Home / Articles / บทความทั่วไป (page 2)

บทความทั่วไป

จะรับมือกับคนขับรถอารมณ์ร้อนอย่างไร

คุณเคยเผชิญกับคนขับรถอารมณ์ร้อนเวลาขี่จักรยานบ้างไหมครับ ?  อย่างคนในภาพนี้ที่หยุดรถมาชี้หน้าคุณว่า “ขี่จักรยานประสาอะไรกันวะ เดี๋ยวก็ตายห..หรอก” หากคุณเคยมีประสบการณ์มาแล้ว คุณทำอย่างไร  แต่ถ้าคุณยังไม่เคยประสบมาก่อน หากคุณตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณจะทำอย่างไร ? ถ้าเขาแค่หยุดรถ หรือไม่หยุดแต่ขับชะลอความเร็วลง แล้วโผล่หน้ามาด่า จากนั้นก็ขับรถไป เรื่องก็น่าจะจบลงเท่านั้น  แต่ถ้าคุณใช้วาจาตอบโต้กลับไป เขาก็อาจจะหยุดรถลงมาโต้เถียงหนักขึ้น และถึงขั้นลงไม้ลงมือ ถ้าคุณสู้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นเหมือนในข่าวโทรทัศน์ที่คนขับรถอารมณ์ร้อนลงมาถกเถียง ชกต่อย ทำร้ายร่างกายกัน ซึ่งอาจจะร้ายแรงไปถึงขั้นมีการสูญเสียชีวิต ต่อสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ว่าคุณจะถูกหรือผิดตามหลักการตามกฎการใช้ถนนใดๆ คุณผู้ใช้จักรยานคันเล็กก็อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่า เปราะบางกว่า เสียหายได้มากกว่าคนขับรถคันใหญ่เสมอ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นใดคือ รักษาตนให้ปลอดภัย และไม่ตอบโต้ เพราะมีแต่จะทำให้ความขัดแย้งขยายตัวบานปลายยกระดับขึ้นไป  จำไว้ว่า เมื่อคุณรับมือกับคนที่หยุดรถมาตะโกนด่าคนแปลกหน้าที่เขาไม่รู้จักบนถนน คุณไม่ได้รับมือกับคนที่ใช้สติ ใช้เหตุผล ใช้สามัญสำนึก ในการคิด การตัดสินใจกระทำการใดๆ  การพยายามใช้เหตุผล ใช้หลักการความถูกต้อง มาพูดจาทำความเข้าใจกับเขาจึงไม่แก้ปัญหาใดๆ และควรเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณคิดจะทำ  ไม่ว่าคุณจะมีไหวพริบอย่างไร คุณก็ไม่มีทางเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิด ของคนขับรถที่กำลังอารมณ์ขุ่นมัวเดือดพล่านถึงขั้นที่ยอมเสียเวลาอันมีค่าหยุดการเดินทางไปยังจุดหมายที่เขาต้องการไป มามีปฏิกิริยากับคุณกลางถนนได้ ยับยั้งชั่งใจ ปิดปากเอาไว้  ถ้าจำเป็นต้องพูดจาอะไรออกไปจริงๆ ก็อย่าได้โต้แย้งให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น  ในทางตรงข้าม ใช้ถ้อยคำและท่าทีที่จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายและอารมณ์ของเขาเย็นลง เช่น รับว่าได้ทำในสิ่งที่ทำให้คนขับรถโกรธ(ไม่ว่าคุณจะได้ทำสิ่งนั้นจริงหรือไม่ก็ตาม)และกล่าวขอโทษ ใช้ท่าทีที่เป็นมิตรเข้าไว้   การที่คนขับรถขาดสติ ถูกครอบงำด้วยอารมณ์โกรธ ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องขาดสติ ตกเป็นเหยื่อของความโกรธไปด้วย  มันไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น มีแต่ทำให้เลวร้ายลง แต่ถ้าเขาลงจากรถตรงเข้ามาหาคุณล่ะ และคุณรู้สึกได้ทันทีว่าคุณกำลังถูกคุกคาม อาจจะถูกทำร้าย จะทำอย่างไร  หนีครับหากทำได้  การหลีกหนีจากสถานการณ์การเผชิญหน้าที่คุณไม่ได้เป็นคนเริ่มไม่ใช่การแสดงความขี้ขลาดแต่ประการใด หนีไปยังที่ที่คุณคิดว่าปลอดภัยและติดต่อตำรวจ  หากเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ใกล้ๆก็ตรงเข้าไปหาเลย  และที่สำคัญ จดจำรูปพรรณสัณฐานของรถคันนั้น โดยเฉพาะหมายเลขป้ายทะเบียน เอาไว้ให้แม่น ดังนั้นผู้ใช้จักรยาน และความจริงผู้ใช้ถนนทุกคน ควรจะฝึกตนเองให้หูตาไวในการสังเกตสิ่งต่างๆ และให้มีความจำดีต่อสิ่งเหล่านั้น  และจะให้ดียิ่งขึ้นก็หาคนที่อยู่ใกล้ๆ มาเป็นพยาน มันจะช่วยคุณได้มากหากเกิดเหตุที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น  ในทางตรงข้าม หากคุณพบเห็นผู้ใช้จักรยานคนอื่นตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น โดยเฉพาะหากเขาถูกคุกคาม ถูกทำร้าย ก็หยุดลงมาช่วยจดจำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะช่วยเหลือเป็นพยานหากจำเป็น  ผมเคยเห็นคนขับรถช่วยกันในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง แล้วทำไมเราผู้ใช้จักรยานจะไม่ช่วยกันในลักษณะนี้บ้าง ผมเคยหยิบเรื่องนี้มาพูดคุยในวงผู้ใช้จักรยาน และได้คำตอบกลับมาที่ทำให้ผมตกใจ  มีคนบอกผมว่า เขาเคยโดนคนขับรถโผล่มาด่า แล้วเขาทำอย่างไรรู้ไหมครับ  เขาขี่จักรยานตามไปทันเมื่อรถคันนั้นหยุดนิ่งกับสภาพการจราจรที่ติดขัดหรือหยุดรอสัญญาณไฟจราจรอะไรนี่ล่ะ แล้วตรงเข้าไปเตะใส่ประตูรถ อีกครั้งหนึ่งเขาตบใส่กระจกข้างจนบิดไป …

