25 กันยายนปีนี้ (ปี 2559) เป็นวันครบปีพอดีของการที่องค์การสหประชาชาติได้ร่วมกันกำหนดให้มีเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เป้าหมายที่ว่านี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sustainable Development Goals และเรียกย่อๆ ว่า SDGs
Read More »ทิ้งรถหันมาใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นกันดีกว่า คุณจะได้ทั้งเงินและชีวิต
เราทุกคนที่มีรถยนต์รู้ดีจากประสบการณ์ของตนเองว่า การใช้รถยนต์นั้นมีค่าใช้จ่ายมากมาย นอกจากเงินที่ต้องจ่ายซื้อรถคนนั้นมาในเบื้องแรกแล้ว ต่อๆไปคุณต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิง ค่าดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซม ค่าทะเบียนและค่าประกัน แล้วรถก็ยังเสื่อมราคาและหมดอายุการใช้งานไปในที่สุด ต้องซื้อหาคันใหม่ เหล่านี้มีแต่เงินต้องไหลออกจากกระเป๋าของคุณไป เพื่อซื้อสิ่งที่คุณคิดว่าสำคัญในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะในการเดินทางที่จำเป็น ความสะดวกสบาย หรือแม้แต่สถานะทางสังคมที่ติดมากับการมีรถยนต์ แต่ถ้าตัดข้อแรก คือการเป็นยานพาหนะที่จำเป็นในการเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่น ที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลจากสถานที่ทำงานเกินกว่าจะเดินหรือขี่จักรยานสบายๆ และไม่มีขนส่งสาธารณะให้บริการ ออกไปแล้ว คุณจะพบว่า การเดิน ใช้จักรยาน และใช้ขนส่งสาธารณะ แม้จะมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่ก็ไม่มาก แม้จะรวมค่าแท็กซี่-ค่าเช่ารถและเชื้อเพลิงในโอกาสที่จำเป็นต้องใช้รถจริงๆ โดยรวมแล้วคุณก็ยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากมาย มากน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ของแต่ละคน นี่ยังไม่รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้ทางด้านสุขภาพจากการขี่จักรยาน คุณลดค่าใช้จ่ายไปได้อีกมากจากการมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย แล้วยังมีการที่ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดจากการชนเมื่อคุณใช้รถยนต์อีก มีคนเปรียบเทียบจักรยานเหมือนกับ “เครื่องพิมพ์ธนบัตร” เพราะเมื่อเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัวหันมาใช้จักรยาน จะมีเงินเหลือมาใช้อีกมาก หรือเหมือนกับ “น้ำพุแห่งความเยาว์วัย” ที่ทำให้คนอ่อนกว่าวัย สดชื่นกระชุ่มกระชวยอยู่เสมอ เปรียบเทียบกันถึงขนาดนี้อาจจะ “เว่อร์” เกินไป แต่ที่สหรัฐอเมริกา เขามีสถิติตัวเลขของประเทศที่เอามาคิดคำนวณได้ว่า ผลสุทธิของการขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือการมีอายุสั้นลง 20 นาที หรืออายุสั้นลง 18 วินาทีทุก 1 ไมล์(1.6 กิโลเมตร)ที่ขับรถ ส่วนผลสุทธิของการขี่จักรยานด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือการมีอายุยาวขึ้น 2 ชั่วโมง 36 นาที หรืออายุยืนขึ้น 13 นาทีทุก 1 ไมล์ที่ขี่จักรยาน ดังนั้นก็อาจจะไม่ “เว่อร์” ไม่เกินเลยไปที่จะกล่าวว่า ทิ้งรถหันมาใช้จักรยาน(และขนส่งสาธารณะ)ให้มากขึ้นกันดีกว่า คุณจะได้ทั้งเงินและชีวิต ส่วนในไทยของเรานั้น ยังไม่มีตัวเลขจากการศึกษาผลของการใช้รถยนต์กับผลของการใช้จักรยานมาเปรียบเทียบกัน แต่ก็เป็นไปได้สูงว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทีนี้หากจะ “ทิ้งรถ” หันมาใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะเป็นวิธีในการเดินทางจริงๆ ก็ควรพยายามหาทางทำให้ง่ายให้สะดวกขึ้นด้วย เช่นว่า หาซื้อจักรยานมาใช้เองสักคัน, เรียนรู้ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองของคุณให้ทะลุปรุโปร่ง ขึ้นตรงไหน ลงตรงไหน เปลี่ยนรถ-ต่อรถตรงไหนให้ไปได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด หากเป็นไปได้ การย้ายไปอยู่ใกล้จุดที่เข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะ(ป้ายรถประจำทาง สถานีรถไฟฟ้า)ก็เป็นสิ่งที่น่าพิจารณา และหาข้อมูลด้วยว่าหากต้องใช้แท็กซี่หรือรถเช่า จะใช้บริการของบริษัทไหน คนขับใด ดีที่สุด ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเคยมีแผ่นพับที่สมาชิกคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนมาใช้จักรยานในการเดินทางไปทำงานช่วยประหยัดเงินให้เขาได้มากเพียงใด ถ้าจำไม่ผิดก็เดือนละกว่าพันบาท ใช้จักรยานไม่กี่เดือนก็ประหยัดเงินได้มากกว่าราคาจักรยานแล้ว …
