วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2559 กรุงเทพมหานคร โดยสำนักผังเมืองได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมในการเอาประเด็นผังเมืองมาส่งเสริมการพัฒนากรุงเทพชั้นในและชั้นกลาง ซึ่งเราก็มีตัวแทนเข้าไปร่วมให้ความคิดเห็นด้วยมาในหลายครั้ง มีข้อสรุปในส่วนที่เกี่ยวกับพวกเราและทำให้พวกเรายินดีโห่ร้องด้วยความยินดีได้เยอะทีเดียวค่ะ มาเล่าสู่กันฟังสั้นๆ ดังนี้นะคะ ข้อแรกเลย เขาสรุปว่า “ส่งเสริมการสัญจรรอบสถานีรถไฟฟ้า และส่งเสริมการเดินและใช้รถจักรยานให้มากขึ้น” นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่เขาเอาเรื่องนี้ไปใส่ในมาตรฐานทางผังเมืองอย่างชัดๆ ไม่ใช่พูดลอยๆ อย่างที่เคยทำมา….แบบนี้ก็ต้องไชโยสิคะ ใช่มั้ยละคะ ส่งเสริมให้เขตชั้นในและเขตชั้นกลางของกรุงเทพฯ เช่นแถวสีลม สนามหลวง เยาวราช บางซื่อ ดินแดง บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ฯลฯ เป็น ‘เมืองกระชับ’ หรือ compact city ซึ่งเมืองกระชับแบบนี้จะเหมาะแก่การเดินและการใช้จักรยานอย่างมาก เพราะการเดินทางจะสั้นๆ ไม่ไกลเกินไป ซึ่งนี่ก็จะเป็นโอกาสของพวกเราในการผลักดันขับเคลื่อนให้เรื่องเดินละจักรยานในวิถีชีวิตประจำวันไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายและเร็วขึ้น…..ต้องขอไชโยอีกทีละค่ะ “ควรสงวนและรักษาทางเท้า เพื่อลดปัญหาการจราจรจากการซื้อของ’ นี่ก็คงหมายถึงมีหาบเร่แผงลอยบนทางเท้ามากจนเดินไม่ได้ ต้องไปเดินบนถนนจึงเป็นปัญหาของคนเดินเท้ารวมทั้งคนขับรถ และนี่ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่ปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังละเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เราเดินและขี่จักรยานได้ง่ายขึ้นและปลอดภัยขึ้น….ได้มาอย่างนี้ก็ร่วมกันไชโยอีกสิคะ ‘ทำแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น เมืองผู้สูงอายุ เมืองภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น’ ตรงนี้ชัดเจนว่าเมืองเราจะเป็นเมืองที่มี ‘คนแก่’ มากขึ้นๆและคนแก่นี่แหละที่เดินได้ไม่คล่องตัวเท่าคนหนุ่มสาว ซึ่งคน ‘ไม่แก่’ รู้กันไหมว่า คนแก่ก้าวเดินขึ้นลงที่ขอบทางเท้าสูงๆ ไม่ค่อยได้ ถ้าเราไม่ทำให้เมืองเราเดินได้ง่ายขึ้น คนแก่จะออกจากบ้านไม่ได้ และกลายเป็นคนพิการไปโดยปริยาย สำหรับเรื่องเมืองภัยพิบัติ ตรงนี้มีหลักฐานชัดเจนว่า ตอนเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ ตึกถล่ม ไฟฟ้าดับ ปั๊มน้ำมันใช้งานไม่ได้ ถนนพัง ทำให้รถยนต์วิ่งไม่ได้ จะมีก็แต่จักรยานนี่แหละที่ขี่ไปมาได้ ตรงไหนขี่ลำบากก็ยังจูงไปต่อได้ ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี่ชัดเจนว่า การเดินและการใช้จักรยานไม่ปล่อยมลพิษ จึงไม่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนไป โลกก็จะไม่ร้อน ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาลก็จะไม่เกิดขึ้น เรื่องเดินและจักรยานจึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากถึงมากที่สุดทีเดียว ขอแถมนิดนึงว่า การผลักดันให้มีการสร้างทางจักรยานหรือทางเท้า ในเมืองนี่เป็นเรื่องดี ดีมากด้วย แต่ถ้าเราไม่ผลักดันแบบเป็นถนนทีละสาย …
Read More »รถติด…..ราคาแพง โดย เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2559
