มาช่วยกันขยายผล “ปั่นเพื่อพ่อ-ปั่นเพื่อแม่”
สมเด็จพระบรมฯ ขี่จักรยานนำขบวน Bike for Dad
กิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5ธันวาคม 2558 ได้ผ่านไปแล้วเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558 โดยมีผู้เข้าร่วมงานขี่จักรยานที่จัดขึ้นใน 67 ประเทศทั่วโลกครั้งนี้เฉพาะที่นับจากการลงทะเบียนรวม 607,909 คน โดยในไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมกับพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงจักรยานนำขบวนด้วยพระองค์เอง ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้ลงทะเบียน 99,999 คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตจาก 24 ประเทศ ส่วนในต่างจังหวัดมีผู้ลงทะเบียน 498,105 คน ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มีเกียรติและบุคคลสำคัญที่ได้ร่วมขี่ในขบวน เอ ที่สมเด็จพระบรมฯ เป็นผู้นำ
อ.ธงชัย ประธานชมรมฯ เข้าร่วมกิจกรรม Bike for Dad
กิจกรรม “ปั่นเพื่อพ่อ” จัดขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงสามเดือนหลังกิจกรรม “ปั่นเพื่อแม่” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ที่มีผู้เข้าร่วมขี่จักรยานหลายแสนคนเช่นเดียวกัน กิจกรรมทั้งสองนี้นอกจากการที่ประชาชนไทยได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการร่วมขี่จักรยานพร้อมเพรียงกันด้วยจำนวนอันมากมายเป็นประวัติกาลแล้ว ยังเป็นการสร้างความตื่นตัวและกระแสการขี่จักรยานอย่างสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยเช่นกัน จากการที่ได้ทำงานร่วมกับข้าราชการและหน่วยงานราชการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน และกลุ่มองค์กรภาคประชาชนทั่วประเทศในการส่งเสริมการใช้จักรยาน ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยพบว่า หลายฝ่าย รวมทั้งสื่อมวลชน เห็นตรงกันว่าควรจะใช้เหตุการณ์ที่การขี่จักรยานถูกใช้เป็นวิธีการในการเฉลิมพระเกียรติทั้งสองพระองค์นี้เป็นโอกาสในการสร้างผลกระทบต่อการใช้จักรยานในไทย แปรให้เป็นการปฏิบัติที่ส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และกว้างขวาง มากไปกว่าการเป็นแค่การจัดกิจกรรมขี่จักรยานรณรงค์วันเดียว และการปรับปรุงถนนเฉพาะตามเส้นทางที่ขบวนจักรยานใช้ให้ราบเรียบสวยงาม ขี่จักรยานได้สะดวกและปลอดภัย
ขอยกบางส่วนของบทนำของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 11 ธันวาคม 2558ที่สะท้อนความรู้สึกเช่นนี้เป็นอย่างดีมาถ่ายทอดดังนี้ (หมายเหตุ: การเน้นข้อความด้วยตัวหนาและเครื่องหมายคำพูดเป็นการทำของผู้เขียนเอง มิใช่หนังสือพิมพ์)
“กิจกรรมการขี่จักรยานเช่นนี้ ซึ่งจัดขี้นเป็นครั้งที่สอง เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกต้อง ความนิยมในการขี่จักรยานเพิ่มขึ้นอย่างแจ้งชัดแม้จะขาดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขี่จักรยานที่ได้มาตรฐานมาทำให้ขี่ได้ปลอดภัยมากขึ้นก็ตาม จำนวนประชากรนักจักรยานพุ่งสูงขึ้นอย่างพรวดพราด มีการตั้งชมรมจักรยานขึ้นมาหลายแห่ง ในขณะที่ร้านและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับจักรยานก็กำลังไปได้สวย กิจกรรมการขี่จักรยานเกิดขึ้นตลอดทั้งปี
“สองสามเดือนหลังจากเข้ามาทำงานเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศนโยบายส่งเสริมการใช้จักรยาน จัดสรรงบประมาณกว่าหนึ่งพันล้านบาทไปส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจักรยานทั่วประเทศ และในความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่ามุ่งมั่นต่อการใช้จักรยาน นายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีปรากฏตัวบ่อยครั้งบนจักรยานต่อหน้ากล้องของสื่อมวลชน การกระทำดังกล่าวสมควรได้รับการปรบมือ
“อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นโยบายนั้นถูกต้อง แต่การดำเนินงานไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งที่ผิดคือการตีความของเจ้าหน้าที่รัฐว่าการใช้จักรยานเป็นไปเพื่อสุขภาพและเป็นการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ใช่วิธีหนึ่งสำหรับการเดินทางในชีวิตประจำวัน เมื่อการตีความเป็นไปเช่นนี้ ช่องทางสำหรับทางจักรยานส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช่ทั้งหมด ถูกสร้างขึ้นมาในพื้นที่ปิด เช่น สวนสาธารณะ ในขณะที่สิ่งที่ประชาชนต้องการคือเครือข่ายของทางที่ปลอดภัยและใช้ได้จริง เพื่อที่ว่าประชาชนจะสามารถขี่จักรยานไปทำงานและไปประกอบกิจต่างๆ ได้มากไปกว่าการขี่จักรยานเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
