มาตรฐานยางนอกยางในรถจักรยานผ่านการพิจารณารอบสอง
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ ได้จัดการประชุมพิจารณาผลของโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางนอกรถจักรยาน และการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในรถจักรยาน ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เนื่องจากมาตรฐานเดิมออกใช้มา ๓๐ ปีแล้ว และมาตรฐานอ้างอิงต่างประเทศที่ใช้ในการจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ดังกล่าวได้มีการประกาศยกเลิกไปแล้วโดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานและยางจักรยาน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ มาให้ความคิดเห็น การประชุมครั้งแรกได้จัดไปเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙ ตามที่ชมรมฯ ได้รายงานข่าวไปแล้ว (อ่านข่าวที่ http://www.thaicyclingclub.org/article/detail/11087) การประชุมครั้งที่ ๒ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ มีผู้เข้าร่วม ๑๕ คน รวมทั้งนายกวิน ชุติมา กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้แทนหนึ่งเดียวในส่วนของผู้ใช้จักรยาน
นายสุรจิตร วันแพ จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงว่า การประชุมนี้เป็นการให้ความเห็นต่อร่างมาตรฐานยางนอกและยางในสำหรับรถจักรยานที่โครงการการวิจัยฯ ได้เสนอมาเท่านั้น ไม่ใช่การรับรอง กรมวิทยาศาสตร์บริการต้องนำร่างนี้ไปเสนอต่อ สมอ. ซึ่ง สมอ.จะรับหรือไม่รับก็ได้ (ที่ผ่านมา สมอ.มักรับข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญ) เมื่อ สมอ.มีมติรับรองแล้วจึงจะมีผลทางกฎหมายเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้ทั่วไปในประเทศไทย
การประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้หารือกันอย่างละเอียดด้วยการชี้แนะที่เป็นประโยชน์ยิ่งของผู้แทน สมอ. มีการปรับปรุงข้อความในร่างมาตรฐานที่ได้ออกมาจากการประชุมครั้งที่ ๑ ให้มีความถูกต้องชัดเจนมากขึ้น เน้นการใช้หน่วยเมตริก ใช้สำนวนภาษาและการให้ความหมายเป็นแนวเดียวกันกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นและการใช้ในทางสากล และใช้ศัพท์ที่ผู้ผลิตยางสำหรับรถจักรยานใช้และเข้าใจร่วมกัน โดยคำนึงถึงการปฏิบัติได้จริงในสภาพปัจจุบัน เช่น แม้รัฐบาลอยากให้ใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตในประเทศมากที่สุด แต่เนื่องจากข้อจำกัดบางประการจึงยังไม่มีระบุสัดส่วนการใช้ยางธรรมชาติเป็นวัสดุในการทำยางรถจักรยานไว้ในมาตรฐานใหม่นี้
การประชุมครั้งนี้ยังได้ให้ความรู้หลายประการที่ผู้บริโภค-ผู้ใช้จักรยานควรทราบเพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง เช่น อายุของยาง เครื่องหมายและฉลาก ฯลฯ ซึ่งต่อไปหากพบว่ายางใหม่ที่ซื้อมาไม่ได้มาตรฐานก็จะสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ ซึ่งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยจะได้รวบรวมนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้จักรยานทราบต่อไป
รายงานโดย กวิน ชุติมา
กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
Still a print world? Hard to argue if you include coffee table books, text books, and noctifn-ion. But I'd like to see how much of a print world it is if you are only talking about fiction. The fiction section at B&N is maybe 1/6th of the store.I guess it doesn't matter. It's only a matter of time before B&N is out of business, and with the uproar going on right now regarding Amazon, I'm guessing time is shorter than any of us realize.
Article suivant: les modèles de rentabilité du web 2.0 ? Licences, services premiums, pub, affiliation, marketinf direct sur base d’abonnés qualifiée… autre chose sinon? (c’est déjà pas mal)
Touchdown! That’s a really cool way of putting it!
Too bad you didn't mention the MidwestMeetUp that occurred August 12, 2007 at Navy Pier in Chicago. It was a great time but I guess no one famous enough attended to merit your attention. tag: MidwestMeetUp