3 อ. คือ ออกกำลังกาย อาหาร และอารมณ์ ทำให้เกิดแนวคิดจักรยานสร้าง

สุขภาวะชุมชน บนหลักการ “ปั่นจักรยาน 3 in 1 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้การใช้ “จักรยาน” และ “การเดิน” เป็นสื่อในการสร้างสุขภาวะ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

อีกทั้งเป็นเครื่องมือสร้างเสริมความรักและความสามัคคีให้เกิดในชุมชนได้ทางหนึ่งด้วยเพราะเห็นความสำคัญของสมดุลแห่งในช่วงเริ่มต้นของการขับเคลื่อนแนวคิด แกนนำได้ออกสำรวจข้อมูล วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นปัญหาในชุมชน พร้อมกับเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนต่างๆ ที่มีประสบการณ์มาก่อน จากนั้นจึงจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้คนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น กระทั่งจัดตั้งเป็น กลุ่มผู้ใช้จักรยานเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยวเทศบาลตำบลเขาพนม” และเกิด “กลุ่มอาสาสมัคร” ผู้มีใจอาสาอยากร่วมพัฒนาชุมชน โดยใช้จักรยานเป็นสื่อกลาง โดยทุกเย็นวันศุกร์ เหล่าอาสาสมัครจะชวนกันปั่นจักรยานออกรณรงค์ให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เมื่อสมาชิกเริ่มมุ่งมั่น กลุ่มผู้ชักจักรยานฯก็เริ่มเข้มแข็ง เทศบาลตำบลเขาพนม และภาคีที่เกี่ยวข้องเริ่มให้การสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้มีแผนจะสนับสนุนที่จอดจักรยานบริเวณตลาดสดกลางชุมชน ขยายผลแนวคิดไปสู่โรงเรียนในพื้นที่ ไม่นานนักเส้นทางจักรยานในชุมชนศาลเจ้าแม่ที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนอื่นๆ ตลาดสด โรงเรียน และสวนสุขภาพ จะเป็นจริงได้ในเร็ววัน

จัดกิจกรรมรณรงค์

สร้างแรงกระตุ้นในชุมชนให้หันมาใช้จักรยานในการเดินทางในระยะใกล้ๆ

ประชุมกลุ่มย่อยสรุปผลการทำงานในปีที่ผ่านมา 

2017

2016

2015

2014

2013

2012

แนวคิดการสร้าง “ชุมชนบางผึ้ง…ชุมชนจักรยานสร้างสุขภาวะ” เริ่มจากความตั้งใจดี 3 อย่าง คือ

การสร้างความเป็นชุมชนอยู่ดี ใช้ “จักรยาน” เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน

การสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยสโลแกน ติดหู “สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องออกกำลังกาย” และ

การมีส่วนช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน เพราะการเดินและการปั่นจักรยาน

ทำได้โดยไม่ต้องง้อน้ำมัน เท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปในตัว

ชุมชนบางผึ้งยึดหลักการทำงาน “4 ส. สร้างชุมชนจักรยาน” เริ่มจาก ส 1 : สร้างคน, ส 2 : สร้างแรงจูงใจ, ส 3 : สร้างกิจกรรม และ ส 4 : สร้างเครือข่าย บนพื้นฐานสำคัญคือ การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในชุมชน
ผลดีที่เกิดขึ้น

ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้คุณค่าพลังจากสองขาของตนเอง ซึ่งอาจเคยมองข้ามไป การเริ่มต้นออกเดินและปั่นจักรยาน จึงเป็นการเรียนรู้แนวทางการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ
ทุกคนสามารถปั่นจักรยานโดยไม่จำเป็นต้องใช้จักรยานราคาแพง หรือไม่จำเป็นต้องสวมชุดรัดกุม ผู้หญิงนุ่งปาเต๊ะ ใส่รองเท้าแตะก็สามารถปั่นจักรยานได้ เพราะเราคือ คนใช้จักรยาน ไม่ใช่นักปั่นจักรยาน จากคนเพียง 5 คน ขยายสู่การรวมตัวกันเป็นชมรม และพัฒนาต่อเนื่องกลายมาเป็น “ชุมชนจักรยาน” ในวันนี้ เป็นเพราะมีต้นทุนทางชุมชนที่เข้มแข็ง นั่นคือ ผู้นำชุมชนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ผนวกกับชุมชนเห็นประโยชน์ ภาคีเครือข่ายเกื้อหนุน ชาวชุมชนบางผึ้งจึงปั่นเพื่อขับเคลื่อนพลังทางสังคมผ่านกิโลเมตรแรก (ปีแรก) มาได้บนเส้นทางที่ไม่ลำบากนัก แต่แกนนำก็ยังเห็นว่า จำเป็นต้องเสริมพลังด้านองค์ความรู้ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เพื่อออกแรงส่งให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายในระดับท้องถิ่นพัฒนาสู่ “เมืองน่าอยู่” ได้ไม่ไกลเกินจริง

