วันนี้ไปร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธิ์ในการขับเคลื่อนเรื่องเมืองจักรยานให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแกนนำ ที่มาจาก 15 จังหวัดที่ทำโครงการร่วมกับ สสส ครับ
ทุกพื้นที่เข้าใจมากขึ้นเรื่องการขับเคลื่อน ว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะตอนนี้ประเทศไทยกำลังจะก้าวผ่านเรื่อง event base มาเป็นเรื่องการพัฒนาระบบอย่างจริงจัง และจักรยานจะเป็นพาหนะ มากกว่าเครื่องมือในการออกกำลังกายครับ
หลายท่านเข้ามาพูดคุย เช่น ท่านนายกเมืองน่าน เพราะท่านเคลื่อนมาเยอะ ตอนนี้เลยรู้ละว่ามันไม่เคลื่อนเพราะอะไร
ดร.พนิต และผมพูดตรงกันในเรื่องการออกแบบถนนสำหรับทุกคน มิใช่แค่กลุ่มนักปั่นเพียงอย่างเดียว เพราะตอนนี้มีเหตุเกิดขึ้นกับนักปั่น พวกเราก็ไปรวบรวมกลุ่มนักปั่นไปยื่นข้อเสนอต่างๆมากมาย แต่ชาวบ้านที่ใช้จักรยานจริงๆนั้นเราต้องไม่ลืมคนกลุ่มนี้
ผมยกตัวอย่างการจัดทำยุทธศาสตร์ของชัยนาท จากการเข้าไปสำรวจ เค้าพบว่าทั้งจังหวัดมีนักแข่ง 3 คน มีนักปั่นเพื่อการท่องเที่ยวและการออกกำลังกาย 2,500 คน แต่มีผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันถึง 330,000 คน ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบจักรยาน ต้องให้คน 330,000 ใช้ได้ และต้องถามความต้องการของคนเหล่านั้นด้วย
ผมพูดถึงปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเมืองจักรยาน มันมี key word อยู่สองคำ คือ “ชลอร้อน ชลอเร็ว”
ชลอเร็ว จะทำให้เกิดความปลอดภัยกับนักปั่น ทำให้ชาวบ้านมั่นใจที่จะใช้งานจักรยานมากขึ้น เพราะถ้ารถยนต์ที่ความเร็วเกิน 60 กม/ชม ชนจักรยาน โอกาสตายมีสูงถึง 85% แต่จะลดเหลือ 15% ที่ความเร็วต่ำกว่า 30 กม/ชม.
ชลอร้อน จะช่วยเสริมแรงจูงใจในการใช้จักรยานมากยิ่งขึ้น โดยผมให้ทาง อปท เห็นความสำคัญของต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาและการปรับปรุงภูมิทัศน์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเส้นทาง
วิทยากรถามคำถามที่ตรงเป้ามากในตอนสุดท้ายว่ากลยุทธ์จะต้องทำอย่างไร ก็เลยตอบตรงว่าต้องทำอย่างไรแบบ step by step แต่ตอนนี้ในแต่ละพื้นที่ต้องมีคนดูด้านยุทธศาสตร์ก่อน รายละเอียดในแต่ละเรื่องค่อยมาว่ากันเป็นเรื่องๆไป
ผมพูดถึงเรื่องที่ทางชมรมฯ focus อยู่ตอนนี้คือเรื่อง road safety โดยงานวิจัยกว่า 50 หัวข้อที่ชมรมฯให้ทุนนักวิจัยทำ จะมุ่งไปที่เรื่องนี้เป็นหลัก โดยการประชุมวิชาการ iBike iWalk Forum ครั้งที่ 3 ที่เพิ่งจัดไปช่วงเมษายน ก็พูดถึงเรื่องนี้ทั้งหมด และเมื่อราวอาทิตย์ที่ผ่านมา ชมรมฯก็ได้จัดเสวนาเรื่อง การประเมินความเสี่ยงของถนนแต่ละประเภท ในมุมมองของผู้ใช้จักรยาน พบว่าสื่อและผู้เข้าร่วมสนใจมาก และมีการติดตามประเด็นนี้อยู่จากสื่อช่องต่างๆ หลายท่านมาขอข้อมูล และอยากให้จัดในพื้นที่ ตจว. บ้าง
Action จากการประชุมในวันนี้ ทาง อปท จะไปวางแผนในการขับเคลื่อน แล้วส่งยุทธศาสตร์มาให้ช่วยรีวิว ทั้งหมด 15 พื้นที่ต้องมียุทธศาตร์ทั้งหมด
นอกรอบมีการคุยถึงการพัฒนาระบบทางจักรยานว่าจะทำอย่างไร (share road, paint lane, segregated lane) ก็คุยเรื่องพวกนี้ว่าแต่ละแบบต้องดูเรื่องอะไรบ้าง
ในที่ประชุมมีการพูดถึงเรื่องสถานะการขับเคลื่อนในภาพรวมที่เป็นอยู่ตอนนี้
ในระดับประเทศ ตอนนี้เรามีนโยบายแล้ว โดยอาศัยมติ ครม. ในวาระเรื่องการพัฒนาระบบที่ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ที่ชมรมฯขับเคลื่อนผ่านทางสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ในระดับนานาชาติ เราเชื่อมกับหลายประเทศ ในนามของ พันธมิตรจักรยานโลก (World Cycling Alliance, WCA) โดยประเทศไทยอยู่ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งและบอร์ดบริหาร
ตอนนี้เรื่องของ top down เรามีหมดแล้ว เหลือแต่ Bottom up ที่ต้องทำขึ้นไปเชื่อม คือทาง อปท ทุกพื้นที่ต้องขับเคลื่อนขึ้นไป
ทุกคนเห็นด้วย
———————————————————————–
รายงานโดย คุณกิติศักดิ์ อินทรวิศิษฎ์ กรรมการชมรมฯ 🙂
25 พ.ค.58