Read More »

เหตุผล 8 ประการที่คุณควรจะเดินให้มากขึ้น

เขียนมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็จริงๆนะ การเดินดีกับคุณมากมาย ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ  มันเป็นเหมือนกับ “ยาวิเศษ” ที่ใช้แก้ได้สารพัดโรค อีกทั้งยังถูกเสียจนใครๆ ก็หามาใช้ได้  เอาเถอะ ถ้าคุณยังเดินน้อย วันนี้ก็ขอยกเอาเหตุผลสัก 8 ประการว่าทำไมคุณควรจะลุกออกไปเดินให้มากขึ้นมาย้ำอีกครั้งหนึ่ง หวังว่าคงจะทำให้คำเชิญชวนของผมมีน้ำหนักมากขึ้น และทำให้คุณออกไปเดินมากขึ้นจริงๆ ข้อ 1 การเดินทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น การออกไปเดินในที่กลางแจ้งทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นอย่างรวดเร็ว  นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยดุ๊กในสหรัฐอเมริกาพบว่า แค่การเดินเร็วๆ หรือวิ่งเล่นๆ เหยาะๆ ไม่ต้องวิ่งอย่างจริงจัง ครั้งละสามสิบนาที สัปดาห์ละสามครั้ง ก็มีประสิทธิผลในการผ่อนคลายอาการหดหู่ เหี่ยวห่อ ท้อถอย ได้ดีพอๆกับการใช้ยาอย่างที่แพทย์ทั่วไปจะจ่ายให้ทีเดียว ข้อ 2 การเดินลดความเครียด คนที่เดินไปไหนมาไหนจะเครียดน้อยกว่าคนที่เดินน้อย เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายจะขับฮอร์โมนคอร์ติโซนไปทั่วร่างกาย ช่วยหยุดยั้งความกังวลกลุ้มอกกลุ้มใจ   การศึกษาคน 18,000 คนที่เดินทางไปทำงานเป็นประจำเป็นระยะทางครั้งละไม่น้อยในอังกฤษพบว่า คนที่เดินหรือขี่จักรยานไปทำงานมีระดับความเครียดต่ำกว่าคนที่ขับรถไปทำงาน ข้อ 3 การเดินทำให้สมองปลอดโปร่ง หากรู้สึกว่าสมองล้า ขุ่นมัว หรือหมดเรี่ยวหมดแรงคิด พยายามคิดอะไรก็ทำไม่ได้ชัดเจน ออกไปเดินเลย โดยเฉพาะการเดินในชนบท หรือในสวนในพื้นที่สีเขียวทั้งหลาย สมองของคุณจะแจ่มใสขึ้น ได้พักผ่อนคลาย  การเดินตามถนนในเมืองจะไม่ค่อยได้ผลดีเท่าใดนักเพราะสมองของคุณยังต้องตื่นตัวระแวดระวังสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  การได้ไปเดินในพื้นที่สีเขียวให้โอกาสสมองคุณได้มองย้อนกลับไปและผ่อนคลาย ข้อ 4 การเดินกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เมื่อคุณได้ขจัดความขุ่นมัวไม่แจ่มใสที่อยู่ในสมองออกไป ความคิดจิตใจของคุณก็จะอ้าแขนเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ให้หลั่งไหลเข้ามา การเดิน โดยเฉพาะการเดินในพื้นที่สีเขียว จะให้ผลดังกล่าว   การศึกษาที่เพิ่งทำเมื่อเร็วๆนี้และผลลัพธ์ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Neuroscience (แนวหน้าในวงการประสาทวิทยา) พบว่า การเดินช่วยปรับปรุงความคิดทั้งในแบบที่เข้ามาบรรจบกันและแบบที่แตกต่างออกไป การคิดทั้งสองแบบนี้เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น ข้อ 5 การเดินทำให้กระดูกแข็งแกร่งขึ้น จงเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กระดูกของคุณซะตั้งแต่เดี๋ยวนี้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อหลีกเลี่ยงกระดูกแตกหัก โรคกระดูกพรุน และกระดูกสันหลังหดตัว ในอนาคต  เราสร้างความหนาแน่นของกระดูกได้ด้วยการออกกำลังกาย รวมทั้งการเดิน  การศึกษาของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษพบว่า คนที่เดินเป็นประจำมีกระดูกที่มีสุขภาพดีกว่า แข็งแกร่งกว่า คนที่เดินน้อย ข้อ 6 การเดินช่วยปรับปรุงการมีสมาธิ การศึกษาของมหาวิทยาลัยอีสท์แองเกลียในอังกฤษพบว่า คนที่เดินหรือขี่จักรยานไปทำงานมีสมาธิดีกว่าเมื่อไปถึงจุดหมายเพื่อทำงาน ผลลัพธ์เช่นนี้ยังพบได้ในเด็กที่เดินไปโรงเรียน  การสำรวจของกระทรวงคมนาคมขนส่งอังกฤษพบว่า ครูเก้าในสิบคนบอกว่านักเรียนของพวกเขาพร้อมที่จะเรียนรู้มากกว่าหากได้เดินไปโรงเรียน ข้อ 7 การเดินเป็นของได้เปล่า ลืมค่าสมาชิกแสนแพงของยิมหรือสถานออกกำลังกายทั้งหลายและค่าน้ำมันในการขับรถไปที่นั่นได้เลย  คุณไม่เสียค่าใช้จ่ายใดเลยในการเดิน แถมยังได้ออกกำลังกายด้วย   ในขณะเดียวกัน …

