บ่ายวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้จัดการสัมมนาครั้งที่ ๒ งานศึกษาความเหมาะสมและ
ออกแบบรายละเอียดเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณจุดตัดระหว่างถนนลาดพร้าว ถนนนวมินทร์ ถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง และ
ถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ ที่โรงแรมเดอะแกรนด์โฟวิงส์คอนเวนชั่น ถนนศรีนครินทร์
รูปที่ ๑ การสัมมนาครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖
การเสนอผลการศึกษาและออกแบบทำโดยวิศวกรบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งออกมาเป็นสองแนวทางคือ การแก้ไขปัญหาระยะสั้นด้วยการปรับ
ปรุงลักษณะทางกายภาพและระบบจราจร เช่น ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจร ปรับปรุงทางเท้า รวมทั้งการสร้างทางเดินยกระดับ(Skywalk) กับการแก้ไข
ปัญหาระยะยาวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน ซึ่งข้อเสนอที่ ๒ นี้ในทางปฏิบัติคือการเพิ่มพื้นที่ถนนด้วยการขยายความกว้างของถนนบาง
สายและตัดถนนใหม่ ๓ เส้นทาง ซึ่งจะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ โดยเฉพาะที่ถนนศรีบูรพา ซึ่งจะขยายจากสี่เป็นหกช่องทางรถ และมีทางเท้ากับทาง
จักรยานทั้งสองข้าง กว้างรวมกันข้างละ ๓.๘๐ เมตร (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.bangkapitraffic.com)
รูปที่ ๒ แผนที่ย่านบางกะปิและโดยรอบ แสดงพื้นที่โครงการในวงกลม
ข้อเสนอเหล่านี้ถูกวิจารณ์คัดค้านอย่างหนักจากชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าร่วมการสัมมนา ว่าไม่จำเป็น ไม่เข้าใจสภาพและปัญหาจราจรที่เป็น
จริงในพื้นที่ และทำให้พวกเขาเดือดร้อน โดยชาวบ้านได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมหลายประการ เช่น ใช้ซอยที่มีอยู่แล้วระบายรถ
การจัดการไม่ให้หาบเร่แผงลอยใช้ทางเท้าและถนนกีดขวางการจราจร การเพิ่มพื้นที่จอดให้รถประจำทางและจัดการให้จอดไม่เกะกะการจราจร ฯลฯ
พวกเขาอยากให้ กทม.นำมาตรการเหล่านี้ไปทดลองใช้ก่อน ถ้าปัญหายังไม่บรรเทา จึงจะนำข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษามาพิจารณากันใหม่อีกครั้ง
โดยที่ให้คนในพื้นที่รับรู้แต่ต้นและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการใด
ผู้แทนชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยที่ได้รับเชิญไปร่วมการสัมมนาครั้งนี้ด้วยได้ชี้ให้เห็นว่า โครงการที่เสนอมาถึงทำได้ทั้ง
หมดก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาชั่วคราว ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอแท้จริง นั่นคือการมียานยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล มากกว่าพื้นที่ถนน
ทางออกที่ได้ผลจริงและยั่งยืนคือการลดจำนวนรถยนต์บนถนนลง ด้วยการพัฒนาระบบและโครงสร้างในการเดินทางอื่นที่สะดวกปลอดภัยให้
ประชาชนมีทางเลือก นั่นคือการเดินและการใช้จักรยานสำหรับระยะสั้น และการใช้ขนส่งสาธารณะ คือรถประจำทางและรถไฟฟ้า ที่เชื่อมโยงกับระบบ
ที่ครอบคลุมทั้งเมืองสำหรับการเดินทางระยะไกลออกไป ซึ่งแก้ปัญหาจราจรได้จริงอย่างยั่งยืนโดยใช้งบประมาณลงทุนโดยรวมต่ำกว่าและไม่สร้า
งปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชน ข้อเสนอของชมรมฯ ได้รับการปรบมืออย่างหนักแน่นจากผู้ร่วมสัมมนา ทั้งมีผู้เสนอความเห็นคนอื่นๆ สนับสนุน
และนำไปเชื่อมโยงกับข้อเสนอของพวกเขาด้วย
รายงานโดย กวิน ชุติมา
กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย