Home / Highlight

Highlight

Carbon dioxide emissions from passenger transport

Carbon dioxide emissions from passenger transport A wide range of transport options exists, but choosing the one with lowest emissions is not always straightforward. One way to measure your environmental impact is to look at the CO2 emissions per passenger kilometre travelled. Note: CO2 emissions are calculated using an estimate of the amount of CO2 per passenger-kilometre. Different modes of transport are considered, with an average number of passengers per mode used for estimates. As the number of passengers in a vehicle increases, the total CO2 emissions of that vehicle increases, but the emissions per passenger are fewer. The inland …

Read More »

Experts helped municipalities to be more walking and cycling friendly

Experts, monitoring team and TCC Committee Member & staff at the meeting Thailand Cycling Club’s Project to Build Capacity of 15 Walking and Cycling Friendly Cities organized a meeting of experts and project monitoring team after they visited all the 15 pilot cities in the project during November and December 2016.  The meeting took place at a resort hotel north of Bangkok on February 14-15, 2017.  These cities are run by municipality of different sizes from sub-district (4) to town (6) and city (5) level, located in all regions of Thailand (North 4, Northeast 5, Central 2 and South 4). …

Read More »

The 5th Thailand Bike and Walk Forum

The 5th Thailand Bike and Walk Forum The newly declared 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021) requires development of crossways, walkways and bikeways for connections with public transport systems in the city, management of transport systems to reduce use of private cars (demand management), and development of regions, cities and economic areas with development of public transport systems, which are low cost and environmentally friendly, focusing on bus system, to promote transport that is safe for people of all ages and disabled persons. In response to the national development plan, Ministry of Transport, Thai Health Promotion Foundation, Thailand …

Read More »

แผ่นพับกฎหมายจักรยาน 3 ภาษาไทย อังกฤษ พม่า

กฎหมายจักรยานมีมานานแล้ว 100 กว่าปีเลยทีเดียว แต่หลายคนอาจไม่รู้ เพราะการปั่นจักรยานเป็นอะไรที่เพิ่งมาฮิตกันในช่วงไม่กี่ปีมานี้เอง ในงานวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายจักรยานบอกไว้ว่าเรามีกฎหมายเกี่ยวกับจักรยานโดยตรงตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ในชื่อว่าพระราชบัญญัติล้อเลื่อนพุทธศักราช 2460

Read More »

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน

สถาบันการเดินและการจักรยานไทย ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และสสส. จับมือกับองค์กรภาคีหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีชุมชน จัดให้มีการประชุม การส่งเสริมการเดินและการจักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 (Thailand Bike and Walk Forum V) ชูประเด็นน่าสนใจ “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” (Walk and Bike Friendly Community) การประชุม แสดงนิทรรศการ และแลกเปลี่ยน วันศุกร์ที่ 3 มีนา 60 เวลา 0800-1600 น. สถานที่ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัตราค่าลงทะเบียนท่านละ 500 บาท *** ฟรีสำหรับผู้แทนจากชุมชน นิสิต นักศึกษา ผลงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการจริงในชุมชน-เมือง อาทิ • นโยบายและกฎหมาย • โครงสร้างพื้นฐาน กายภาพเมือง-ชุมชน • ทัศนคติ และพฤติกรรม • สังคมและสุขภาพ • เดิน จักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน  วันเสาร์ที่ 4 มีนา 60 กิจกรรม “One Day Walk Trip ทดน่อง ท่องวัดวา สถานที่ (จุดนัดหมายก่อนออกเดิน) ท่าเรือปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร อัตราค่าลงทะเบียนท่านละ 300 บาท รับหมวกกันแดด น่ารักๆ** ฟรีท่าน 1 ใบ ** ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการใช้ทรัพยากรของโลก การประชุมครั้งนี้จึงพยายามให้เป็นการประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจนี้ เพียงท่านปฏิบัติง่ายๆดังนี้ค่ะ ** (1)  ท่านสามารถแต่งกายแบบลำลอง-สุภาพ ไม่ต้องสวมสูท  (2)  …