Read More »แมดริดเจ๋ง ทำทางข้ามให้มีสีสันเพิ่มความปลอดภัย
เวลาคุณข้ามถนน เคยสนใจจริงๆ บ้างไหมครับว่า ทางข้าม(ไม่ว่าจะเป็นทางม้าลายหรือเป็นแบบอื่น)นั้นเป็นอย่างไร คุณสนใจมันก็เพียงว่า ข้ามถนนตรงนั้นแล้ว “คุณอาจจะปลอดภัย ไม่ถูกรถชนตาย” ซึ่งคุณก็รู้ว่าในประเทศไทยเรานี้ไม่จริงเสมอไป แต่ถ้าทางข้ามจะเป็นอะไรมากกว่าการทาเส้นหรือแถบสีขาวลงบนพื้นถนนล่ะ ถ้ามันต่างไปล่ะ มีลวดลายและสีสันสดใสเจิดจ้า จะเป็นอย่างไร? ศิลปินคริสโต เกอลอฟ (Christo Guelov) ได้เปลี่ยนทางข้ามถนนในกรุงแมดริด เมืองหลวงของประเทศสเปน ให้กลายเป็นงานศิลปะ เขาวาดรูปทรงและแบบแผนทางเรขาคณิตต่างๆ ด้วยสีสันที่สดใสลงในช่องว่างระหว่างเส้นและแถบสีขาวของทางม้าลาย ผลก็คือทางข้ามนั้นสะดุดตาขึ้นมาทันที ทั้งต่อคนข้ามและคนขับรถ ทั้งยังทำให้ทางม้าลายที่ดูน่าเบื่อนั้นสวยงามด้วย คุณเกอลอฟหวังว่า ทางข้ามสีสันสดใสนี้จะดึงดูดให้คนใช้ทางข้ามมากขึ้นแทนที่จะข้ามถนนตามใจชอบ และคนขับรถก็เห็นทางข้ามชัดขึ้น ระมัดระวังและเคารพ-หยุดให้คนข้ามถนนมากขึ้นด้วย เชิญทัศนาภาพทางข้ามที่เกอลอฟทำให้เป็นงานศิลปะเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนในกรุงแมดริดได้ข้างล่างนี้เลยครับ กทม. หรือเทศบาล หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่ไหนในไทย จะเอาแนวคิดนี้ไปทำบ้างก็น่าสนใจนะครับ กวิน ชุติมา กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย เก็บมาเสนอจาก lostateminor.com
Read More »การประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 (The 6th International Congress on Physical Activity and Health 2016 : ISPAH 2016 Congress)
การประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 (The 6th International Congress on Physical Activity and Health 2016 : ISPAH 2016 Congress) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสมาพันธ์นานาชาติด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยมีกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพร่วม และองค์การอนามัยโลก เป็นผู้สนับสนุนสำคัญ ซึ่งเป็นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ทำให้เข้าร่วมการประชุมทราบถึงสถานการณ์ ปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพของประชากรโลก โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) กำลังเป็นภัยเงียบที่ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ ภาวะเนือยนิ่งขาดกิจกรรมทางกาย ในงานประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจาก ชมรมฯ เข้าร่วมด้วย 2 คน คือนายกวิน ชุติมา ร่วมนำเสนอผลงานในส่วนของ Poster Presentation ในหัวข้อ Promoting Walking and Cycling in daily life as Physical Activity in all Policies และนางสาวสรัสวดี โรจนกุศล ร่วมประชุมในฐานะ 1 ใน 15 นักวิจัยหน้าใหม่ของประเทศไทย (Early Career Network: ECN) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิจัยด้านกิจกรรมทางกายและสุขภาพระหว่างนักวิจัยของไทยและนักวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งนี้ภายในงานได้ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ แนวปฏิบัติส่งเสริมกิจกรรมทางกายฉบับแรกของโลก ย้ำ 6 ข้อเรียกร้อง เพื่อหนุนให้ทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เน้นลงทุน-มีส่วนร่วม-พัฒนาคน-เทคโนโลยี-เฝ้าระวังและประเมินผล-งานวิจัย มุ่งสร้างความเข้มแข็งระดับประเทศและภูมิภาคบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 และประกาศประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไปในอีก 2 ปี ข้างหน้าคือ ประเทศอังกฤษ