Read More »

สี่เมืองใหญ่จะห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลภายในปี 2568

คุณภาพอากาศในกรุงปารีสทำให้ผู้บริหารต้องใช้ไม้แข็งแก้ปัญหา นายกเทศมนตรีสี่เมืองหลวงคือ ปารีส เม็กซิโกซิตี้ มาดริด และเอเธนส์ ประกาศในการประชุมนานาชาติของผู้บริหารเมืองใหญ่ที่จัดขึ้นทุกสองปี ซึ่งปีนี้มีผู้บริหารเมืองจากสี่สิบประเทศทั่วโลกไปประชุมกันที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ว่าจะประกาศห้ามใช้ยานยนต์ทุกชนิดที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในเมืองของพวกเขาภายใน พ.ศ. 2568 เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น และใช้มาตรการต่างๆ มากระตุ้นและส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน  นครทั้งสี่มีปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายมานานแล้ว และปรากฏเป็นข่าวบ่อยขึ้นในระยะหลังนี้ ยานยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมีส่วนสำคัญในการทำให้คุณภาพอากาศในเมืองเลวร้ายลงจากการที่มันปล่อยอนุภาคขนาดจิ๋วและก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ออกมา  อนุภาคขนาดจิ๋วนี้สามารถทะลุผ่านเข้าไปในปอดและทำให้คนที่รับมันเข้าไปมากๆ ป่วยด้วยโรคหัวใจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนไนโตรเจนออกไซด์มีส่วนทำให้เกิดชั้นของก๊าซโอโซนที่ระดับพื้นดิน ทำให้หายใจลำบาก แม้แต่กับคนที่ไม่มีประวัติการป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบการหายใจมาก่อน  องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า ทุกปีมีคนทั่วโลกราวสามล้านคนเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยที่มีส่วนเกิดจากมลพิษในอากาศ ปัญหานี้สร้างความกังวลไปทั่ว ไม่ใช่แต่ผู้บริหารของรัฐบาลระดับต่างๆ เท่านั้น แม้แต่กลุ่มสิ่งแวดล้อมก็เริ่มลงมือปฏิบัติการอย่างจริงจัง   เมื่อเร็วๆนี้ นักรณรงค์สิ่งแวดล้อมในอังกฤษเพิ่งประสบความสำเร็จในการใช้กระบวนการทางศาลมาบังคับให้รัฐบาลลงมือแก้ปัญหานี้ให้เร็วขึ้น มาดริดนำเอามาตรการจำกัดความเร็วมาใช้และจะห้ามยานยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลภายในปี 2563 การเอารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลออกไปจากถนนยังช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดที่ทุกเมืองใหญ่เผชิญควบคู่ไปกับการปัญหามลพิษทางอากาศด้วย นายมิเกล มานเซรา นายกเทศมนตรีนครเม็กซิโกซิตี้ กล่าวว่าจะแก้ปัญหาทั้งบนถนนและในปอดให้ประชากรในเมืองของเขาด้วยการลงทุนขยายช่องทางการคมนาคมขนส่งด้วยวิธีการอื่น ทั้งระบบรถประจำทางสายด่วน(Bus Rapid Transport – BRT) ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน และการใช้จักรยาน ส่วนนางแอน ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีนครปารีส ลงมือไปก่อนหน้าแล้วด้วยการห้ามยานยนต์ที่จดทะเบียนก่อนปี พ.ศ. 2540 และใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เข้ามาในปารีส และเพิ่มขอบเขตการห้ามนี้ให้กว้างขึ้นทุกปี เพื่อให้ในที่สุดก็จะสามารถเอายานพาหนะที่สร้างมลพิษส่วนใหญ่ออกไปจากถนนได้  นอกจากนั้นทุกเดือนจะมีวันหนึ่งที่มีการปิดถนนชองเซลีเซ(ซึ่งเป็นถนนที่ใหญ่โตกว้างขวางคล้ายถนนราชดำเนินของกรุงเทพฯ) ห้ามรถยนต์ทุกชนิดเข้าไป และล่าสุดก็มีการเปลี่ยนทางด่วนสองช่องทางริมฝั่งแม่น้ำเซนยาวสามกิโลเมตรให้กลายเป็นทางเดินเท้า  เธอประกาศชัดว่าปารีสมีเป้าหมายชัดเจนที่จะขจัดยานยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลให้หมดสิ้นไปจากเมืองของเธอ ตามอย่างกรุงโตเกียวที่ทำไปแล้วก่อนหน้า ทางด้าน นายมานูเอลลา คาร์เมนา นายกเทศมนตรีนครมาดริด กล่าวว่า คุณภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปเกี่ยวพันโดยตรงกับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อเราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง อากาศก็จะสะอาดขึ้น ตัวเราเอง ลูกหลานของเรา พ่อแม่ของเรา และเพื่อนบ้านของเรา ก็จะมีสุขภาพดีขึ้น หลายเมืองที่มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อให้คนลดการใช้รถยนต์ หันมาเดิน ขี่จักรยาน และใช้ขนส่งสาธารณะ ก็เริ่มเห็นผลแล้ว อย่างเช่นนครบาร์เซโลนาในสเปนที่มีการนำระบบจักรยานสาธารณะมาใช้ พบว่าการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นของชาวเมืองได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วกว่า 9,000 ตัน เท่ากับมีการใช้รถยนต์ขนาดปานกลางน้อยลงไปกว่า 33 ล้านกิโลเมตร สิ่งที่นายกเทศมนตรีทั้งสี่นครใหญ่ทำไปเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความใส่ใจต่อทุกข์สุขของประชาชนภายใต้การดูแลของพวกเขาอย่างจริงจัง และมีความกล้าหาญทางการเมืองที่จะใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการแก้ปัญหา  เราไม่ได้ยินอะไรจาก ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ไม่ทราบว่าท่านได้ไปร่วมการประชุมที่เม็กซิโกซิตี้ครั้งนี้ด้วยหรือไม่ ถ้าไปแล้วคิดอะไร แต่นี่คือกระแสโลกที่ในที่สุด เมืองที่เราอยู่อาศัยก็ต้องเดินไปในทิศทางนี้ หันมาส่งเสริมสนับสนุนให้คนเดิน ขี่จักรยาน และใช้ขนส่งสาธารณะ ให้มากที่สุด เพื่อความอยู่รอดและยั่งยืน …