ในที่สุดกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราก็ได้รับตำแหน่งเมืองรถติดอันดับ 1 ความจริงแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราก็ติดอันดับต้นๆ มาตลอด ไม่ใช่ว่าไม่มีใครคิดจะทำอะไร หลายหน่วยงาน หลายคน หลายองค์กร ต่างก็พยายามหาทางลดปัญหานี้กันมาหลายรอบแล้ว แต่จำนวนครั้งที่ล้มเหลวกับจำนวนครั้งที่พยายามก็เท่ากันมาตลอด จนหลายคนเริ่มคิดว่า ปัญหานี้คงไม่มีทางแก้ได้ เวลาเราพูดถึงรถติดจะมีการพูดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจคู่กันไปด้วยเสมอ ทั้งจากการสิ้นเปลืองพลังงาน ความล่าช้าในการไปทำงาน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน นอกจากนี้เวลาที่เสียไปยังส่งผลต่อเวลาที่จะใช้กับครอบครัวอีกด้วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เห็นถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าสูงแค่ไหน ผมลองไปดูงานวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากปัญหาจราจร โดยเลือกเฉพาะงานที่ระบุมูลค่าเป็นสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อใช้ในการประมาณค่าโดยคร่าวๆ ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครจะมีมากแค่ไหน ต้องขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า การเอาตัวเลขของประเทศอื่นมาใช้คงไม่สามารถให้ค่าที่แม่นยำได้ แต่อย่างน้อยก็พอช่วยให้เรามองเห็นขอบเขตของความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนขึ้นว่าความเสียหายคิดเป็นกี่บาท จากการไปดูงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ตัวเลขความเสียหายส่วนใหญ่มีความต่างกันพอสมควร ผมเลยเลือกประเทศมา 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นประเทศที่มีผลกระทบต่ำ เพราะมีระบบขนส่งมวลชนดีอยู่แล้ว และมีความหนาแน่นต่อประชากรต่อพื้นที่ต่ำ เพื่อให้ประมาณการผลกระทบขั้นต่ำ อีกกลุ่มเป็นประเทศที่ใช้ในการประมาณการผลกระทบขั้นสูง จากตารางที่นำเสนอจะเห็นว่าผลกระทบขั้นต่ำอยู่ระหว่าง 0.2% ถึง 0.8% ส่วนผลกระทบขั้นสูงอยู่ระหว่าง 1.6% ถึง 3.5% ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี 2557 มูลค่าตลาดในปัจจุบันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครที่วัดโดยผลิตภัณฑ์ภาค (Gross Provincial Productหรือ GPP) มีมูลค่า 4,128,733.97 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ถ้าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนเท่ากับที่เกิดขึ้นในฟินแลนด์ (0.8%) มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจะเท่ากับ 4,128,733.97 คูณ 0.8% เท่ากับ 34,268.5 ล้านบาทต่อปี เราใช้วิธีนี้คิดมูลค่าความเสียหายโดยใช้ตัวเลขของทุกประเทศในตาราง ก็จะได้ค่าออกมาตามที่แสดงไว้ เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยจะพบว่ามูลค่าความเสียหายต่อปีอยู่ระหว่าง 29,396.60 ถึง 89,263.20 ล้านบาท ถ้าคิดมูลค่าต่อวัน ก็เอา 365 มาหาร จะได้ระหว่าง 80.5 ถึง 244.6 ล้านบาทต่อวัน หากมีคำถามว่า 365 บาทรวมวันหยุดเข้าไปด้วยจะเหมาะหรือเปล่า ก็ต้องขอบอกว่า สำหรับกรุงเทพมหานครของเรา วันหยุดหรือวันธรรมดา รถก็ติดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว การใช้ตัวเลขจำนวนวันทั้งปีจึงไม่น่าจะกระทบกับผลที่ออกมามากนัก เห็นตัวเลขแล้วก็น่าตกใจนะครับ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าใกล้เคียงกับ GPP ของจังหวัดเชียงราย และมีมูลค่าเกือบ 4 เท่าของ GPP ของจังหวัดอ่างทอง คิดกันเล่นๆ คือ แต่ละปีเราเผาเงินที่จังหวัดเชียงรายสร้างทิ้งไปทั้งหมด …