Read More »

บก. Human Ride ชี้แนวทางการสนับสนุนการใช้จักรยานที่ประสบความสำเร็จ

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยทำงานส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยเฉพาะการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวัน อย่างเข้มข้นต่อเนื่องมาห้าปี ทั้งการทำงานศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลองค์ความรู้มาเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อน การทำงานเชิงนโยบายให้ประเทศไทยมีระบบและโครงสร้างที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับสังคม และการทำงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ในการสร้างชุมชนและเครือข่ายของผู้ใช้จักรยาน   จากการที่ไทยก็เช่นเดียวกับประเทศและสังคมต่างๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาอยู่อาศัยใน “เมือง” การทำงานให้เมืองต่างๆ เป็นเมืองที่เอื้อต่อการใช้จักรยานจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งชมรมฯ ก็ได้เสนอมาตลอดว่า เมืองๆ หนึ่งจะเป็น “เมืองจักรยาน” หรือเมืองที่เป็นมิตรกับการใช้จักรยานนั้น เราควรจะทำอะไรบ้าง ในช่วงเวลาเดียวกัน นิตยสาร a Day ได้หันมาสนใจเรื่องจักรยานอย่างจริงจัง และจัดทำฉบับพิเศษชื่อ Human Ride ขึ้นมา บอกเล่าถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรยานและการใช้จักรยานในเมืองและประเทศต่างๆ โดยมีทรงกลด บางยี่ขัน เป็นบรรณาธิการบริหาร  เขาและทีมงานได้เดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวที่แวดล้อมจักรยานในเมืองและประเทศเหล่านั้นด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้และประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวาง สามารถเปรียบเทียบสถานการณ์ด้านจักรยานในเมืองและประเทศนั้นกับกรุงเทพมหานครและไทยได้ ในนิตยสาร Human Ride ฉบับล่าสุด Volume 4 Number 10 ใช้ชื่อว่า “British Bicycle” ที่ว่าด้วยจักรยานและการใช้จักรยานในสหราชอาณาจักร หรือที่เราเรียกกันว่าอังกฤษ บก.ทรงกลดได้เขียนไว้ในเนื้อหาที่เป็นบทนำส่วนหนึ่งว่า “….การพูดคุยกับนักปั่นจักรยานมากมายในประเทศนี้ ทำให้ผมรู้ว่าสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกประเทศที่เพิ่งหันมาสนับสนุนจักรยานอย่างจริงจังเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว พร้อมๆกับเมืองอย่างโตเกียว สิงคโปร์ ไทเป และกรุงเทพฯ นักปั่นชาวไทยเคาะคีย์บอร์ดนินทาทางจักรยานในกรุงเทพฯ กันสนุกปากยังไง ทางจักรยานชุดแรกในทุกประเทศที่ว่ามาก็โดนนักปั่นในบ้านเมืองเขาบ่นไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกเมืองที่ว่ามาแตกต่างจากกรุงเทพฯ และหลายเมืองในประเทศไทยอยู่บ้าง ก็คือ หนึ่ง เขาใช้ทางจักรยานที่ไม่ลงตัวเป็นบทเรียนเพื่อปรับให้ทางจักรยานเส้นใหม่ใช้งานได้ดีขึ้น สอง งบประมาณเพื่อการสนับสนุนการใช้จักรยานส่วนใหญ่ใช้ไปกับการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับจักรยาน ไม่ใช่จัดทริปปั่นจักรยาน สาม การวัดความสำเร็จไม่ได้นับจำนวนคนที่มาร่วมทริปปั่นจักรยาน แต่ดูจากจำนวนคนที่ใช้จักรยานเพื่อการสัญจร สี่ การลงทุนพัฒนาทางจักรยานในเมืองไม่ได้ทำเพื่อเอาใจนักปั่น แต่เป็นการทำให้เมืองดีขึ้น เพราะถ้าคนใช้จักรยานแทนรถยนต์มากขึ้น การจราจรจะดีขึ้น คุณภาพอากาศดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่ขึ้น และปลอดภัยขึ้น (รถยนต์ที่น้อยลงและแล่นช้าลง ช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดกับคนเดินเท้าและเด็กๆ) คนที่ได้รับประโยชน์จึงไม่ได้มีแต่คนใช้จักรยาน แต่เป็นทุกคนในเมือง ห้า ทิศทางการพัฒนาเรื่องจักรยานในเมืองถูกวางแผนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิชาการและภาคประชาชน ให้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เมืองน่าอยู่….” นอกจากนั้น Human Ride ฉบับนี้ยังได้นำวิสัยทัศน์เรื่องการพัฒนาระบบจักรยานในลอนดอน (The Mayor’s Vision for Cycling in London) ของนายบอริส …