Read More »

สหประชาชาติเรียกร้องให้จัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน

“ให้รัฐบาลจัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน” ฝันไปหรือเปล่า?  ก็อาจจะเป็นความฝันที่ยังไม่ใช่ความจริงในขณะนี้สำหรับประเทศไทยครับ  แต่เป็นจริงได้ และควรจะต้องเป็นเช่นนั้นด้วย  ข้อเสนอนี้มาจากโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNEP) ในรายงานชื่อ Global Outlook on Walking and Cycling 2016 ที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนกันยายน 2559 นี่เอง รายงานนี้เป็นผลจากการสำรวจความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับ “Active Travel” ในยี่สิบประเทศ  คำว่า Active Travel นี้ยังไม่มีคำศัพท์ไทยที่สั้นกระชับและให้ความหมายตรง แปลออกมาอาจจะได้ว่า “การเดินทางที่ผู้เดินทางได้ขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขัน”  คำนี้ใช้กันมากในยุโรป ลาตินอเมริกา และประเทศในอาฟริกาตะวันตก ให้ความหมายตรงกับ “การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์” (Non-Motorised Transport – NMT) ซึ่ง UNEP ให้นิยามครอบคลุมไว้ตั้งแต่ การเดิน การขี่จักรยานสองล้อและสามล้อ การใช้รถเข็นชนิดต่างๆ การเดินทางด้วยยานพาหนะที่ใช้สัตว์ลากจูง การใช้สัตว์ในการขนส่ง และวิธีเดินทางและการใช้พาหนะอื่นๆที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ รวมไปจนถึงการใช้สเกตบอร์ดด้วย  ยี่สิบประเทศที่เลือกมานี้เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง คือมีรายได้ประชาชาติสุทธิต่อหัวต่อปีไม่เกิน 1,025 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 บาท) และระหว่าง 1,025 ถึง 12,475 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 – 436,000 บาท) ตามลำดับ อยู่ในเอเชีย 6 ประเทศได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล สิงคโปร์ จีน และเกาหลี ไม่มีไทยเราครับ ผลการสำรวจชี้ออกมาเลยครับว่า การไม่ได้ลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยสำหรับการเดินและการใช้จักรยานนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของคนนับล้านๆ  มีการคำนวณว่าทั่วโลกมีคนตายบนถนนปีละราว 1.3 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ใช้ถนนที่อยู่ในสภาพอ่อนเปราะที่จะได้รับอันตราย คือคนที่เดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ดังกล่าว รวมถึงผู้ขับขี่จักรยานยนต์ด้วย แต่ถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูงแล้วจะต่างกันมาก คนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางเสียชีวิตบนถนนมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูงถึงเกือบสองเท่า !!! เปรียบเทียบง่ายๆนะครับ ลองคิดดูว่าจะต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ หากประชาคมโลกปล่อยให้ประชาชนทั้งหมดของออสเตรเลีย กานา หรือเนปาล ตายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 15 ปี  แต่กลับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เมื่อเราปล่อยให้ประชากรโลกจำนวนมากกว่านั้นเสียอีกตายไปอย่างเงียบๆ จากอุบัติเหตุบนท้องถนน  เรายอมรับให้อุบัติเหตุเหล่านั้นเกิดขึ้นทั้งๆ …

Read More »

