Home / Photography Contest

Photography Contest

ดูรายชื่อผู้ที่ได้สมัครโครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า…เล่าเรื่อง” ได้ที่นี่ หากมีรายชื่อแล้ว สามารถส่งภาพประกวดได้เลย สำหรับผู้ที่ไม่มีรายชื่อในนี้ สามารถร่วมสนุกได้เช่นเดียวกัน คลิกที่ปุ่ม เข้าร่วมกิจกรรม

โครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า…เล่าเรื่อง”

“Community Desirable/Undesirable Walkway”

โครงการประกวดภาพถ่ายเล่าเรื่องและแนวคิดต่อทางเท้าและสภาพแวดล้อมที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของชุมชน

ความเป็นมาของโครงการ

“ทางเท้า” นับเป็นองค์ประกอบทางกายภาพสำคัญของเมือง เพราะนอกจากจะรองรับการสัญจรของคนเดินเท้าและพาหนะขนาดเล็กรูปแบบอื่นๆ เช่น จักรยาน รถเข็น ในการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างชุมชนแล้ว ทางเท้ายังเป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อมและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ผู้คน และพื้นที่สาธารณะภายนอกด้วย หากพบว่าในความเป็นจริงในปัจจุบัน ทางเท้าโดยส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสภาพที่เอื้อให้ชุมชนและผู้คน สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพเท่าที่ควร อีกทั้งถูกยึดครองอย่างไร้ระเบียบ เกินเลยความเหมาะสม และไม่ได้รับการออกแบบให้ตอบสนองกับการใช้งานของกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตหลากหลาย และโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการที่ถูกลืมเสมอ

โครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า…เล่าเรื่อง” กิจกรรมภายใต้โครงการ Community Desirable + Undesirable Walkway (ทางเท้าที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของชุมชน) จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดพื้นที่ในการร่วมคิดเห็นเกี่ยวกับ “ทางเท้า” ประเด็นสาธารณะใกล้ตัว ที่ผู้ใช้มักขาดความผูกพันหรือมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่ง โดยหวังว่าด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมของสังคมจะนำไปสู่การรณรงค์และผลักดันให้เกิดการพัฒนา เปลี่ยนแปลงทางเท้าให้เหมาะสมแก่การใช้งานมากขึ้น รวมไปถึงการร่วมกันสร้างสรรค์เมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคนต่อไป

จุดประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อรณรงค์ให้เกิดการเดินเท้าที่ดีของชุมชนที่ปลอดภัยและสะดวกสบายโดยเฉพาะกับคนเดินถนนและกลุ่มผู้พิการ
  • เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมกันในสังคมต่อประเด็นการใช้พื้นที่สาธารณะ
  • เพื่อปรับปรุงให้เกิดทัศนียภาพและภูมิทัศน์ที่น่าเดิน น่าใช้
  • เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้ทางเท้าในเขตเมืองของไทยในปัจจุบัน

ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด

นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ สถาปนิก ศิลปิน และประชาชนทั่วไปที่อยากทำให้ทางเท้าน่าเดิน

ประเภทของภาพถ่ายในการส่งประกวด แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. ‘ความประทับใจ’
  2. ‘ความสะเทือนใจ’

เกณฑ์ในการตัดสิน

  1. ความชัดเจนของเนื้อหาภาพที่สื่อถึงความประทับใจหรือสะเทือนใจ 70%
  2. สุนทรียภาพ 30%

ขอบเขตพื้นที่ที่กำหนด

ทางเท้าโดยรอบชุมชนและย่านที่พักอาศัย ที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่สาธารณะอื่นๆ เช่น ตลาด โรงเรียน วัด สวนสาธารณะ แม่น้ำ คูคลอง ฯลฯ (ในเขตเมืองหรือนอกเมืองก็ได้) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ (ไม่รับผลงานจากต่างประเทศนะจ๊ะ)

หมายเหตุ “ทางเท้า” ในที่นี้ ต้องเป็นทางเท้าที่เกิดจากการก่อสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของถนนเพื่อสัญจรโดยการเดินหรือโดยยานพาหนะ,ไม่รวมทางเท้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ช่องทางส่งผลงานและการลงทะเบียนเข้าประกวด

ผู้สนใจส่งผลงานภาพถ่ายเข้าประกวด ต้องเข้าไปลงทะเบียนรับหมายเลขภาพที่ www.thaicyclingclub.org

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวผ่าน www.facebook.com/pages/โครงการประกวดภาพถ่าย-ทางเท้า-เล่าเรื่อง