Read More »

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ทีมงาน (ซ้าย) และร้านของ TCC/TWCI  (ขวา) ที่งาน a Day Bike Fest a day BIKE FEST เป็นงานเทศกาลจักรยานที่จัดขึ้นเป็นประจำที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสันมาตั้งแต่ปี 2555 และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมมาโดยตลอด โดยไม่เพียงแต่ไปออกร้านให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเท่านั้น หากยังเข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการมาทุกปีเช่นกัน  ในปีนี้ชมรมฯ ได้เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ “ทางจักรยานริมน้ำที่คนรักจักรยานอยากเห็น” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15.00-16.00น. การเสวนาครั้งนี้ได้ยกเอาโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครที่รัฐบาลพยายามผลักดันเต็มที่ให้เกิดขึ้นและมีข่าวว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงกลางปี 2560 นี้แล้ว ทั้งที่มีเสียงคัดค้านมากมาย มาเป็นโจทย์ ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นจากประสบการณ์ของคนใช้จักรยานและองค์ความรู้จากถอดบทเรียนกรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ว่า ทางจักรยานที่เป็นส่วนหนึ่งของทางเลียบแม่น้ำนี้จะเป็นทางจักรยานริมน้ำที่คนรักจักรยานอยากเห็นหรือไม่   โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) และประธานมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย (TWCI), นายยศพล บุญสม สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเพื่อนแม่น้ำ, นส.นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล นักปั่นจากกลุ่ม Bangkok bicycle campaign และนายณัฐวุฒิ แสงตรง นักปั่นจักรยาน เจ้าของเพจ “ปั่นทางแปลก” โดยมีนายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร a day เป็นผู้ดำเนินรายการ การเสวนา “ทางจักรยานริมน้ำที่คนรักจักรยานอยากเห็น” อาจารย์ธงชัยให้ความเห็นว่า ทางจักรยานที่คนรัก-ชอบ-ใช้-อยากเห็น-ต้องการ จะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นเป็นใคร จึงต่างไปตามกลุ่มคน ไม่มีคำตอบเดียว เช่น “นักจักรยาน” จะชอบทางที่ขี่ได้ไกลๆ ไม่มีอุปสรรค ทำความเร็วได้มาก ส่วนผู้ใช้จักรยานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของชมรมฯ/สถาบันฯ เป็นชาวบ้านที่ใช้จักรยานในการทำกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อยากได้ทางจักรยานที่เชื่อมโยงบ้าน-ชุมชนของเขากับจุดที่เขาจะไปทำกิจประจำวัน เช่น ตลาด-ร้านค้าที่เขาไปซื้อของกินของใช้ ดังนั้นนักจักรยานต้องเข้าใจว่า สิ่งที่รักที่เป็นความสุขของตนอาจไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้านชาวชุมชนรักมีความสุขและอยากเห็นอยากได้ด้วย จึงได้ให้ความเห็นไปตั้งแต่มีข่าวออกมาครั้งแรกแล้วว่า “ไม่ใช่” (อ.ธงชัยได้ให้สัมภาษณ์และเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ในเรื่องนี้ และชมรมฯได้นำมาลงเว็บและพิมพ์แผ่นพับเผยแพร่ด้วย) แต่คงไปไม่ถึงหูถึงตาของผู้มีอำนาจตัดสินใจข้างบน ผู้ปฏิบัติที่รับนโยบายมาก็ต้องทำไป การที่โครงการนี้ออกมาในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเกิดจากการขาดความเข้าใจถึงบริบทที่ต่างกันของพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้พื้นที่(บนบก)ริมแม่น้ำกับพื้นที่ในแม่น้ำ จะไปเอาอย่างกรุงโซล นครไทเป หรือญี่ปุ่นไม่ได้ เขาทำทางเลียบแม่น้ำได้เพราะใช้พื้นที่สาธารณะบนฝั่งที่ไม่มีคนอยู่อาศัย …