อัมสเตอร์ดัม – ใช้จักรยานมากๆ ก็มีปัญหา

อัมสเตอร์ดัมอาจเป็นเมือง(หลวง)ที่มีการใช้จักรยานมากที่สุดในโลก ประชากรที่นั่น 1.1 ล้านคนมีจักรยาน 1 ล้านคัน และร้อยละ 68 ของการเดินทางในย่านกลางเมืองทำด้วยจักรยาน จึงไม่แปลกที่อัมสเตอร์ดัมจะมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมาเพราะจักรยาน มากกว่าภาพวาดของจิตรกรเอกอย่างแวนโฮห์และเรมบรานด์ และก็เป็นความจริงที่ชาวอัมสเตอร์ดัมหนึ่งรุ่นเต็มๆ เติบโตขึ้นมาคุ้นเคยกับการใช้จักรยานจนพวกเขามีทักษะที่จะขี่ยานพาหนะสองล้อนี้ไปไหนมาไหนได้อย่างคล่องแคล่ว ไหลลื่น ตื่นตัวอย่างยิ่งกับสิ่งที่อยู่รอบตัว แต่ก็ดูเป็นธรรมชาติเสียเหลือเกิน แม้จักรยานจะเป็นภาพลักษณ์ของอัมสเตอร์ดัม เมืองนี้ก็เป็นสวรรค์ของการใช้จักรยานน้อยกว่าเมืองอื่นในเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างอูเทรคท์และโกรนิงเก็น ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเวลาเช้าเย็นและบริเวณที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวผู้ไม่คุ้นเคยกับกฎเกณฑ์การขี่จักรยานที่ไม่มีการเขียนเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรของชาวอัมสเตอร์ดัม เราจะเจอกับสภาพ “จักรยานติด” (เหมือนรถติด) ที่ผู้ใช้จักรยานตามเส้นทางสายหลักต้องหยุดทุกจุดที่มีถนนตัดกัน ทำให้แม้แต่ชาวอัมสเตอร์ดัมเองก็เอือมระอา แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่อัมสเตอร์ดัมไม่ใช่นครใหญ่มากมาย หากมีพื้นที่จำกัด ในขณะที่มีจักรยานมากเกินไป สกู๊ตเตอร์มากเกินไป รถยนต์มากเกินไป และแม้แต่คนเดินเท้าก็มากเกินไป  ยิ่งกว่านั้นแม้การเดินทางที่ใจกลางเมืองร้อยละ 68 จะทำด้วยจักรยาน แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับเพียงร้อยละ 11 ในขณะที่รถยนต์ได้ไปถึงร้อยละ 44  ผิดสัดผิดส่วนเป็นอย่างยิ่ง  แล้วรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งใหญ่กว่า หนักกว่า และเร็วกว่า ยังเข้ามาใช้ทางที่จัดไว้ให้จักรยานอีกด้วย แม้ปัญหานี้กำลังจะได้รับการแก้ไข ข้อเสนอให้ห้ามสกู๊ตเตอร์ใช้ทางจักรยานทั่วประเทศกำลังอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา จักรยานไฟฟ้าซึ่งขณะนี้ขายดีกว่าจักรยานที่ใช้แรงคนธรรมดาๆ ก็อาจเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมาเพราะมันสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แอนนา ลูเท็น .นายกเทศมนตรีจักรยานคนแรกของโลก (ภาพโดยนิค แมน มีด) จะแก้ปัญหากันอย่างไร กลุ่มผลักดันนโยบายจักรยานชื่อ CycleSpace เอาตัวอย่างความสำเร็จก่อนหน้านี้จากการแต่งตั้งมิริค มิลาน มาเป็น “นายกเทศมนตรีกลางคืน” ของอัมสเตอร์ดัมมาใช้ นายมิริคเป็นตัวกลางให้เกิดการพูดคุยสื่อสารกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียใน “กิจกรรมกลางคืน” ของเมืองที่กำลังขยายตัว ตั้งแต่ผู้ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นที่บางครั้งก็ไม่อยากยอมรับว่ามีกิจกรรมเช่นนี้ในพื้นที่รับผิดชอบของตน จนสามารถตกลงกันได้ จากประสบการณ์นี้ CycleSpace จึงเสนอให้มีการสร้างตำแหน่งขึ้นมาใหม่เรียกว่า “นายกเทศมนตรีการจักรยาน” (cycling mayor) โดยเปิดให้ส่งวิดีโอคลิปเข้ามาสมัคร เปิดให้สาธารณชนลงคะแนนเลือกให้เหลือจำนวนน้อยลง จากนั้นเจ้าหน้าที่เมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวด้านจักรยานก็มาเลือกกันเป็นขั้นสุดท้ายได้แอนนา ลูเท็น (Anna Luten) มาเป็นนายกเทศมนตรีการจักรยานคนแรกของอัมสเตอร์ดัมและของโลก ความจริงตำแหน่งคล้ายๆกันนี้ก็ไม่ใช่ของใหม่ หลายเมืองมีตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ตรวจการจักรยาน(bicycle commissioner), หัวหน้าเจ้าหน้าที่จักรยาน(Chief Bicycle Officer – CBO) หรือซาร์จักรยาน(cycle tsar) แต่ตำแหน่งเหล่านี้เป็นตำแหน่งทางการ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการปกครองท้องถิ่น หลายแห่งมาจากการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีการจักรยานของอัมสเตอร์ดัมแม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เป็นอิสระ ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ และเป็นงานอาสาสมัคร …

Read More »