Read More »วารสารแจกฟรีส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน คลอโรฟิลล์ ฉบับที่ 13 (Chlorophyll V.13) ผู้สนใจสามามรถดาวน์โหลดไปอ่านได้ฟรีครับ
เมื่อคนใช้จักรยานในชีวิตประจำวันคือหน่วยย่อยที่สุดของเมืองจักรยาน ดังนั้นชุมชนที่เป็นมิตรต่อจักรยานจึงเป็นจิ๊กซอว์แรกที่สำคัญที่สุดต่อจากคน ชุมชนที่เอื้อให้ผู้คนในชุมชนออกมาใช้จักรยานได้อย่างปลอดภัยจะทำ ให้มีคนใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น Chlorophyll Vol.13 Lucky Number !!! เล่มนี้เราจึงได้นำเสนอพลังของ “ผู้คนและชุมชน” ที่ทำให้เกิด “เมืองและชุมชนที่เป็นมิตรต่อจักรยาน” เรื่องที่น่าสนใจในเล่มนี้ หน้า 7 พลังชุมชนขับเคลื่อนเมือง และชุมชนจักรยาน หน้า 11 อิ่มบุญกับผ้าป่าเพื่อหมาแมว เส้นทางปั่นกรุงเทพ-ลำปาง หน้า 16 ดงกลาง ต้นแบบชุมชนจักรยาน ตามอ่านได้ทั้งเล่ม ตาม link นี้นะคะ 🙂
Read More »ถนนคนเดิน ลอนดอน
ถนนคนเดิน ลอนดอน หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ หน้า 2 ‘เสาร์สวัสดี’ 13 ส.ค. 59 คอลัมน์ : Earth tone เรื่อง : อะตอม ภาพ : Nick Savage /Alamy ที่มา : เวปไซด์ เดอะการ์เดียน ถนนอ๊อกฟอร์ด สตรีท ซึ่งเป็นย่านชอปปิงหลักใจกลางนครลอนดอนประเทศอังกฤษ กำลังจะกลายเป็นถนนคนเดินภายในปี 2020 สำนักนายกเทศมนตรีนครลอนดอนเพิ่งมีการประกาศแผนการดังกล่าวออกมาโดยมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ขั้นตอน เพื่อป้องกันปัญหาความโกลาหลที่จะเกิดขึ้นบนถนนที่มีความยาว 1.2 ไมล์ แหล่งชอปปิงกลางกรุงลอนดอนแห่งนี้เป็นย่านที่คึกคักที่สุดในเมืองหลวง โดยมีคนเดินมากกว่า 4 ล้านคนต่อสัปดาห์ วาเลอรี่ ชอว์ครอสส์ รองนายกเทศมนตรีนครลอนดอนด้านการขนส่งและคมนาคมบอกว่า แผนการดังกล่าว ก็คือ การห้ามรถทุกคันที่วิ่งมาจากถนน ท็อตแนม คอร์ท ไปจนถึงห้างดังชื่อ Selfridges และทางเข้าสถานีรถไฟใต้ดิน บอนด์ สตรีทเข้ามาวิ่งบน อ๊อกฟอร์ด สตรีท ในระยะแรก จะห้ามรถวิ่งเข้ามาบนถนนฝั่งตะวันออกตั้งแต่อ๊อกฟอร์ด เซอร์คัส เป็นต้นไป แผนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำสัญญาของ ซาดิค ข่าน นายกเทศมนตรีคนใหม่ ที่ต้องการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในเมือง ก่อนหน้านี้ซาดิคก็ออกประกาศเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์เก่า หรือรถที่ผลิตก่อนปี 2005 คันละ 10 ปอนด์ หรือ 480 บาท ถ้าจะขับเข้าไปยังใจกลางกรุงลอนดอน โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเก็บเพิ่มจากค่าทำรถติด ซึ่งมีการเก็บอยู่ในปัจจุบันในราคาคันละ 11.50 ปอนด์ มาตรการนี้จะเริ่มบังคับใช้ปี 2017 ระยะเวลาในการทำถนนคนเดินบนอ๊อกฟอร์ด สตรีท บังเอิญตรงกับการเปิดตัวของรถไฟสาย Crossrail ซึ่งเป็นรถไฟสายใหม่ของลอนดอนที่วิ่งจากตะวันออกไปตะวันตก ปกติแล้ว รถยนต์ส่วนใหญ่จะถูกห้ามวิ่งบนอ๊อกฟอร์ด สตรีท อยู่แล้ว ตั้งแต่ 07.00-19.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ แต่ถนนเส้นนี้เป็นถนนสายหลักสำหรับรถเมล์และรถแท็กซี่ เพราะฉะนั้น …
Read More »กทม. ลุยจัดระเบียบทางเท้า รื้อ 1.7 หมื่นแผงค้าภายในปี 60
