เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ประธานและแกนนำชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ๑๑ ชุมชนที่อยู่ในกระบวนการสร้างชุมชนจักรยานนำร่องใน “โครงการสนับสนุนการเดินและการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่” ได้มาประชุมหารือกันที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบึงบัว เขตลาดกระบัง
ชุมชนดังกล่าวได้แก่ ชุมชนหลังวัดบุญรอดและชุมชนหมู่บ้านไทยวันดีในเขตพระโขนง, ชุมชนโกสุมสามัคคีในเขตดอนเมือง, ชุมชนบึงบัวในเขตลาดกระบัง, ชุมชนบ้านม้าเกาะล่างในเขตสะพานสูง, ชุมชนวัดประชาระบือธรรมในเขตดุสิต, ชุมชนหัวรถจักรหลังตึกแดงในเขตบางซื่อ, ชุมชนหมู่ ๓ บางมดในเขตทุ่งครุ, ชุมชนเคหะธนบุรีในเขตบางขุนเทียน, ชุมชนหมู่บ้านสกุลทิพย์ในเขตทวีวัฒนา และชุมชนวัดโพธิ์เรียงในเขตบางกอกน้อย ความจริงมีชุมชนเข้าร่วมโครงการนี้ ๑๒ ชุมชน แต่แกนนำชุมชนเคหะทุ่งสองห้องในเขตหลักสี่ติดภารกิจอื่นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ได้ ชุมชนทั้งสิบสองนี้คัดเลือกมาให้เป็นตัวแทนชุมชนทั้งห้าแบบและเขตเมืองทั้งสามชั้นของกรุงเทพฯ โดยเป็นชุมชนที่ชาวบ้านทั่วไปและคณะกรรมการของชุมชนเห็นด้วยและจะร่วมมือกันสร้างให้เป็นชุมชนที่ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน มีคนใช้จักรยานอยู่แล้วอย่างน้อยราวร้อยละ ๕-๑๐ และสามารถพัฒนาให้ต่อเนื่องและยั่งยืนได้
ผู้แทนจากแต่ละชุมชนฯ
ในการประชุมครั้งนี้ คุณประเทือง ช่วยเกลี้ยง ผู้จัดการโครงการ ได้สรุปบทเรียนจากการทำงานที่ผ่านมากับ “ชุมชนต้นแบบ” ของมูลนิธิฯ เป็นองค์ความรู้ให้แกนนำชุมชนว่า ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างชุมชนจักรยานคือ (๑) ผู้นำชุมชนมุ่งมั่นที่จะทำ เอาการเอางาน (๒) ชุมชนมีภาพร่วมกันว่าชุมชนจักรยานจะเป็นอย่างไร (๓) การทำงานอย่างบูรณาการกับองค์กรปกครองท้องถิ่น (๔) การแสวงหาทรัพยากรที่เหมาะสมสอดคล้อง และ (๕) การส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาชุมชนและการทำงานในมิติอื่นๆ เช่น สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและยั่งยืน มิใช่ทำเป็นครั้งๆไปตัวโครงการสนับสนุนการเดินและการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ นั้นเป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งของ “โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย” ที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาดำเนินการ โดยในส่วนโครงการสร้างชุมชนจักรยานสู่กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่นั้นมีมูลนิธิโอกาสเป็นผู้ดำเนินการ มูลนิธิฯ ได้เริ่มทำโครงการสร้างชุมชนจักรยานมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ ใน “โครงการชุมชนจักรยานชุมชนสุขภาวะ” ซึ่งในกรุงเทพฯ ดำเนินการที่ชุมชนหน้าวัดโคนอน เขตภาษีเจริญ โครงการปัจจุบันเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖
โครงการนี้นอกจากจะส่งเสริมให้ชุมชนในกรุงเทพมหานครให้ความสนใจและสามารถใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น และยกระดับชุมชนจักรยานเป็นเครือข่ายชุมชนจักรยานแล้ว ยังมุ่งหมายทำงานเชิงนโยบาย ติดตามการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในเรื่องการส่งเสริมการใช้จักรยาน ทั้งที่ชุมชนได้เสนอให้ กทม.ทำและที่ผู้ว่าฯ กทม.สัญญาไว้ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ ต้นปี ๒๕๕๖ รวมทั้งทำข้อเสนอใหม่ขึ้นไปจากที่ได้พบเมื่อลงมือทำงาน
การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าได้ทำกิจกรรมอะไรไปแล้ว และจะมีข้อเสนอใดต่อไป ทำให้ได้ทราบว่าหลายชุมชนที่ได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นแล้ว ได้เริ่มทำกิจกรรม เช่น ซื้ออุปกรณ์ในการดูแลซ่อมบำรุงจักรยาน, จัดให้มีการซ่อมและสอนการซ่อมจักรยาน (ดูข่าวเกี่ยวกับโครงการ “อาสาซ่อม อาสาสอน”), หาสถานที่ เตรียมการและตั้ง “คลินิก” หรือศูนย์บริการจักรยานของชุมชน, จัดให้เยาวชนใช้จักรยานทำกิจกรรมต่างๆ อสม.ใช้จักรยานเยี่ยมบ้านผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ, อบรมวินัยจราจร และทำที่จอดจักรยาน เป็นต้น ทั้งนี้มูลนิธิฯ กับชมรมฯ ยังได้ประสานรับจักรยานบริจาคจากกลุ่มธุรกิจย่านสีลม-สาธรนำไปให้ชุมชนส่วนหนึ่งได้ชุมชนละ ๗ คันอีกด้วย (ดูข่าว “ชมรมฯ ช่วยประสานงานกลุ่มนักธุรกิจมอบจักรยานให้ชุมชนและโรงเรียน”) ซึ่งชุมชนได้นำไปเป็นจักรยานส่วนกลางให้คนในชุมชนใช้ เช่น ประธานชุมชนใช้ติดต่องาน, อสม.ใช้เยี่ยมบ้าน ฯลฯ
