Home / News and Events / News / ความคืบหน้าของ “พันธมิตรการจักรยานโลก”

ความคืบหน้าของ “พันธมิตรการจักรยานโลก”

ความคืบหน้าของ “พันธมิตรการจักรยานโลก”

กรรมการ WCA ขณะร่วมประชุมที่ไทเป , 2 มีนาคม 2559

การประชุมกรรมการกำกับทิศ หรือ Steering Committee ของ WCA หรือ World Cycling Alliance หรือชื่อในภาษาไทยว่า “พันธมิตรการจักรยานโลก”* ได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 ที่กรุงไทเป หลังจากการประชุมเมืองจักรยาน Velo-City Global Taipei 2016 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติไทเป (Taipei International Convention Center) และประสบความสำเร็จสูงสุดสำหรับกลุ่มการประชุม Velo –Cityที่จัดให้มีขึ้นนอกภาคพื้นยุโรป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมพันกว่าคน มีชาวต่างชาติ 400 กว่าคน

 

เจ้าหน้าที่อาวุโสของ OECD บรรยายสถานการณ์โลก

ลจากการประชุม ที่มีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมฯ ได้เข้าประชุมด้วย ในฐานะกรรมการก่อตั้งและกรรมการกำกับทิศ  WCA  สรุปได้ดังนี้

1. WCA  ควรเร่งพิจารณาจดทะเบียนให้เป็นองค์กรทางกฎหมายเพื่อที่จะสามารถระดมทุนเป็นทางการจากหน่วยงานหรือองค์กรนานาชาติได้ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) , องค์กรด้านที่อยู่อาศัย (HABITAT) , ธนาคารโลก (World Bank) ,กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก(Global Environmental Fund) เป็นต้น

2. WCA อาจพิจารณาการระดมทุนแบบ Crowd Funding คือ ระดมทุนจากมวลชนโดยการสื่อสารกับสังคมผ่านอินเตอร์เน็ต

——————————————————–

* คำว่า “การจักรยาน” หมายถึง การอะไรต่างๆที่เกี่ยวกับจักรยาน  ไม่ว่าจะเป็นตัวจักรยาน ทางจักรยาน ระบบจักรยาน การผลิต การท่องเที่ยว การออกแบบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย รูปแบบการใช้จักรยาน งบประมาณ นโยบายและแผน การมีส่วนร่วมด้านจักรยาน ฯลฯ 

3.  WCA จะจัดให้มี“วันจักรยานโลก World Bicycle Dayโดยจะนำเรื่องเข้าขออนุมัติจากองค์การสหประชาชาติ(United Nations, UN)  เพื่อให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางก่อนที่จะประกาศเป็นทางการต่อไป ที่ประชุมกรรมการกำกับทิศ WCA เห็นว่า สิ่งนี้จะทำให้  WCA  เป็นที่รู้จักมากขึ้น มีการยอมรับมากขึ้น อันจะทำให้การระดมหรือขอทุนระดับโลกต่อไป ทำได้ง่ายขึ้น 

หมายเหตุ :     (1) แนวความคิดนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ
ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมฯได้เป็นผู้เสนอเป็นครั้งแรกเมื่อมีการประชุมกรรมการกำกับทิศ
WCA ที่กรุง Adelaide ประเทศ Australia เมื่อปี ค.ศ 2014 หรือสองปีก่อนหน้านี้

                     (2) การทำงานในระดับองค์กรนานาชาติ เช่น WCA มีขีดจำกัดค่อนข้างมากในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยติดที่ไม่สามารถประชุมร่วมกันได้บ่อยและถี่พอ สิ่งนี้เป็นขีดจำกัดในการทำงานระดับนานาชาติ หรือภูมิภาคมาก ดังจะเห็นได้ว่าเออีซี Asian Economic Community ประชุมมากว่า 30 ปี จึงจะก่อกำเนิดได้ 

                               

กรรมการ WCA ถกกันในบทบาทของ WCA ในเวทีโลก ในอนาคต

กรรมการและเจ้าหน้าที่ WCA ถ่ายภาพร่วมกันหลังการประชุม

4. WCA แม้จะต้องการส่งเสริมจักรยานไฟฟ้า แต่ก็ยัง“ไม่มี”จุดยืนที่ชัดเจน เพราะมีข้อโต้แย้งมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 1) การชาร์จแบตเตอรี่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งไปเพิ่มความต้องการการใช้ไฟฟ้า 2) ทำให้อาจมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา 3) แบตเตอรีทำจากวัตถุอันตราย และอาจเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต 4) นิยามของจักรยานไฟฟ้าแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค บางที่หมายถึงจักรยานสกูตเตอร์ ซึ่งไม่มีบันไดปั่น เป็น electric bike ในขณะที่บางที่หมายถึงจักรยานที่ปั่นได้และใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ก็ได้ คือเป็น E-Bike 5) การใช้จักรยานไฟฟ้าทำให้คนหันมาใช้มากขึ้นก็จริง แต่จะออกกำลังน้อยลง ทำให้ประโยชน์ด้านสุขภาพลดลง อันทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น

หมายเหตุ :       (1) กรรมการส่วนใหญ่ (ซึ่งมีความเข้าใจบริบทและมิติด้านสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก) เห็นด้วยกับการที่จะส่งเสริมจักรยานไฟฟ้า

                     (2) ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ เป็นผู้เสนอความเห็นแย้งและชี้ให้เห็นถึงข้อเสียของจักรยานไฟฟ้าที่มีผลกระทบในอนาคตได้

                     (3) อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย ก็มิได้แสดงความเห็นว่า ไม่ยอมรับจักรยานไฟฟ้าเพราะประโยชน์ของจักรยานไฟฟ้ามีมากเช่นกัน เช่น ไปได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีเนินเขา ขนของได้มากขึ้นหนักขึ้น ไม่มีเสียงรบกวนเมื่อเทียบกับจักรยานยนต์  ฯลฯ 

 

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

Leave a Reply

Your email address will not be published.