“แม้แต่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะผู้บริหารเมืองได้ทำทางจักรยานขึ้นมาจำนวนหนึ่งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในนครแห่งนี้ใช้ โครงสร้างพื้นฐานที่ทำขึ้น รวมทั้งในย่านเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ ก็มีคนใช้น้อย ปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งคือโครงสร้างพื้นฐานนี้ทำขึ้นด้วยความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้เป็นทางเลือกแทนการใช้รถประจำทางที่หมดสภาพและรถยนต์ส่วนตัวที่แทบจะขยับเขยื้อนไม่ได้ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ เมื่อไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย ทางจักรยานส่วนใหญ่ก็ถูกล่วงล้ำโดยคนขับรถที่ใช้ทางจักรยานเป็นที่จอด
เมื่อปราศจากการมีส่วนร่วมของสาธารณะชน ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นระหว่างชาวบ้านในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของร้านอาหารและผู้ทำมาค้าขายต่างๆ กับคนขี่จักรยาน อย่างเช่นในย่านบางลำพู ฝ่ายแรกโน้มเอียงที่จะเกลียดทางจักรยานซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเอาพื้นที่จอดรถข้างถนนและโอกาสในการทำมาค้าขายไป ความเข้าใจเช่นนี้เป็นไปในทางตรงข้ามกับความเชื่อที่ว่าการใช้จักรยานเป็นสิ่งที่ดีกับเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ เราต้องการแผนที่สุขุมรอบคอบมาทำให้ผู้ใช้จักรยานกับชุมชนอยู่ร่วมกันได้ แต่ก็อย่างที่เรารู้ การเพิ่มทางจักรยานขึ้นมาเป็นพิเศษในถนนที่มีอยู่เป็นเรื่องยาก แต่หากไม่มี เส้นทางก็จะยังไม่ปลอดภัย โชคร้ายที่คณะผู้บริหารเมืองนี้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามนโยบายที่อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งเคยให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าถนนที่สร้างขึ้นใหม่ทุกสายควรจะมีทางจักรยาน
คณะผู้บริหารเมืองต้องตระหนักว่า “โครงสร้างพื้นฐาน” มีความหมายมากกว่าแถบกว้างหนึ่งเมตรครึ่งที่ทาสีเขียว มันยังหมายถึง “บรรยากาศ” อีกด้วย นั่นคือแนวต้นไม้สองข้างทางและป้ายสัญญาณจราจร เช่นเดียวกับการปรับสภาพถนนให้ขี่จักรยานได้ปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คณะผู้บริหารต้องไม่คิดถึงแต่เพียงผู้ใช้จักรยาน แต่ยังต้องคิดถึงว่าจะใส่ใจชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างไรด้วย ในพื้นที่ทำมาค้าขาย มันหมายถึงการมีที่จอดรถที่กว้างขวางสำหรับผู้ใช้รถยนต์ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ไม่ไปยึดทางจักรยานมาใช้ ในขณะที่ธุรกิจในท้องถิ่นยังมีโอกาสค้าขายให้รุ่งเรืองได้ แผนที่ครอบคลุมรอบด้านเช่นนี้ต้องช่วยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับชุมชนในท้องถิ่น ถ้าสภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การใช้จักรยานก็จะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้อนรับ”
บางกอกโพสต์จบท้ายบทบรรณาธิการนี้ด้วยการเน้นย้ำว่า “จะเป็นความผิดพลาดหากปล่อยให้กิจกรรมในวันนี้ผ่านไปเป็นเพียงกิจกรรมวันเดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นใด ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกมาก แต่กิจกรรมในวันนี้ควรจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้ประเทศเราหันมาคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิถีการเดินทางที่ไม่ปล่อยคาร์บอนนี้”
รายงานโดย กวิน ชุติมา
กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
November 27, 2011 – 2:03 am Now I understand why there are so many photos appearing on facebook of different moivtational quotes and things. Links are so much easier but now I will have to find a way to share photos and videos instead.
IMHO you’ve got the right answer!
Alexander Hamilton would be proud of us today, huh? Our fearless (and witless) leaders should take him off of the $10 bill so we do not have to look him in the eyes each day they continue with running this nation’s currency into the ground.
Grade A stuff. I’m unquestionably in your debt.
Since Malcolm X was born named "Malcolm Little" in Omaha, Nebraska, if he is Obama's father, that makes Obama a "natural born citizen" with two American born citizen parents.
ฉันคิดถึงพ่อของฉันและแม่ของฉัน
เบื่อที่ไม่มีใครคบเป็นเพื่อน