Read More »สหประชาชาติเรียกร้องให้จัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน
“ให้รัฐบาลจัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน” ฝันไปหรือเปล่า? ก็อาจจะเป็นความฝันที่ยังไม่ใช่ความจริงในขณะนี้สำหรับประเทศไทยครับ แต่เป็นจริงได้ และควรจะต้องเป็นเช่นนั้นด้วย ข้อเสนอนี้มาจากโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNEP) ในรายงานชื่อ Global Outlook on Walking and Cycling 2016 ที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนกันยายน 2559 นี่เอง รายงานนี้เป็นผลจากการสำรวจความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับ “Active Travel” ในยี่สิบประเทศ คำว่า Active Travel นี้ยังไม่มีคำศัพท์ไทยที่สั้นกระชับและให้ความหมายตรง แปลออกมาอาจจะได้ว่า “การเดินทางที่ผู้เดินทางได้ขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขัน” คำนี้ใช้กันมากในยุโรป ลาตินอเมริกา และประเทศในอาฟริกาตะวันตก ให้ความหมายตรงกับ “การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์” (Non-Motorised Transport – NMT) ซึ่ง UNEP ให้นิยามครอบคลุมไว้ตั้งแต่ การเดิน การขี่จักรยานสองล้อและสามล้อ การใช้รถเข็นชนิดต่างๆ การเดินทางด้วยยานพาหนะที่ใช้สัตว์ลากจูง การใช้สัตว์ในการขนส่ง และวิธีเดินทางและการใช้พาหนะอื่นๆที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ รวมไปจนถึงการใช้สเกตบอร์ดด้วย ยี่สิบประเทศที่เลือกมานี้เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง คือมีรายได้ประชาชาติสุทธิต่อหัวต่อปีไม่เกิน 1,025 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 บาท) และระหว่าง 1,025 ถึง 12,475 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 – 436,000 บาท) ตามลำดับ อยู่ในเอเชีย 6 ประเทศได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล สิงคโปร์ จีน และเกาหลี ไม่มีไทยเราครับ ผลการสำรวจชี้ออกมาเลยครับว่า การไม่ได้ลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยสำหรับการเดินและการใช้จักรยานนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของคนนับล้านๆ มีการคำนวณว่าทั่วโลกมีคนตายบนถนนปีละราว 1.3 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ใช้ถนนที่อยู่ในสภาพอ่อนเปราะที่จะได้รับอันตราย คือคนที่เดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ดังกล่าว รวมถึงผู้ขับขี่จักรยานยนต์ด้วย แต่ถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูงแล้วจะต่างกันมาก คนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางเสียชีวิตบนถนนมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูงถึงเกือบสองเท่า !!! เปรียบเทียบง่ายๆนะครับ ลองคิดดูว่าจะต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ หากประชาคมโลกปล่อยให้ประชาชนทั้งหมดของออสเตรเลีย กานา หรือเนปาล ตายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 15 ปี แต่กลับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เมื่อเราปล่อยให้ประชากรโลกจำนวนมากกว่านั้นเสียอีกตายไปอย่างเงียบๆ จากอุบัติเหตุบนท้องถนน เรายอมรับให้อุบัติเหตุเหล่านั้นเกิดขึ้นทั้งๆ …
Read More »อัมสเตอร์ดัม – ใช้จักรยานมากๆ ก็มีปัญหา
