Home / Articles / “บาทวิถี” วิถีบริโภคและวิถีชีวิต

“บาทวิถี” วิถีบริโภคและวิถีชีวิต

“บาทวิถี” วิถีบริโภคและวิถีชีวิต
              บาทวิถีหรือทางเท้า เป็นทางที่สร้างขึ้นบริเวณข้างถนน สำหรับใช้เท้าเพื่อการสัญจรของประชาชน นอกเหนือจากเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเดินทางแล้ว ทางเดินเท้ายังช่วยให้ผู้เดินเท้าข้างถนนเกิดความปลอดภัยจากรถยนต์ที่แล่นไปมาบนท้องถนนด้วย เพราะการปลูกสร้างได้แยกส่วนจากพื้นผิวถนนอย่างชัดเจนรวมทั้งมีการยกระดับสูงขึ้นจากพื้นถนนมากพอสมควร ทางเท้าจึงเป็นทางสาธารณะ ที่เอื้ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้เดินสัญจรไปมาริมถนน

              แต่ทุกวันนี้ บทบาทของบาทถิวีหรือทางเท้าได้แปรเปลี่ยนไปแล้ว ทางเท้าสำหรับการเดินสัญจรไปมาของประชาชนในถนนแทบทุกสาย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แทบจะไม่เหลือให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาอีกต่อไป

              ด้วยเหตุว่า ทางเท้าได้แปรเปลี่ยนเป็นแหล่งค้าอาหาร และขายสินค้าอุปโภคบิรโภคต่างๆ มากมาย แทบไม่เหลือพื้นที่ให้ประชาชนใช้ในการสัญจรเลย สองฝั่งฟากถนนหลายสายเต็มไปด้วยหาบเร่แผงลอย และรถเข็น มีทั้งอาหารเครื่องดื่มและสินค้าอื่นๆ มากมายวางขายกันเต็มบริเวณบาทวิถีหรือทางเท้ากันเนืองแน่น บางร้านยังมีการขายสินค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายอีกด้วย เช่น การขายบุหรี่ เหล้า เบียร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการหรือเป็นการขายที่ผิดกฎหมาย เช่น กรณีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้รถเข็นหาบเร่หรือแผงลอยอันเป็นการเร่ขายซึ่งเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ เป็นต้น

                 ส่วนกรณีการขายของบริเวณทางเท้าโดยหลักทั่วไปก็เป็นการกีดขวางการจราจร และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 อยู่แล้ว แต่ด้วยกระแสกดดันจากหลายด้านรวมไปถึงด้านการเมืองด้วยทำให้รัฐต้องแก้ปัญหาด้วยการผ่อนผันให้มีการค้าขายบนทางเท้ากันต่อไป

 เช่นเดียวกัน วิถีบริโภคของประชาชนจำนวนไม่น้อยก้ปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน

                 บาทวิถีที่เคยใช้ในการเดินเท้าก็กลายเป็นตลาดจับจ่ายซื้ออาหาร ซื้อสินค้าของบรรดาแม่บ้านหรือประชาชนบางกลุ่มที่นิยมของถูกและสะดวก รวมทั้งกลายเป็นแหล่งบริโภคหรือเป็นโรงอาหารกลางแจ้งของหลายๆ คน ทั้งวัยรุ่ย นักศึกษา คนทำงาน หรือกลุ่มครอบครัว ไม่เว้นแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นานวันเข้าการค้าขายบนทางเท้า และวิถีบริโภคบนทางเท้าที่ได้กระทำทำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานภายใต้การผ่อนปรนของภาครัฐ ในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไปเสียแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่่งผู้คนในกรุงเทพมหานคร ที่การไปหาของกินหรือซื้อสินค้าบนทางเท้าริมถนนในย่านต่างๆ อาทิ ย่านเยาวราช สีลม รัชดาภิเษกเหล่านี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนเมืองกรุงจำนวนมากทีเดียว

ดังภาพบริเวณริมถนนชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ยามเย็นจนกระทั่งดึกดื่น ทางเท้าสองฟากถนนสายนี้เต็มไปด้วยหาบเร่ แผงลอย รถเข็นขายอาหารนานาชนิด จนล้นอกกมาบนถนนในช่องทางเดินรถอีกหรึ่งช่องจราจร โต๊ะเก้าอี้สำหรับลูกค้านั่งรับประทานอาหาร ตั้งวางบนพื้นผิวถนนอีกหนึ่งช่องจราจร ซ้ำยังมีรถเข้นรายย่อยๆ จอดขายของซ้อนขึ้นมาอีก ผู้คนจำต้องสัญจรเดินเท้าต้องไปใช้ถนนอีกช่องหนึ่งซึ่งล้ำเข้าไปในทางเดินรถอีกช่องทางหนึ่ง

               ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบาทวิถีหรือทางเท้าที่มีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนผู้เดินสัญจรไปมาด้วยความสะดวก และมีความปลอดภัยจากรถที่แล่นไปมา ในวิถีชีวิตที่เป็นอยู่กลับมิได้เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว ประชาชนที่เดินเท้าต้องลงไปเดินสัญจรในช่องทางการเดินรถช่องที่สองจากขอบถนน เพราะทางเท้าและช่องทางเดินรถช่องแรก ถูกจับจองด้วยแผงลอย ร้านค้า และผู้คนที่นั่งรับประทานอาหารไปหมดแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ความปลอดภัยของประชาชนผู้เดินเท้าอยู่ตรงไหน?

ในขณะที่รัฐและองค์กรต่างๆ ได้มีการรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนใช้จักรยานเพื่อประหยัดพลังงานลดโลกร้อน และการออกกำลังกายกันอย่างกว้างขวาง มีการจัดช่องทางเดินรถสำหรับจักรยานโดยเฉพาะมีการจัดระเบียบเพื่อให้ผู้ขับขี่จักรยานได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

                และผู้เดินเท้าละครับ! ทำไมไม่ให้ความสนใจดูแลความปลอดภัยบ้าง การเดินเท้าก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีประเภทหนึ่ง ประหยัดพลังงาน ช่วยลดโลกร้อนเช่นกัน ทั้งประหยัดเงินได้อีกเพราะไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์ทั้งหลายที่มีราคาแพง แถมยังได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยหากเดินไปด้วยกัน พูดคุยระหว่างการเดิน

                จึงขอวิงวอนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

                คืนทางเท้า คืนความปลอดภัยให้ประชาชนคนเดินดิน…ด้วยเถิดครับ!!

ผศ.ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

Comments

comments

Check Also

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

Leave a Reply

Your email address will not be published.