เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 ชมรมฯ ได้ส่งข้อเสนอต่อคสช. ว่าด้วยเรื่อง
“การปฏิรูประบบทางเท้าในเขตเมือง ปัญหาเล็กๆ ที่ใหญ่และซับซ้อน เกินกว่าจะแก้ไขได้ในภาวะปกติ”
———–
คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ ตอบกลับมารวดเร็วมากกว่าได้รับเรื่องแล้วและขอบคุณชมรมฯสำหรับแนวคิดและข้อเสนอ ซึ่งชมรมฯ รวมถึงสังคมก็คงต้องให้เวลาและติดตามความคืบหน้าต่อไป
ชมรมฯ มีข้อเสนอต่อคสช. ดังนี้
เสนอโดย : ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์
ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
หลักการและเหตุผล
1. คนไทย ร้อยละ 50 เข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองและนับวันจะมากขึ้น
2. คนไทยเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องเดินบนทางเท้าในแต่ละวัน มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทางเท้า
3. ทางเท้าในเขตเมืองหลายพื้นที่เป็น”ทางเดินที่เดินไม่ได้” ด้วยสาเหตุหลายประการ ทั้งในด้านกายภาพและสภาพทางสังคม-การเมือง รวมทั้งการคอร์รัปชัน
4. การแก้ปัญหาทากายภาพทำได้ไม่ยาก แต่การแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ซึ่งโยงกับการคอร์รัปชัน(การส่งส่วย) ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการและกระบวนการปัจจุบัน
แม้การ”ยึดพื้นที่สาธารณะ(ทางเท้า)” เป็นสมบัติแห่งตน เป็นการกระทำทีผิดกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ก็ตาม
5.การแก้ไขปัญหานี้อย่างเบ็ดเสร็จ ต้องการการจัดการอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะสามารถทำได้เฉพาะในช่วงที่เอื้ออำนวย เช่น ในขณะนี้เท่านั้น
ระดับของปัญหา
- สูงถึงสูงมาก มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่
- คนเดินเท้าถูกบีบบังคับให้เดินบนถนน ซึ่งเสี่ยงอันตราย
- ผลเสียทางสังคม คือ เป็นตัวอย่างของการทำผิดกฎหมายได้ ทั้งที่เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจผิด และรับรู้ไปว่าการทำผิดกฎหมายนั้นกระทำได้โดยไม่ถูกลงโทษ นำไปสู่สังคมล้มเหลวได้ ผู้ได้รับประโยชน์
คนไทยทุกคน ไม่เว้นแม้คนนอกเมือง ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้าเมืองในบางโอกาส
เหตุใดจึงไม่ได้รับการแก้ไขมาก่อน
1. ปัญหาซับซ้อน ไม่ใช่เพียงเฉพาะด้านกายภาพ
2. มีผู้เกี่ยวข้องหลายองค์กรและไม่มีเจ้าภาพหลัก
3. ปัญหาใหญ่คือการคอร์รัปชัน ซึ่งต้องดำเนินการกำจัดอย่างเฉียบขาด
ข้อเสนอแนะ
1. ให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมและบทบาทในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหา
2. ทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน
3. ตัดห่วงโซ่ของการส่งส่วย
4. ลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้ละเลยการบังคับใช้กฎหมาย
5. ลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้คอร์รัปชันอย่างรุนแรง
6. จัดหาพื้นที่นอกทางเท้า ให้ผู้ค้าโดยเฉพาะคนจนสามารถมีสถานที่ขายของได้ โดยดูตัวอย่างได้จากสิงคโปร์ในอดีต
7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
หมายเหตุ:
1) มีตัวอย่างทางเท้าในเมืองมากมาย ที่อยู่บนถนนเดียวกันแต่ส่วนหนึ่งเต็มไปด้วยหาบเร่แผงลอยจนเดินไม่ได้ แต่อีกส่วนถัดไปไม่มีปัญหานี้เลย แม้จะอยู่ติดกัน นั่นแสดง
ว่าการแก้ไขปัญหาให้ทางเดินนั้นๆเดินได้ ทำได้จริง
2) ผู้ค้าบนทางเท้าในกรุงเทพมหานคร มักเป็นผู้มีฐานะดี ไม่ใช่คนจน มีรถกะบะนำส่งของ ฯลฯ
linke ข้อเสนอ http://www.thaicyclingclub.org/wp-content/uploads/files/ptiruupthaangethaa.pdf