อัมสเตอร์ดัมอาจเป็นเมือง(หลวง)ที่มีการใช้จักรยานมากที่สุดในโลก ประชากรที่นั่น 1.1 ล้านคนมีจักรยาน 1 ล้านคัน และร้อยละ 68 ของการเดินทางในย่านกลางเมืองทำด้วยจักรยาน จึงไม่แปลกที่อัมสเตอร์ดัมจะมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมาเพราะจักรยาน มากกว่าภาพวาดของจิตรกรเอกอย่างแวนโฮห์และเรมบรานด์ และก็เป็นความจริงที่ชาวอัมสเตอร์ดัมหนึ่งรุ่นเต็มๆ เติบโตขึ้นมาคุ้นเคยกับการใช้จักรยานจนพวกเขามีทักษะที่จะขี่ยานพาหนะสองล้อนี้ไปไหนมาไหนได้อย่างคล่องแคล่ว ไหลลื่น ตื่นตัวอย่างยิ่งกับสิ่งที่อยู่รอบตัว แต่ก็ดูเป็นธรรมชาติเสียเหลือเกิน แม้จักรยานจะเป็นภาพลักษณ์ของอัมสเตอร์ดัม เมืองนี้ก็เป็นสวรรค์ของการใช้จักรยานน้อยกว่าเมืองอื่นในเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างอูเทรคท์และโกรนิงเก็น ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเวลาเช้าเย็นและบริเวณที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวผู้ไม่คุ้นเคยกับกฎเกณฑ์การขี่จักรยานที่ไม่มีการเขียนเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรของชาวอัมสเตอร์ดัม เราจะเจอกับสภาพ “จักรยานติด” (เหมือนรถติด) ที่ผู้ใช้จักรยานตามเส้นทางสายหลักต้องหยุดทุกจุดที่มีถนนตัดกัน ทำให้แม้แต่ชาวอัมสเตอร์ดัมเองก็เอือมระอา แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่อัมสเตอร์ดัมไม่ใช่นครใหญ่มากมาย หากมีพื้นที่จำกัด ในขณะที่มีจักรยานมากเกินไป สกู๊ตเตอร์มากเกินไป รถยนต์มากเกินไป และแม้แต่คนเดินเท้าก็มากเกินไป ยิ่งกว่านั้นแม้การเดินทางที่ใจกลางเมืองร้อยละ 68 จะทำด้วยจักรยาน แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับเพียงร้อยละ 11 ในขณะที่รถยนต์ได้ไปถึงร้อยละ 44 ผิดสัดผิดส่วนเป็นอย่างยิ่ง แล้วรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งใหญ่กว่า หนักกว่า และเร็วกว่า ยังเข้ามาใช้ทางที่จัดไว้ให้จักรยานอีกด้วย แม้ปัญหานี้กำลังจะได้รับการแก้ไข ข้อเสนอให้ห้ามสกู๊ตเตอร์ใช้ทางจักรยานทั่วประเทศกำลังอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา จักรยานไฟฟ้าซึ่งขณะนี้ขายดีกว่าจักรยานที่ใช้แรงคนธรรมดาๆ ก็อาจเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมาเพราะมันสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แอนนา ลูเท็น .นายกเทศมนตรีจักรยานคนแรกของโลก (ภาพโดยนิค แมน มีด) จะแก้ปัญหากันอย่างไร กลุ่มผลักดันนโยบายจักรยานชื่อ CycleSpace เอาตัวอย่างความสำเร็จก่อนหน้านี้จากการแต่งตั้งมิริค มิลาน มาเป็น “นายกเทศมนตรีกลางคืน” ของอัมสเตอร์ดัมมาใช้ นายมิริคเป็นตัวกลางให้เกิดการพูดคุยสื่อสารกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียใน “กิจกรรมกลางคืน” ของเมืองที่กำลังขยายตัว ตั้งแต่ผู้ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นที่บางครั้งก็ไม่อยากยอมรับว่ามีกิจกรรมเช่นนี้ในพื้นที่รับผิดชอบของตน จนสามารถตกลงกันได้ จากประสบการณ์นี้ CycleSpace จึงเสนอให้มีการสร้างตำแหน่งขึ้นมาใหม่เรียกว่า “นายกเทศมนตรีการจักรยาน” (cycling mayor) โดยเปิดให้ส่งวิดีโอคลิปเข้ามาสมัคร เปิดให้สาธารณชนลงคะแนนเลือกให้เหลือจำนวนน้อยลง จากนั้นเจ้าหน้าที่เมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวด้านจักรยานก็มาเลือกกันเป็นขั้นสุดท้ายได้แอนนา ลูเท็น (Anna Luten) มาเป็นนายกเทศมนตรีการจักรยานคนแรกของอัมสเตอร์ดัมและของโลก ความจริงตำแหน่งคล้ายๆกันนี้ก็ไม่ใช่ของใหม่ หลายเมืองมีตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ตรวจการจักรยาน(bicycle commissioner), หัวหน้าเจ้าหน้าที่จักรยาน(Chief Bicycle Officer – CBO) หรือซาร์จักรยาน(cycle tsar) แต่ตำแหน่งเหล่านี้เป็นตำแหน่งทางการ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการปกครองท้องถิ่น หลายแห่งมาจากการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีการจักรยานของอัมสเตอร์ดัมแม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เป็นอิสระ ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ และเป็นงานอาสาสมัคร …
Read More »ประกาศทุนวิจัยเดิน-จักรยาน ประจำปี 2559-2560
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องเดินและจักรยานในชีวิตประจำวันของสังคมไทย เป็นข้อมูลสร้างแรงกดดันด้านวิชาการ ในการขับเคลื่อนการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศ
Read More »