การส่งภาพถ่ายเข้าประกวด

  1. ส่งผลงานเป็นไฟล์รูปภาพเท่านั้น (Digital file) พร้อมระบุหมายเลขลงทะเบียนที่ได้รับจากการลงทะเบียน
  2. บันทึกเป็น JPEG ด้วยความละเอียด 72 dpi(เพื่อตัดสินเบื้องต้น เมื่อผ่านการคัดเลือกจึงส่งไฟล์ขนาดใหญ่มาให้ ผู้จัดการประกวดเพื่อนำไปเพื่อ printout จัดแสดงภาพต่อไป)
  3. บรรยายประกอบภาพ “ประทับใจ” หรือ “สะเทือนใจ” อย่างไร ไม่เกิน 50 คำ รวมทั้งระบุสถานที่ทางเท้าที่ท่านถ่ายภาพมาด้วย
  4. ท่านสามารถส่งผลงานประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทั้ง 2 ประเภท (ประทับใจและสะเทือนใจ)หัวข้อละไม่เกิน 2 ภาพเท่านั้น

วันปิดรับสมัครและส่งผลงานประกวด :

15 กันยายน 2555

ผู้ส่งภาพประกวด

ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะได้รับแจ้งภายในเย็นวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2555 ว่าผ่านรอบคัดเลือกหรือไม่ ซึ่งผู้ผ่านรอบคัดเลือกต้องไปแสดงตนในเวลา 13.00 น. ณ  Lifestyle Hall ชั้น 2 สยามพารากอน เพื่อนำเสนอและอธิบายภาพแก่ผู้สนใจ และลงทะเบียนกับฝ่ายต้อนรับขององค์กรร่วมจัดงาน

ผู้ส่งภาพที่ไม่ผ่านการคัดเลือกสามารถไปร่วมงานมอบรางวัลได้ตามความสมัครใจ!!!

วันตัดสินและมอบรางวัล:

17 กันยายน 2555 ณ Lifestyle Hall ชั้น 2 สยามพารากอน

กระบวนการการตัดสินรางวัลมี 2 ขั้นตอน ได้แก่

1.      การคัดเลือก: ผู้แทนจากองค์กรร่วมจัด 7 องค์กร คัดเลือกภาพจากทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดโดยให้คะแนน 1 ถึง 3 โดยใช้เกณฑ์ 70 : 30 ดังที่ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ และแต่ละท่านคัดเลือกมา 10 ภาพ เพื่อนำส่งฝ่ายเลขานุการ ซึ่งจะเป็นผู้ที่รวบรวมคะแนนและวิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ยเพื่อจัดลำดับ และคัดภาพมาไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนภาพทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดแต่ไม่น้อยกว่า 20 ภาพในแต่ละประเภท เพื่อนำส่งกรรมการตัดสิน

2.      กรรมการตัดสิน: เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ทั้งจากสถาบันการศึกษาและองค์กรเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ กรรมการตัดสินจะใช้เกณฑ์ 70 : 30 เพื่อให้คะแนน 1 ถึง 3 สำหรับทุกภาพที่ผ่านการคัดเลือก จากนั้นเลขานุการนำคะแนนดิบไปวิเคราะห์และจัดเรียงลำดับตามคะแนนที่ได้ เพื่อมอบให้กรรมการตัดสินอภิปรายและพิจารณา รวมทั้งร่วมกันตัดสิน ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นสิ้นสุด

เงินรางวัล รวม ห้าหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน (รวม 54,000)

ประเภท “ความประทับใจ”

ชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล = 10,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 1 รางวัล = 5,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 2 รางวัล = 3,000 บาท

รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล = 2,000 บาท

ประเภท “ความสะเทือนใจ”

ชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล = 10,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 1 รางวัล = 5,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 2 รางวัล = 3,000 บาท

รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล = 2,000 บาท

หมายเหตุ :
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นการสิ้นสุด
  • ผู้ที่ส่งภาพประกวดจะต้องถ่ายภาพด้วยตนเอง ห้ามนำผลงานผู้อื่นมาส่งประกวด
  • สามารถ ปรับสี ตกแต่งแก้ไขในด้านเทคนิคได้เพื่อให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้น แต่ทั้งนี้ภาพจะต้องดูเป็นธรรมชาติเหมือนภาพถ่ายปกติ ไม่ตกแต่งผิดไปจากความเป็นจริง และต้องไม่ใช่การตัดต่อภาพ
  • ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดยินยอมให้รูปเป็นลิขสิทธิ์ร่วมของผู้จัดงาน ผู้จัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะได้ต่อไปโดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงาน
  • ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน

Comments

comments

Check Also

Experts helped municipalities to be more walking and cycling friendly

Leave a Reply

Your email address will not be published.