ข้อเท็จจริง – ยิ่งสร้างยิ่งขยายถนน รถยิ่งติด

  กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองที่ “รถติด” มากที่สุดในโลก  ปัญหาการจราจรติดขัดกลายเป็นวาระของประเทศที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องจัดประชุมหารือเป็นพิเศษเพื่อหาทางแก้ไข  ข่าวที่ออกมาเปิดเผยว่า การขาดวินัยในการขับรถถูกมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหานี้  และอีกสาเหตุหนึ่งคือการมีถนนไม่พอเพียงกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นมากมายทุกวัน  คาดได้ว่า มาตรการแก้ปัญหาหนึ่งที่จะผุดขึ้นมาดังเช่นที่ผ่านมาเสมอ คือการขยายถนน-ขยายพื้นที่จราจร ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางรถของถนนที่มีอยู่เดิม(ซึ่งอาจทำด้วยการลดขนาดทางเท้า เป็นต้น) หรือการสร้างถนนขึ้นมาใหม่อีก แต่ไม่มีการวิเคราะห์ใดเลยที่บ่งชี้ว่า  การสร้างถนนใหม่และการขยายถนนที่มีอยู่เดิม ด้วยความคิดความเชื่อของคนทั่วไปที่ว่า รถติดส่วนหนึ่งเกิดจากมีพื้นที่ถนนไม่เพียงพอให้รถใช้  ดังนั้นเมื่อเพิ่มพื้นที่ถนนเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นการขยายความกว้างของถนน หรือการสร้างถนนใหม่ รถก็จะมีพื้นที่ให้เคลื่อนไปไหลลื่นมากขึ้น และติดน้อยลงหรือไม่ติดเลย นั้นในที่สุดโดยรวมแล้ว ทำให้เกิดผลในทางตรงข้าม คือรถยังติดเหมือนเดิม และบางกรณีก็ติดมากขึ้นด้วยซ้ำไป ! แม้จะยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ชัดเจนในไทย  แต่ก็มีการศึกษาในที่ต่างๆ ทั่วโลกมาแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบปี (รวมทั้งในสหรัฐอเมริกาที่วัฒนธรรมการใช้รถยนต์ครอบงำนโยบายการเดินทางขนส่งของประเทศมาโดยตลอด)  ที่พบในทางตรงข้าม  วิศวกรจราจร(traffic engineer) พบว่า เราไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้ด้วยการขยายหรือสร้างถนนเพิ่ม เพราะถนนนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการจราจรมากขึ้น ทำให้รถติด สภาพเช่นนี้มีศัพท์ของนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “อุปสงค์(ความต้องการ)ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น” (induced demand) นั่นคือ เมื่อใดที่มีการเพิ่มอุปทาน(supply) หรือการสนองให้มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เช่น ถนน) คนก็จะยิ่งต้องการสิ่งนั้นมากขึ้น  วิศวกรจราจรได้สังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้มานานแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1960 แต่นักสังคมศาสตร์เพิ่งมาเก็บรวบรวมข้อมูลได้เพียงพอเมื่อไม่นานมานี้เองที่แสดงให้เห็นว่า สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสร้างถนนใหม่  พวกเขาพบว่า วิธีที่เรามักทำกันมาจนแทบจะเป็นประเพณีแบบไม่ต้องคิดในการขจัดหรือลดปัญหารถติดด้วยการสร้าง-ขยายถนนนั้นไร้ผล และหากเราใช้เหตุใช้ผลตามที่เป็นจริงกันมากขึ้นแม้เพียงสักนิด รถก็จะติดน้อยลง ในปี 2009 (พ.ศ.2552) นักเศรษฐศาสตร์สองคนคือ แมทธิว เทอร์เนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโท ในคานาดา กับกิลส์ ดูรานทัน แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในสหรัฐฯ ตัดสินใจเปรียบเทียบจำนวนถนนใหม่ที่สร้างขึ้นในเมืองต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วงยี่สิบปีระหว่างปี 1980 ถึง 2000 กับจำนวนระยะทางทั้งหมดที่มีการขับรถในเมืองเหล่านั้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน และพบว่า ค่าทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันในสัดส่วน 1:1 อย่างสมบูรณ์ทีเดียว เช่นว่าเมืองหนึ่งมีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในช่วงปี 1980-1990 จำนวนการขับรถในเมืองนั้นได้เพิ่มขึ้นไปร้อยละ 10 เช่นกัน  และถ้าพื้นที่ถนนในเมืองเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในช่วงปี 1990-2000 จำนวนระยะทางทั้งหมดที่มีการใช้รถในเมืองนี้ก็จะเพิ่มขึ้นไปร้อยละ  11 เหมือนกับว่าตัวเลขทั้งสองนี้ถูกล็อกเอาไว้ด้วยกัน เมื่อตัวเลขหนึ่งใดเปลี่ยนไป อีกตัวก็จะเปลี่ยนไปด้วยอัตราเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การมีความสัมพันธ์กันเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าหนึ่งจะเป็นสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของอีกค่าหนึ่งเสมอไป  …

Read More »

สปท. ชงแผนจราจร ‘ เป็นวาระแห่งชาติ’

สังคม-ชุมชน-สิ่งแวดล้อม กรุงเทพธุรกิจ 1 กันยายน  2559  หน้า 15 “สปท.” ชงแผนปฏิรูปแก้วิกฤติจราจรกทม.-เมืองใหญ่ จี้รัฐยกเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งศูนย์เฉพาะแก้ปัญหา เผยถนนกทม.ไม่พอรอรับรถ 9 ล้านคัน ผลาญน้ำมันวันละ 97 ล้านบาท นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่าอนุกรรมาธิการได้ศึกษาการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ โดยเน้นการจราจรในกรุงเทพฯเป็นหลัก โดยเสนอแผนปฏิรูประยะสั้นหรือเร่งด่วน โดยรัฐจะต้องกำหนดให้ปัญหาการจราจรและความปลอดภัยเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งรัฐจะต้องให้การสนับสนุนทั้งด้านองค์กรและงบประมาณ มีการจัดตั้งกองทุนจราจร การจัดให้มีคณะกรรมการผู้ปฏิบัติงานการแก้ปัญหาจราจร โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก (คจร.) มีนายกฯ หรือรองนายกฯที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ทั้งนี้ให้มีศูนย์ประสานงานกลางเพื่อแก้ปัญหาจราจรโดยมีผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันต้องทบทวนบทบาทท้องถิ่นและกรุงเทพฯ ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจราจร การแก้ปัญหาจราจรที่เป็นรูปธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ปัญหาการจราจรที่เกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนการเตรียมความพร้อมรับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุสุดวิสัยและอุบัติเหตุ ที่สำคัญในทุกๆ 6 เดือนให้ประเมินความพึงพอใจของประชาชน นายเสรี กล่าวว่า รายงานดังกล่าวจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวิปสปท. ในสัปดาห์หน้าเพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสปท. ให้ความเห็นชอบก่อนที่เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามระหว่างนี้อนุกรรมาธิการฯ ร่วมกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะลงพื้นที่เพื่อดูปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ปัญหาจราจรของเมืองใหญ่ถือเป็นวิกฤติที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะทำให้การจราจรติดขัดยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจพบว่ามีการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง 97 ล้านบาทต่อวัน หรือตกปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่จำนวนถนนไม่รองรับปริมาณรถที่มีอยู่ โดยในปี 2558 มีรถยนต์จดทะเบียนในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 9 ล้านคัน แต่ถนนรองรับได้เพียง 1.5 ล้านคัน ซึ่งเราต้องควบคุมปัญหาปริมาณรถ โดยใช้หลักคิด ใครทำรถติดต้องรับผิดชอบ ส่วนข้อเสนอที่ให้ทะเบียนรถเลขคู่หรือเลขคี่วิ่งสลับวันกันนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะกำหนดโซนเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมที่เข้าไปใช้ในชั่วโมงเร่งด่วน เช่นที่ต่างประเทศดำเนินการ

Read More »