คุณกวิน ชุติมา ผู้แทนจากชมรมฯ
ในเชิงนโยบาย มูลนิธิโอกาสได้เข้าพบปะทำความเข้าใจกับ ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรักษาการผู้ว่าฯ เชิญให้ลงไปเยี่ยมเยือนชุมชนเพื่อเรียนรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชนโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาได้ลงไปแล้ว ๔ ชุมชนคือ ชุมชนหลังวัดบุญรอด, ชุมชนหมู่บ้านสกุลทิพย์, ชุมชนโกสุมสามัคคี และชุมชนบ้านม้าเกาะล่าง (ดูข่าว “รองผู้ว่าฯ กทม. เยี่ยมชุมชนส่งเสริมการใช้จักรยาน”) ซึ่งก็ได้ผลเกิดความคืบหน้าในปฏิบัติการส่งเสริมการใช้จักรยานทันที เช่น การสั่งการเขตและฝ่ายโยธาของกทม.ให้ดำเนินการ และการช่วยประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นซึ่งที่ผ่านมาชุมชนทำเองแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง ขั้นต่อไปจะมีการนัดหมายผู้แทนชุมชนทั้งหมดไปพบผู้ว่าบริหาร กทม. และทำบันทึกความร่วมมือกับ กทม. รวมทั้งเจรจาขอให้ กทม. จัดงบประมาณมาสนับสนุนชุมชนโดยตรง และช่วยประสานหน่วยงานอื่นมาสนับสนุน
ชุมชนยังได้เรียนรู้ได้บทเรียนในการทำงานให้มีประสิทธิผล เช่น การจะผลักดันขับเคลื่อนเรื่องใดต้องเข้าไปติดต่อกับบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงให้รับเรื่อง, เมื่อเสนอเรื่องใดไปแล้วคอยฟังผลอย่างเดียวไม่พอ ต้องคอยติดตาม
ในส่วนข้อเสนอของชุมชนที่ระดมกันออกมาได้ในการประชุมครั้งนี้นั้นมีเรื่องหลักๆ ที่ค่อนข้างตรงกันสองเรื่องคือ อยากให้ กทม. ทำเส้นทางให้ชาวชุมชนขี่จักรยานไปตลาด ติดต่อราชการ โรงเรียน ฯลฯ ได้สะดวกและปลอดภัย และทำที่จอดจักรยานที่ตลาด ป้ายรถประจำทาง โรงเรียน ฯลฯ ที่ชาวชุมชนสามารถเอาจักรยานไปจอดล็อดได้ปลอดภัยมากขึ้น
ท้ายสุด คุณประเทือง และคุณกวิน ชุติมา กรรมการชมรมฯ และอนุกรรมการด้านชุมชนจักรยานของชมรมฯ ได้ช่วยเสริมว่าข้อเสนอของชุมชนควรให้เป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด ใช้แผนที่และภาพถ่ายประกอบจะช่วยได้มาก นอกจากนั้นคุณกวินยังได้ชวนให้ชุมชนใช้บริการของโครงการ “อาสาซ่อม อาสาสอน” ซึ่งเป็นบริการแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายรวมทั้งอะไหล่จักรยาน เพราะต้องการให้ชุมชนเอาจักรยานออกมาใช้ให้มากที่สุด
รายงานโดย กวิน ชุติมา
ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) เป็นสมาชิกองค์กรแรกและประเทศแรกในเอเชียของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF)
และผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรจักรยานโลก (World Cycling Alliance – WCA)
Thank you for this great opinion! I found it very inmftoarive. The strength of the World Wide Web in modern times is truly a crucial tool for both companies and peoplealike.
I can’t believe you’re not playing with me–that was so helpful.
Sad news – I’ve found that the tossing, turning and being awake more than asleep at night gets worse every year.After cleaning my camelback I store it with just a little water in it in the freezer – I’ve convinced myself this will help keep it less germy!!!
De toute façon tant qu’il y aura des religions il n’y aura jamais jamais de paix sur la terre.Cela est prouvé par l’histoire.Vous ne voulez pas que l’on vous changent mais dès l’enfance vous êtes changés ,vous êtes manipulés.Kikou:Ta femme à les mêmes droits que toi??Tu dois être en FRANCE alors car dans un pays musulmans……………………………