Read More »

ชมรมฯ ร่วมงานเปิดโครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนบึงพระราม ๙

(ซ้าย) โปสเตอร์งานเปิดโครงการ  และ (ขวา) ผู้นำชุมชนและผู้แทนองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมงานหลังพิธีเปิด ผู้แทนชมรมฯ คนที่ ๒ จากขวา ชุมชนบึงพระราม ๙ และบึงพระราม ๙ พัฒนา เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ได้ทำ “โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนบึงพระราม ๙” เพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ และได้จัดงานเปิดตัวโครงการนี้ไปเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๐ เชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปร่วม รวมทั้งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้จะใช้วิธีเดินและขี่จักรยานไปยังจุดต่างๆ ในย่านชุมชน โดยชมรมฯ มีนายกวิน ชุติมา กรรมการ  เป็นผู้แทนไปร่วมงาน ชุมชนทั้งสองนี้ตั้งอยู่ใกล้กับสี่แยกที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรมตัดกับถนนพระราม ๙ บริเวณที่คลองลาดพร้าวเชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ  เดิมเป็นนากระจับและไร่ผักบุ้งที่มีคนอาศัยอยู่มาสี่ชั่วคน  ในปี ๒๕๓๑ มีการทำโครงการแก้มลิงเกิดเป็นบึงพระราม ๙ ขึ้น ต่อมาบึงนี้ถูกใช้เป็นที่บำบัดน้ำเสียของคลองลาดพร้าวตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และมีการตัดถนนให้เดินทางสะดวก ชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้นจึงได้แยกเป็นชุมชนบึงพระราม ๙ และชุมชนบึงพระราม ๙ พัฒนา แต่ก็ยังทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน รวมทั้งในโครงการนี้ด้วย  พวกเขายังภูมิใจด้วยว่าเป็นชุมชนที่มีคนสามศาสนาคืออิสลาม พุทธ และคริสต์ อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีกลมเกลียว (ซ้าย) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก   (ขวา) มูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ชาวบ้านเช่าที่อยู่นี้ จึงใช้สภาพพื้นที่เป็น “จุดขาย” โดยแบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ ส่วนแรกเป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสาม คือ บาแล อันเป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนาของชาวมุสลิม คล้ายสาขาย่อยของมัสยิด, วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่เรียบง่ายแต่สวยงาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำริ ออกแบบ และพระราชทรัพย์มาก่อสร้างด้วยพระองค์เอง และอาคารของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียนที่รับผู้พ้นโทษมาพักพิงและช่วยให้มีชีวิตใหม่ที่ดีกลับคืนสังคม (ซ้าย) สวนผักพอเพียง   (ขวา) คอกเลี้ยงแพะ (ซ้าย) พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ    (ขวา) ปากทางเข้าอุโมงค์ยักษ์บริเวณจุดเชือมต่อคลองลาดพร้าว-คลองแสนแสบ ส่วนที่สองเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวชุมชน เช่น สวนผักพอเพียง การเลี้ยงแพะ การแข่งขันนกกรงหัวจุก(ชื่อทางการคือนกปรอดหัวโขน)  และส่วนที่สามเกี่ยวข้องกับบึงพระราม ๙ มีพิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด และจุดเริ่มต้นของอุโมงค์ยักษ์ที่ …

Read More »