รถติด…..ราคาแพง โดย เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2559

ในที่สุดกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราก็ได้รับตำแหน่งเมืองรถติดอันดับ 1 ความจริงแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราก็ติดอันดับต้นๆ มาตลอด ไม่ใช่ว่าไม่มีใครคิดจะทำอะไร หลายหน่วยงาน หลายคน หลายองค์กร ต่างก็พยายามหาทางลดปัญหานี้กันมาหลายรอบแล้ว แต่จำนวนครั้งที่ล้มเหลวกับจำนวนครั้งที่พยายามก็เท่ากันมาตลอด จนหลายคนเริ่มคิดว่า ปัญหานี้คงไม่มีทางแก้ได้ เวลาเราพูดถึงรถติดจะมีการพูดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจคู่กันไปด้วยเสมอ ทั้งจากการสิ้นเปลืองพลังงาน ความล่าช้าในการไปทำงาน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน นอกจากนี้เวลาที่เสียไปยังส่งผลต่อเวลาที่จะใช้กับครอบครัวอีกด้วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เห็นถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าสูงแค่ไหน ผมลองไปดูงานวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากปัญหาจราจร โดยเลือกเฉพาะงานที่ระบุมูลค่าเป็นสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อใช้ในการประมาณค่าโดยคร่าวๆ ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครจะมีมากแค่ไหน ต้องขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า การเอาตัวเลขของประเทศอื่นมาใช้คงไม่สามารถให้ค่าที่แม่นยำได้ แต่อย่างน้อยก็พอช่วยให้เรามองเห็นขอบเขตของความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนขึ้นว่าความเสียหายคิดเป็นกี่บาท จากการไปดูงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ตัวเลขความเสียหายส่วนใหญ่มีความต่างกันพอสมควร ผมเลยเลือกประเทศมา 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นประเทศที่มีผลกระทบต่ำ เพราะมีระบบขนส่งมวลชนดีอยู่แล้ว และมีความหนาแน่นต่อประชากรต่อพื้นที่ต่ำ เพื่อให้ประมาณการผลกระทบขั้นต่ำ อีกกลุ่มเป็นประเทศที่ใช้ในการประมาณการผลกระทบขั้นสูง จากตารางที่นำเสนอจะเห็นว่าผลกระทบขั้นต่ำอยู่ระหว่าง 0.2% ถึง 0.8% ส่วนผลกระทบขั้นสูงอยู่ระหว่าง 1.6% ถึง 3.5% ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี 2557 มูลค่าตลาดในปัจจุบันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครที่วัดโดยผลิตภัณฑ์ภาค (Gross Provincial Productหรือ GPP) มีมูลค่า 4,128,733.97 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ถ้าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนเท่ากับที่เกิดขึ้นในฟินแลนด์ (0.8%) มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจะเท่ากับ 4,128,733.97 คูณ 0.8% เท่ากับ 34,268.5 ล้านบาทต่อปี เราใช้วิธีนี้คิดมูลค่าความเสียหายโดยใช้ตัวเลขของทุกประเทศในตาราง ก็จะได้ค่าออกมาตามที่แสดงไว้ เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยจะพบว่ามูลค่าความเสียหายต่อปีอยู่ระหว่าง 29,396.60 ถึง 89,263.20 ล้านบาท ถ้าคิดมูลค่าต่อวัน ก็เอา 365 มาหาร จะได้ระหว่าง 80.5 ถึง 244.6 ล้านบาทต่อวัน หากมีคำถามว่า 365 บาทรวมวันหยุดเข้าไปด้วยจะเหมาะหรือเปล่า ก็ต้องขอบอกว่า สำหรับกรุงเทพมหานครของเรา วันหยุดหรือวันธรรมดา รถก็ติดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว การใช้ตัวเลขจำนวนวันทั้งปีจึงไม่น่าจะกระทบกับผลที่ออกมามากนัก เห็นตัวเลขแล้วก็น่าตกใจนะครับ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าใกล้เคียงกับ GPP ของจังหวัดเชียงราย และมีมูลค่าเกือบ 4 เท่าของ GPP ของจังหวัดอ่างทอง คิดกันเล่นๆ คือ แต่ละปีเราเผาเงินที่จังหวัดเชียงรายสร้างทิ้งไปทั้งหมด …

