มี การศึกษามากมายที่ยืนยันว่าการมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity)เป็นประจำสม่ำเสมอลดโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ อย่างน้อยถึง19ชนิด นอกจากนั้นยังมีผลดีต่อจิตใจด้วย ล่าสุดก็มีรายงานการวิจัยของ ดร.ชารอน โทเกอร์ และคณะ ที่มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล (Toker, Sharon & Biron, Michal. Job burnout and depression: Unraveling their temporal relationship and considering the role of physical activity. Journal of Applied Psychology, Vol 97(3), May 2012, 699-710. )ออกมาเสริมกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยชี้ให้เห็นว่า ลูกจ้างที่มีกิจกรรมทางกายจะมีความสุขกับการทำงานและมีสุขภาพจิตดีกว่า ลูกจ้างที่ไม่มีกิจกรรมทางกาย
การวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลากว่าเก้าปีศึกษาผู้ใหญ่ 1,632คนและเปิดเผยให้เห็นว่า ยิ่ง ลูกจ้างมีกิจกรรมทางกายประจำวันมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสน้อยลงมากตามไป เท่านั้นที่จะมีรู้สึกหมดพลังในการทำงานหรือมีอาการเครียดซึ่งนำไปสู่การขาด งาน โดยคนที่กิจกรรมทางกายสี่ชั่วโมงขึ้น จะแทบไม่มีสภาพเช่นนั้นเลย
ดร.แร นดี้ ซิวนิคกิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรปชี้ว่า นี่เป็นข่าวดีของนายจ้าง เพราะพวกเขาจะมีสูตรในการลดการขาดงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเพิ่มพลังการผลิตของลูกจ้างและบริษัท เพิ่มมาอีกสูตรหนึ่ง โดยที่แน่นอนว่า การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการขี่จักรยานไปทำงาน ก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางกายที่งานวิจัยชิ้นนี้หมายถึงต้องทำมากกว่าการขี่จักรยานช้าๆ สบายๆ ถ้าจะให้การขี่จักรยานมีผลดีต่อสุขภาพจิตและผลิตภาพในการทำงาน ลูกจ้างคนนั้นๆจะต้องขี่จักรยานให้การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจหนักขึ้นกว่าปกติ อาจต้องถึงขั้นเหงื่อออกด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับการขี่จักรยานในเมืองไทยบ้านเรา แต่ในประเทศเมืองหนาวในทวีปยุโรปหรืออเมริกาก็ต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น บ้าง ยิ่งหัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจหนักขึ้น และเหงื่อออกมากขึ้น ผลก็จะดีมากขึ้นไปเรื่อย
เหตุผลที่เพิ่มขึ้นนี้พอจะให้คุณๆ ตัดสินใจขี่จักรยานไปทำงาน และนายจ้างทั้งหลายจะส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกจ้างทั้งหลายในบริษัทของคุณขี่ จักรยานมาทำงาน หรือยังครับ
มี การศึกษามากมายที่ยืนยันว่าการมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity)เป็นประจำสม่ำเสมอลดโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ อย่างน้อยถึง19ชนิด นอกจากนั้นยังมีผลดีต่อจิตใจด้วย ล่าสุดก็มีรายงานการวิจัยของ ดร.ชารอน โทเกอร์ และคณะ ที่มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล (Toker, Sharon & Biron, Michal. Job burnout and depression: Unraveling their temporal relationship and considering the role of physical activity. Journal of Applied Psychology, Vol 97(3), May 2012, 699-710. )ออกมาเสริมกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยชี้ให้เห็นว่า ลูกจ้างที่มีกิจกรรมทางกายจะมีความสุขกับการทำงานและมีสุขภาพจิตดีกว่า ลูกจ้างที่ไม่มีกิจกรรมทางกาย
การวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลากว่าเก้าปีศึกษาผู้ใหญ่ 1,632คนและเปิดเผยให้เห็นว่า ยิ่ง ลูกจ้างมีกิจกรรมทางกายประจำวันมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสน้อยลงมากตามไป เท่านั้นที่จะมีรู้สึกหมดพลังในการทำงานหรือมีอาการเครียดซึ่งนำไปสู่การขาด งาน โดยคนที่กิจกรรมทางกายสี่ชั่วโมงขึ้น จะแทบไม่มีสภาพเช่นนั้นเลย
ดร.แร นดี้ ซิวนิคกิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรปชี้ว่า นี่เป็นข่าวดีของนายจ้าง เพราะพวกเขาจะมีสูตรในการลดการขาดงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเพิ่มพลังการผลิตของลูกจ้างและบริษัท เพิ่มมาอีกสูตรหนึ่ง โดยที่แน่นอนว่า การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการขี่จักรยานไปทำงาน ก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางกายที่งานวิจัยชิ้นนี้หมายถึงต้องทำมากกว่าการขี่จักรยานช้าๆ สบายๆ ถ้าจะให้การขี่จักรยานมีผลดีต่อสุขภาพจิตและผลิตภาพในการทำงาน ลูกจ้างคนนั้นๆจะต้องขี่จักรยานให้การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจหนักขึ้นกว่าปกติ อาจต้องถึงขั้นเหงื่อออกด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับการขี่จักรยานในเมืองไทยบ้านเรา แต่ในประเทศเมืองหนาวในทวีปยุโรปหรืออเมริกาก็ต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น บ้าง ยิ่งหัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจหนักขึ้น และเหงื่อออกมากขึ้น ผลก็จะดีมากขึ้นไปเรื่อย
เหตุผลที่เพิ่มขึ้นนี้พอจะให้คุณๆ ตัดสินใจขี่จักรยานไปทำงาน และนายจ้างทั้งหลายจะส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกจ้างทั้งหลายในบริษัทของคุณขี่ จักรยานมาทำงาน หรือยังครับ
กวิน ชุติมา เรียบเรียง
จาก Burning Calories By Bike Avoids Burn-out At Work
เขียนโดย Dr.Randy Rzewnicki
เจ้าหน้าที่นโยบายสุขภาพและผู้จัดการโครงการ Cycle Logistics
ของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (ECF) ใน ECF Newsletter, 23 August 2012