สร้างความเป็นชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน  ด้วยการการใช้จักรยานในการเดินทาง

2017

2016

2015

2014

2013

2012

ชุมชนจักรยาน-เมืองน่าอยู่ เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

มีแรงขับเคลื่อนด้านนโยบายที่เข้มแข็ง เพราะผู้บริหารเทศบาลเห็นความสำคัญและเห็นประโยชน์ของการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และยังได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากส่วนราชการในอำเภอเดิมบางนางบวช ทำให้เกิดรูปธรรมในการส่งเสริมให้ชุมชน “เดิน” และ “ใช้จักรยาน” เพื่อร่วมกันสร้างสุขภาวะที่ดี โดยชุมชนได้ลงมติคัดเลือกเส้นทางจราจร เพื่อพัฒนาเป็น “เส้นทางจักรยานชุมชนบ้านท่าช้าง- ชุมชนน่าอยู่” นำไปสู่การเริ่มต้นรณรงค์กับกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพราะทั้งสองกลุ่มนี้มีบทบาทในการส่งผ่านแนวคิดไปยังครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน สมาชิกในชุมชน ฯลฯ และยังเป็นต้นแบบของการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เด็กนักเรียนสามารถใช้จักรยานไปโรงเรียนได้เป็นประจำ ส่วนอสม.ก็สามารถขี่จักรยานไปเยี่ยมเยียนสมาชิกในชุมชนแทนการเดินหรือใช้รถยนต์ สะดวกต่อการเดินทางไปหาเพื่อนบ้านในระยะทางใกล้ๆ ช่วยประหยัดแรง ประหยัดเงิน ดีต่อสุขภาพของผู้อสม. และยังดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วย

ขณะเดียวกัน ชุมชนจักรยาน-เมืองน่าอยู่ ทต.เขาพระ ยังได้จัดทำโครงการคู่ขนาน ได้แก่ โครงการสอนน้องขี่จักรยาน โครงการคลินิกจักรยาน อสม. และค่ายจักรยานเยาวชน พร้อมกับอาศัยพลังของสื่อใหม่ทางสังคม (social media) เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลงานการรณรงค์ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

แม้การรณรงค์ส่งเสริมแนวคิดการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจะพบกับอุปสรรคที่เกิดจากค่านิยมของคนส่วนใหญ่ที่ยังยึดติดกับความสะดวกสบายก็ตามแต่บทเรียนจากประสบการณ์ของชุมชนจักรยานบ้านท่าช้าง ทำให้เรียนรู้ได้ว่า การใช้จักรยานเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน สามารถทำได้จริง ด้วยพลังความต้องการของชุมชน ควบคู่กับการหนุนเสริมด้านองค์ความรู้ และกำลังใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนา “พลังทางสังคม” นำไปสู่การสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

2017

2016

2015

2014

2013

2012

เกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากมูลนิธิโอกาสโดยการสนับสนุนจากโครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศ ได้นำเสนอแนวคิดชมรมจักรยานเพื่อวิถีชีวิต เมื่อปีพ.ศ.2554 และการมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดกระบี่ ประกอบกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงกลางให้ความสำคัญและพร้อมเป็นกำลังหลักในการผลักดันแนวคิดการใช้จักรยานเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนทำให้ชมรมจักรยานตำบลดงกลางสามารถดำเนินงานสร้าง “ชุมชนจักรยาน ชุมชนสุขภาวะ” ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในช่วงเริ่มต้น มูลนิธิโอกาส ร่วมกับอบต.ดงกลาง และชุมชนลงมือสำรวจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการใช้จักรยานในชุมชน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับอบต. ในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน 3 ปี และเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมรณรงค์ชวนกันปั่นจักรยานในหลากหลายโอกาส เช่น ปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการพักผ่อน เพื่อการรณรงค์ประเด็นสาธารณะ หรือแม้แต่การปั่นจักรยานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

ตลอดเส้นทางการทำงานส่งเสริมกิจกรรม “การเดิน” และ“การใช้จักรยาน” เพื่อการพัฒนาสู่ “ชุมชนสุขภาวะ” ของชมรมจักรยานตำบลดงกลาง พบว่า กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแกนนำจักรยาน เกิดการตื่นตัวและสนใจปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเด็นการปั่นจักรยานกลายเป็นหัวข้อสนทนาอยู่เสมอ และยังเกิดกลุ่ม “อาสาสมัคร” ออกปั่นจักรยานรณรงค์ในทุกวันศุกร์ ขณะที่อบต. ดงกลาง ก็ลงมือปรับภูมิทัศน์และเส้นทางริมคลอง เพื่อให้คนในชุมชนปั่นจักรยานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย พร้อมบรรจุแผนชุมชนจักรยานไว้ในแผนของท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนจักรยานเพื่อวิถีชีวิตอย่างเป็นระบบ

2017

2016

2015

2014

2013

2012