กทม.ลุยจัดระเบียบทางเท้า รื้อ 1.7 หมื่นแผงค้าภายในปี 60 จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 8 สิงหา 59 คอลัมน์ สังคม-ชุมชน-สิ่งแวดล้อม ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยรุกล้ำทางเท้า เป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานคร(กทม.)ที่ต่อเนื่องมายาวนาน และในอดีตมักจะถูกเอาจริงเอาจังเพียงชั่วคราว แม้จะมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ออกมาระบุกติกา ไปจนถึงบทลงโทษชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ปรากฏผลงานเป็นรูปธรรม ท่ามกลางเสียงครหาว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ “บางราย”เรียกรับผลประโยชน์หรือไม่? จนกระทั่งมีรัฐบาล คสช. เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมามีการย้ำชัดเรื่องนี้อีกครั้งตามด้วยการดำเนินการอย่างจริงจังของกทม. จึงได้เห็นการจัดระเบียบเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ การเร่งรัดจัดระเบียบเมือง คืนทางเท้าให้ประชาชนตามนโยบายของคสช. เริ่มต้นจากจุดแรกที่ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร ด้วยการประกาศห้ามขายตลอด 24 ชม. ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ให้ย้ายเข้าไปขายในซอยใกล้เคียงแทนหรือบางรายก็ย้ายตามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสนามบินน้ำ รวมถึงบริเวณริมคลองคูเมืองเดิมและรอบศาลฎีกาเขตพระนคร ที่มีผู้ค้าประมาณ 1,000 ราย เป็นการยุติแหล่งค้าขายสินค้าในตำนานริมคลองหลอด ตามด้วยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี ที่ให้ทำการค้าที่เดิมแต่ขีดแนวตั้งวางให้ชัดเจน และกวดขันให้ผู้ค้าอยู่ในกติกา แต่ที่ถือเป็นการระเบียบที่เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากก็คือ การจัดระเบียบตลาดคลองถม ย่านการค้าเก่าแก่ชื่อดัง แม้จะไม่ถึงกับเป็นการปิดตำนาน เพราะร้านค้าบนอาคารยังเปิดขายอยู่ แต่ก็ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายผิดไปจากอดีต รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงกันย่านสะพานเหล็กที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง ก็ต้องถูกรื้อทิ้งทั้งหมดตั้งแต่ปลายปี 2558 ที่ผ่านมา และประเดิมใช้พื้นที่จัดงานลอยกระทงเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2558 นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่มีประเด็นต่อเนื่องคือปากคลองตลาด แหล่งค้าดอกไม้ พวงมาลัยเก่าแก่ ที่ต่อรองกันมาหลายครั้ง และกระทบกระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่ กทม.กับผู้ค้าอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพื้นที่ติดกันใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ที่มีแผงค้านานาชนิด ทีขณะนี้การเจรจาก็ยังไม่ได้ข้อยุติ จนถึงขณะนี้การดำเนินของ กทม. มีการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เพื่อคืนทางเท้าให้แก่ประชาชนไปแล้ว 61 จุด ในพื้นที่ 27 เขต รวมผู้ค้า 16,645 หมื่นรายโดยเน้นการเจรจาและขอความร่วมมือจากผู้ค้าเป็นหลัก พร้อมกับการช่วยจัดหาจุดขายใหม่ อย่างไรก็ดีการจัดระเบียบมีหลายวิธีการ โดยมี 4 จุดที่ยังคงผ่อนผัน แต่เข้าไปกำกับให้เป็นระเบียบมากขึ้นที่บริเวณปากซอยอุดมสุข เขตบางนา ปากซอยอ่อนนุช เขตวัฒนา ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี และหน้าศูนย์การค้าบิ๊กซี เขตปทุมวัน รวมทั้งบางพื้นที่ที่จัดแบ่งเวลาให้ค้าขาย 2 รอบ อย่างเช่นที่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัสเวิลด์โบ๊เบ๊ …
Read More »