Read More »
ถนนคนเดิน ลอนดอน

ถนนคนเดิน ลอนดอน

  ถนนคนเดิน  ลอนดอน   หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ หน้า 2  ‘เสาร์สวัสดี’ 13 ส.ค. 59 คอลัมน์ : Earth tone เรื่อง : อะตอม  ภาพ : Nick Savage /Alamy ที่มา : เวปไซด์ เดอะการ์เดียน   ถนนอ๊อกฟอร์ด สตรีท ซึ่งเป็นย่านชอปปิงหลักใจกลางนครลอนดอนประเทศอังกฤษ กำลังจะกลายเป็นถนนคนเดินภายในปี 2020  สำนักนายกเทศมนตรีนครลอนดอนเพิ่งมีการประกาศแผนการดังกล่าวออกมาโดยมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ขั้นตอน เพื่อป้องกันปัญหาความโกลาหลที่จะเกิดขึ้นบนถนนที่มีความยาว 1.2 ไมล์ แหล่งชอปปิงกลางกรุงลอนดอนแห่งนี้เป็นย่านที่คึกคักที่สุดในเมืองหลวง โดยมีคนเดินมากกว่า 4 ล้านคนต่อสัปดาห์ วาเลอรี่ ชอว์ครอสส์ รองนายกเทศมนตรีนครลอนดอนด้านการขนส่งและคมนาคมบอกว่า แผนการดังกล่าว    ก็คือ การห้ามรถทุกคันที่วิ่งมาจากถนน ท็อตแนม คอร์ท  ไปจนถึงห้างดังชื่อ Selfridges และทางเข้าสถานีรถไฟใต้ดิน บอนด์ สตรีทเข้ามาวิ่งบน อ๊อกฟอร์ด สตรีท ในระยะแรก จะห้ามรถวิ่งเข้ามาบนถนนฝั่งตะวันออกตั้งแต่อ๊อกฟอร์ด เซอร์คัส เป็นต้นไป แผนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำสัญญาของ ซาดิค ข่าน นายกเทศมนตรีคนใหม่ ที่ต้องการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในเมือง ก่อนหน้านี้ซาดิคก็ออกประกาศเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์เก่า หรือรถที่ผลิตก่อนปี 2005 คันละ 10 ปอนด์ หรือ 480 บาท ถ้าจะขับเข้าไปยังใจกลางกรุงลอนดอน โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเก็บเพิ่มจากค่าทำรถติด ซึ่งมีการเก็บอยู่ในปัจจุบันในราคาคันละ 11.50 ปอนด์ มาตรการนี้จะเริ่มบังคับใช้ปี 2017 ระยะเวลาในการทำถนนคนเดินบนอ๊อกฟอร์ด สตรีท บังเอิญตรงกับการเปิดตัวของรถไฟสาย Crossrail  ซึ่งเป็นรถไฟสายใหม่ของลอนดอนที่วิ่งจากตะวันออกไปตะวันตก ปกติแล้ว รถยนต์ส่วนใหญ่จะถูกห้ามวิ่งบนอ๊อกฟอร์ด สตรีท อยู่แล้ว ตั้งแต่ 07.00-19.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ แต่ถนนเส้นนี้เป็นถนนสายหลักสำหรับรถเมล์และรถแท็กซี่ เพราะฉะนั้น …

Read More »

กทม. ลุยจัดระเบียบทางเท้า รื้อ 1.7 หมื่นแผงค้าภายในปี 60

กทม.ลุยจัดระเบียบทางเท้า รื้อ 1.7 หมื่นแผงค้าภายในปี 60 จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 8 สิงหา 59 คอลัมน์ สังคม-ชุมชน-สิ่งแวดล้อม ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม   ปัญหาการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยรุกล้ำทางเท้า เป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานคร(กทม.)ที่ต่อเนื่องมายาวนาน และในอดีตมักจะถูกเอาจริงเอาจังเพียงชั่วคราว แม้จะมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ออกมาระบุกติกา ไปจนถึงบทลงโทษชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ปรากฏผลงานเป็นรูปธรรม ท่ามกลางเสียงครหาว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ “บางราย”เรียกรับผลประโยชน์หรือไม่? จนกระทั่งมีรัฐบาล คสช. เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมามีการย้ำชัดเรื่องนี้อีกครั้งตามด้วยการดำเนินการอย่างจริงจังของกทม. จึงได้เห็นการจัดระเบียบเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ การเร่งรัดจัดระเบียบเมือง คืนทางเท้าให้ประชาชนตามนโยบายของคสช. เริ่มต้นจากจุดแรกที่ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร ด้วยการประกาศห้ามขายตลอด 24 ชม. ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ให้ย้ายเข้าไปขายในซอยใกล้เคียงแทนหรือบางรายก็ย้ายตามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสนามบินน้ำ รวมถึงบริเวณริมคลองคูเมืองเดิมและรอบศาลฎีกาเขตพระนคร ที่มีผู้ค้าประมาณ 1,000 ราย เป็นการยุติแหล่งค้าขายสินค้าในตำนานริมคลองหลอด ตามด้วยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี ที่ให้ทำการค้าที่เดิมแต่ขีดแนวตั้งวางให้ชัดเจน และกวดขันให้ผู้ค้าอยู่ในกติกา แต่ที่ถือเป็นการระเบียบที่เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากก็คือ การจัดระเบียบตลาดคลองถม ย่านการค้าเก่าแก่ชื่อดัง แม้จะไม่ถึงกับเป็นการปิดตำนาน เพราะร้านค้าบนอาคารยังเปิดขายอยู่ แต่ก็ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายผิดไปจากอดีต รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงกันย่านสะพานเหล็กที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง ก็ต้องถูกรื้อทิ้งทั้งหมดตั้งแต่ปลายปี 2558 ที่ผ่านมา และประเดิมใช้พื้นที่จัดงานลอยกระทงเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2558 นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่มีประเด็นต่อเนื่องคือปากคลองตลาด แหล่งค้าดอกไม้ พวงมาลัยเก่าแก่ ที่ต่อรองกันมาหลายครั้ง และกระทบกระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่ กทม.กับผู้ค้าอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพื้นที่ติดกันใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ที่มีแผงค้านานาชนิด ทีขณะนี้การเจรจาก็ยังไม่ได้ข้อยุติ จนถึงขณะนี้การดำเนินของ กทม. มีการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เพื่อคืนทางเท้าให้แก่ประชาชนไปแล้ว 61 จุด ในพื้นที่ 27 เขต รวมผู้ค้า 16,645 หมื่นรายโดยเน้นการเจรจาและขอความร่วมมือจากผู้ค้าเป็นหลัก พร้อมกับการช่วยจัดหาจุดขายใหม่ อย่างไรก็ดีการจัดระเบียบมีหลายวิธีการ โดยมี 4 จุดที่ยังคงผ่อนผัน แต่เข้าไปกำกับให้เป็นระเบียบมากขึ้นที่บริเวณปากซอยอุดมสุข  เขตบางนา ปากซอยอ่อนนุช เขตวัฒนา ถนนราชปรารภ  เขตราชเทวี และหน้าศูนย์การค้าบิ๊กซี เขตปทุมวัน รวมทั้งบางพื้นที่ที่จัดแบ่งเวลาให้ค้าขาย 2 รอบ อย่างเช่นที่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัสเวิลด์โบ๊เบ๊ …

Read More »