อาจารย์คะ อาจารย์ ดูสิ เขาทำอย่างนี้กับเราได้อย่างไร”สมาชิกชมรมฯผู้หนึ่งถามมาเมื่อเจอะเจอกันหลังจากที่ผมเพิ่งเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกาเร็วๆนี้
“ใครครับ และเขาทำอะไรเราครับ”ผมไม่เข้าใจ ยังจับประเด็นไม่ได้
“ก็ตอนที่อาจารย์ไม่อยู่น่ะสิ อาจารย์ได้มอบหมายให้อาตุ๋ย(วิวัฒน์ สงสะเสน)เป็นประธานจัดงานค่ายจักรยานเยาวชนในสวนรถไฟ งานวันนั้นออกมาดีมากเลย มีเด็กๆตัวเล็กๆมาร่วมเยอะแยะ กรรมการและผึ้งงานก็มาช่วยงานกันตั้งหลายคน ทุกคนสนุกสนานมาก สื่อมวลชนและทีวีก็มาทำข่าวกัน”
“แล้วมันไม่ดีตรงไหนล่ะครับ”ผมยังไม่เข้าใจอยู่ดี
“ก็พอเห็นว่าไอเดียของเราดี ประชาชนชอบ หน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งเขาก็เลยเอาโครงการนี้ไปทำเอง และทำต่อเป็นประจำทุกๆอาทิตย์เลยน่ะสิคะ อย่างนี้เราก็แย่สิ”
ไม่แย่หรอกครับ โครงการอะไรที่พวกเราช่วยกันคิดช่วยกันทำ แล้วผลงานออกมาดี มีคนชอบใจ เอาไปทำต่อ ถ้าโครงการนั้นดีต่อสังคมโดยรวม มันก็ดีต่อประเทศชาติของเราแน่ๆ ความจริงแล้วเราน่าจะภูมิใจด้วยซ้ำว่าความคิดของเราดี เฉียบแหลม ก้าวหน้า รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมไปในตัวด้วย
วันผลิตออกซิเจนถวายพระราชินี(ด้วยจักรยาน)
มีคุณหญิงชดช้อย โสภณพานิช และผู้ว่าฯกทม. ศ กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา มาร่วมงาน (16 ส.ค.35) |
พาสมาชิกไปขี่เที่ยวบนทางด่วนก่อนเปิดใช้ (8 ส.ค.36) | ทริปรีไซเคิลจักรยานครั้งแรก(หมู่บ้านเด็กรักป่า สุรินทร์ 2-3 พ.ค.41) |
เรื่องลอกเลียนไอเดียแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างโครงการชมรมฯพาสมาชิกไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างสถานที่ หรือโครงการทริปวันเดียวแบบ “คกคจ.”(ใครกินใครจ่าย)หรือโครงการเอาสิ่งของไปบริจาคให้เด็ก ๆ ยากจน หรือโครงการรีไซเคิลจักรยาน หรือโครงการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือโครงการชักชวนให้อนุรักษ์พลังงาน หรือโครงการขี่จักรยานต่อต้านยาเสพติด หรือโครงการขี่จักรยานเที่ยวกรุงเทพฯยามค่ำคืน หรือโครงการขี่จักรยานท่องเที่ยวกรุงรัตนโกสินทร์ หรือโครงการพาสมาชิกใหม่(เอี่ยม)เที่ยว หรือโครงการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน(จักรยาน+ ดำน้ำ+เดินป่า +ดูนก) หรือโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ด้วยจักรยาน หรือโครงการท่องเที่ยวระยะไกล‘ใจถึงใจ’ด้วยจักรยาน(หลายร้อยกิโลเมตร) หรือโครงการเที่ยวข้ามประเทศ หรือโครงการจักรยานซำเหมา(ผู้ร่วมทริปต้องแบกสัมภาระเองและนอนตามวัดตามโรงเรียนหรือตามอุทยานฯ) หรือโครงการทอดผ้าป่าด้วยจักรยาน หรือโครงการใช้จักยานรณรงค์ลดมลพิษ หรือโครงการจักรยานคนแก่ หรือโครงการรณรงค์ให้คนหันมาใช้จักรยานในเมือง หรือโครงการเรียกร้องทางจักรยาน ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรอีกที่ชมรมฯได้ริเริ่มขึ้นมาก็ได้มีคนนำแนวทางความคิดต่างๆ นี้ไปทำต่อ บางคนก็เอาไปใช้ตรงๆเลย บางคนก็ดัดแปลงบ้างนิดหน่อยก่อนเอาไปใช้
วันรณรงค์ “ปอดคุณ ปลอดฝุ่น” (16 พ.ย. 40) | ทริปครั้งแรกของชมรมฯ (จตุจักร-บ้านสวน อ.ธงชัย รังสิต,9 พ.ย. 34 ) | บรรยากาศการท่องเที่ยวด้วยจักรยานสมัยก่อน (โปรดสังเกตเครื่องแต่งกาย, พ.ศ. 2534) |
เอาไปใช้เถอะครับ ขอให้เอาไปใช้ด้วย เอาไปใช้ให้เยอะๆเลย เพราะสิ่งที่ชมรมฯทำอยู่นั้นเราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติของเรา ถ้ามีคนเห็นดีเห็นงามและเอาไปขยายผลจนมีผลกระทบต่อประเทศชาติจริง ๆ
ผมและสมาชิกทุกคนจะดีใจมาก และภูมิใจด้วย
หมายเหตุ: 1) รูปภาพกิจกรรมต่างๆที่ลงมาให้ดูนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างให้กลุ่มหรือชมรมใดที่อยากทำกิจกรรมเพื่อสังคม สามารถนำไปเป็นกรณีศึกษาได้
2) กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ ไม่ได้ทำโดยคนเดียวหรือในนามบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ผลงานที่สั่งสมมาจากการทำงานของกลุ่มคนมากมายทั้งเก่าและใหม่
พาสมาชิกไปเยี่ยมชมวนเกษตรของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม (12 ก.พ.37) | พาสมาชิกไปหุบเขาท่าด่าน ก่อนการสร้างเขื่อนท่าด่านปราการชล ปัจจุบันบริเวณนี้น้ำท่วมหมดแล้ว (ราวปี 37) | การรณรงค์ครั้งที่ 2 (พ.ย. 34 ) |
การพาสมาชิกไปขี่จักรยานเที่ยวต่างประเทศ (บาร์เซโลนา, สเปน ก.ย. 40) | การเรียกร้องขอให้ลบขอบทางเท้า เพื่อความสะดวกของคนเดินท้า คนพิการ คนชรา และจักรยาน (มิ.ย. 39) | การขี่จักรยานเพื่อการยุติกับระเบิด(พร้อมคนพิการขาขาดที่เกิดจากการเหยียบกับระเบิด , 25 เม.ย.42) |
(รายละเอียดของบทความ “ลอกเลียน”หนังสือเล่ม 1 ในชุด 4 เล่ม http://www.thaicyclingclub.org/wp-content/uploads/files/lkeliiyn.pdf)